- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ได้รับพระราชทานแล้วดีเต็มที
ตามที่ทรงพระเมตตาโปรดประทานอธิบายชื่อคณะพราหมณ์ เป็นการประทานความรู้ซึ่งแต่ก่อนแยกไม่ออกได้จะแจ้ง เมื่อคิดตามพระดำรัสก็เห็นว่าพวกเหล่านั้นเขาเรียกชื่อพวกเขาเองมาก่อนแล้ว เราก็เรียกตามเขาไป เขาชื่อพราหมณ์พิธีนั้น ดูเป็นสำนวนไทยๆ แต่ชื่อพราหมณ์โหรดาจารย์นั้นดูเป็นรูปสันสกฤต จึงได้ลองสอบทางสันสกฤตก็ปรากฏว่าโหรดาจารย์นั้นมาแต่คำ “โหตฺฤ” ซึ่งแปลว่าบูชาไฟ เมื่อประกอบกับคำ “อาจารฺย” เข้าจึงเป็น “โหรฺตาจารฺย” แปลว่าอาจารย์บูชาไฟ ถูกต้องตามไวยากรณ์ทางสันสกฤตตรงทีเดียว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพราหมณ์พิธีนั่นเอง เพราะพราหมณ์พิธีก็ทำการบูชาไฟเป็นใหญ่เหมือนกัน นี่เป็นพยานในพระอธิบายว่า พราหมณ์พิธีกับพราหมณ์โหรดาจารย์เป็นพวกเดียวกัน ต่างกันแต่มาต่างเมือง เสียดายที่จะกราบทูลให้ทรงทราบว่าพราหมณ์พฤติบาศนั้น ในราชการเดี๋ยวนี้ไม่มีเสียแล้ว ด้วยขาดผู้รู้หน้าที่พราหมณ์พฤฒิบาศมีขึ้นพราหมณ์พิธีก็ทำแทน
ในเรื่องคำอุทานของเราเกล้ากระหม่อมได้เคยคิดมาแล้ว คิดว่าเดิมทีจะไม่เป็นภาษาคน แล้วแต่เสียงอะไรมันจะหลุดออกมาในเวลาที่ดีใจหรือขู่สำทับให้กลัว หรือทำให้พร้อมเพรียง หรือกล่อมให้สงบ มีเสียง อ ห และ ฮ เป็นมากที่สุด แล้วจึงเอาคำซึ่งเป็นถ้อยเป็นความประกอบเข้าทีหลัง เช่น “โอละเห่ โอละหึก ลุกขึ้นแต่ดึกทำขนมแชงม้า” เป็นต้น คำ “ไชโยพ่อแก้ว” ซึ่งตรัสประทานไปเป็นตัวอย่างก็เช่นเดียวกัน เกล้ากระหม่อมได้ฟังคำนั้นมามีความน้อยไปกว่าที่ตรัสอ้างเสียอีกเป็น “ไหโย้พ่อแก้ว ไหย้าหยวบหยวบ เผยไยเผย ไยไยเอย” จะร้องกันผิดหรือถูกก็ไม่ทราบ ถ้าจะคิดให้เป็นความก็เป็นได้มากกว่านั้น ดังว่า “ไชโยพ่อแก้ว” ไชยายวบยวบ เผยไชยเผย ไยไพเอย” ดังนี้
พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้า ที่ตรัสบอกมูลเหตุที่มาแห่งคำ “ชโย” ซึ่งใช้ร้องแทน “โห่ฮิ้ว” ให้ทราบ แต่ก่อนสำเหนียกได้แต่ว่าคำร้อง “ชโย” เกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๖ เท่านั้น หาทราบมูลเหตุไม่ว่าเกิดขึ้นด้วยอะไร
ในเรื่องคำอุทานนั้น เคยได้ฟังกรมหมื่นวรวัฒน์ท่านตรัสทักว่าลางคำก็มีความ เช่น “ออ” และ “อ้อ” หมายความว่ารู้ว่าเข้าใจ “เออ” ว่าถูก “อ้าว” ว่าผิด “เอ๊ะ” เป็นสงสัย “อ๊ะ” เป็นไม่จริง ฟังก็ชอบกลหนักหนาอยู่แล้ว แต่คิดดูก็เป็นอันว่าเราอุทานตามอย่างกัน จนกลายเป็นธรรมเนียมไปเท่านั้น
ตามพระดำรัสที่ว่าทรงหนังสือเรื่องพระอภัย ทำให้นึกถึงหนังสือนั้นว่าได้อ่านครั้งหนึ่งเมื่อรุ่นหนุ่ม แต่อ่านครั้งนั้นเหลวไม่ได้อะไร เพราะตัวยังอ่อนนัก มาได้ความรู้จริงจังขึ้นครั้งหลังเร็วๆ นี้เอง เมื่ออยู่ในราชบัณฑิตยสภา ฝ่าพระบาทตรัสขอแรงให้ตรวจปรู๊ฟหนังสือเรื่องพระอภัย ซึ่งหอพระสมุดตีพิมพ์ได้อ่านตรวจอย่างถี่ถ้วนทั้งสอบต้นฉบับเก่า ๆ ด้วย เห็นว่าเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีมาก ทั้งให้นึกอัศจรรย์ใจที่ผู้แต่งรู้อะไรมากนอกไปจากที่เป็นอยู่ในประเทศนี้อีกด้วย สิ่งที่ยากลำบากแก่การตรวจปรู๊ฟนั้น มีอยู่ที่ลางแห่งต้นฉบับเขียนผิดพลาด เพราะไม่เข้าใจความหมายของท่านผู้แต่ง แต่ทุกแห่งก็พิจารณาเห็นความตั้งใจเดิมของท่านผู้แต่งได้ เว้นแต่แห่งเดียวซึ่งไม่เข้าใจความหมายของท่าน ตรงนั้นเป็นชมดง กล่าวถึงละมั่ง จะค้นคัดข้อความตรงนั้นมาถวายก็ไม่มีความเพียรพอ แต่จำได้ว่ามีความเหมือนกันกับกลอนคำเทียบแม่กงในหนังสือมูลบท ซึ่งว่า “ฝูงละมั่งฝังดินกินเพลิง” ที่นั่นก็ไม่เข้าใจ อะไรฝังดิน ทั้งกินไฟกินได้หรือ แต่เพราะมีกลอนคำเทียบแม่กงปรากฏอยู่เป็นความเหมือนกัน จึงปล่อยไป
คราวนี้จะทูลถึงข้อคำที่พระยาอนุมานถาม โดยเหตุที่ตรัสถึงเรื่องรามเกียรติ์นำไป แกว่าในหนังสือรามเกียรติ์รัชกาลที่ ๑ มีคำว่า “ยกทองล่องจวนเจตคลี” ล่องจวนว่าอะไร เจตคลีว่าอะไร เกล้ากระหม่อมก็จำนน เคยได้ยินคำว่า “สมปักล่องจวน” แต่ไม่เคยเห็นผ้าอย่างนั้นสักที เดิมนึกว่าคำ “ล่องจวน” จะเป็นชื่อผ้าสมปักชนิดหนึ่ง แต่เมื่อปรากฏมีคำว่า “ยกทองล่องจวน” มาแย้งขึ้น ก็ให้ความสำคัญใจไว้ แต่เดิมนั้นล้มเป็นอันว่าผ้าชนิดไรเอามาล่องจวนก็ได้ คำล่องจวนกลายเป็นจะว่าเพลาะหรืออะไรเทือกนั้นก็เป็นได้ ส่วนคำ “เจตคลี” นั้นมีชื่อตำบลบ้านอยู่แห่งหนึ่งซึ่งเป็นแนวเดียวกัน เรียกว่าบ้าน “ตะคลี” หรือ “ตักคลี” หรือ “ตาคลี” อะไรก็เอาแน่ไม่ได้ อันเป็นที่ตั้งสถานีรถไฟอยู่เหนือลพบุรี จะมีความหมายว่าอะไรก็ไม่ทราบ เหตุที่พระยาอนุมานถามมานั้น เข้าใจว่าต้องการรู้ความ เพื่อจะเอาไปแปลพจนานุกรมที่กำลังทำใหม่ ซึ่งแกเป็นกรรมการมีหน้าที่ต้องทำอยู่คนหนึ่ง แกเคยถามศัพท์อะไรมาอยู่เนือง ๆ
ในการที่ทรงแต่งประวัติเจ้าพระยายมราชนั้นควรแล้ว เพราะเจ้าพระยายมราชเป็นผู้ที่ได้รับพระกรุณา แล้วท่านก็มิได้ลืมพระคุณ และตามที่ทรงรับแต่งแต่จำเพาะตอนรัชกาลที่ ๕ นั้นก็ควรแล้ว เพราะในตอนนั้นใครจะรู้ดีไปกว่าฝ่าพระบาทย่อมไม่มีแล้ว พูดถึงการแต่งประวัติก็เกิดดูหมิ่นขึ้นในใจ ตามที่แต่งกันก็เห็นมีทางไปอยู่แต่เพียงว่า เข้ารับราชการเมื่อไรได้เลื่อนที่เป็นอะไรบ้าง ได้เงินเดือนเบี้ยหวัดเมื่อไรเท่าไร ได้ตราอะไรบ้าง เท่านั้นเอง ซึ่งอ่านไม่สนุกอย่างเอก ฝ่าพระบาทมิได้ทรงแต่งอย่างนั้น นึกได้จากประวัติตาทองอยู่ (พิเภก) ซึ่งทรงแต่ง แกมืดเต็มที ทุนเช่นกล่าวมาแล้วก็ไม่มี ยังทรงสามารถแต่งไปไหนต่อไหน เอาอ่านสนุกสนานไปได้ ที่สุดก็หักหลังเอามาเปรียบให้เป็นความดีของตาทองอยู่ ดีเหลือเกินต้องขอถวายบังคมฝ่าพระบาท
ทีนี้จะขอประทานลุแก่โทษ ด้วยตามที่กราบทูลว่า ศัพท์ เขล ในพจนานุกรมของอาจารย์จิลเดอรส์ไม่มีนั้น ภายหลังได้ถามชายงั่วว่าศัพท์ เขล ได้พบบ้างหรือเปล่า เธอบอกว่าไม่ได้พบ พบแต่ศัพท์ ขิล ขีล เช่น “อินทขีล” คำทั้งสองนั้นจะเปลี่ยนเป็น เขล ก็ได้ ได้สติขึ้นมาจึงพลิกดูพจนานุกรมของอาจารย์จิลเดอส์อีก ขิล ให้คำแปลเป็นไปในทางว่าดื้อด้าน ขีล เป็นไปในทางว่าเสี้ยมแหลม คือ เข็ม ไม่เข้ารูปอันควรแปลชื่อเมืองผากองว่าเขลางค์เสียเลย
ขอประทานทูลถามถึงพระธาตุเชิงชุม เมืองสกลนคร มีรูปพรรณสัณฐานใหญ่เล็กเป็นประการใด เป็นไทยหรือเป็นเขมร นึกไม่ได้ว่าเคยเห็นรูปพิมพ์รูปฉายหรือใครบอกเล่าให้ฟังเลย แม้ตรัสเล่าให้ทราบเกล้าบ้าง ก็จะเป็นพระเดชพระคุณมาก ตำนานพระเจดีย์ทางเมืองเหนือนั้นเต็มที อ่านแล้วก็อ่อนใจ เช่นกล่าวถึงการกระทำภายใต้ ว่าบรรจุพระบรมธาตุในผะอบนับด้วย ๗ ชั้น ประดิษฐานในสำเภาทองลอยในสระอันกว้างใหญ่ แล้วก็ปิด ก่อพระเจดีย์ไว้เบื้องบนสูงสามวาเท่านั้น คำกล่าวถึงการกระทำเบื้องล่างกับเบื้องบนไม่สมควรกันเลย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด