- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
ฉันได้รับคำถาม ว่าเพราะเหตุใดลำแม่น้ำที่ผ่านเมืองสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี จึงเรียกชื่อว่า “แม่น้ำแม่กลอง”
ตอบคำถามนี้อยู่ข้างยากเพราะยังไม่เคยพบหลักฐานเป็นแน่นอน เมื่อฉันเป็นตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเคยถามกรมการเก่าที่เมืองสมุทรสงคราม เขาบอกว่าแต่เดิมมีกลองขนาดใหญ่โตผิดกลองสามัญอยู่ที่วัดแห่ง ๑ ในแถวนั้น (ดูเหมือนเขาบอกชื่อวัดให้ด้วย แต่ฉันลืมไปเสียแล้ว) พวกชาวเมืองจึงเอากลองใหญ่นั้นเป็นนิมิตมา เรียกลำแม่น้ำนั้นว่า “แม่กลอง” แล้วเลยเรียกเมืองสมุทรสงครามว่า เมืองแม่กลองด้วย นี่เป็นอธิบายอย่าง ๑ ซึ่งเคยได้ยินมา อธิบายมีอีกอย่าง ๑ ว่ามีเมืองขึ้นของเมืองอุทัยธานีชื่อว่า “เมืองแม่กะลอง” ตั้งอยู่ยอดแม่น้ำเมืองสมุทรสงคราม อาจจะเอาชื่อเมืองแม่กะลองอันอยู่ต้นน้ำเรียกลำน้ำต่อลงมาจนปากน้ำ แต่เรียกเพี้ยนไปเป็น “แม่กลอง” ฉันเคยได้ยินอธิบายแต่ ๒ อย่าง เช่นว่ามา แต่จะรับรองว่าอย่างไหนจะเป็นความจริงนั้นรับไม่ได้ ถ้าจะตอบโดยย่อก็ตอบไปแต่ว่า “ไม่รู้ว่าเพราะเหตุใดจึงเรียกชื่อลำแม่น้ำนั้นว่าแม่กลอง” แต่จะยืนยันว่าอธิบายที่อ้างมาเห็นความเท็จทั้ง ๒ อย่างก็ว่าไม่ได้ ด้วยมีเค้าเงื่อนชอบกลอยู่ทั้ง ๒ อย่าง จึงจะเขียนตอบแต่เป็นวินิจฉัยให้ผู้เป็นนักเรียนโบราณคดีพิจารณาดู
ข้อที่อ้างว่าชื่อลำน้ำแม่กลองมาแต่กลองใบใหญ่นั้น เมื่อพิจารณาดูชื่อปากน้ำในอ่าวสยามชั้นในอันมี ๕ ปากน้ำด้วยกัน (ไม่นับปากน้ำบางเหี้ยและปากน้ำบางกะบูน ซึ่งเป็นแต่ปากบางคือคลองตัน) แต่ละปากก็มีเรื่องเป็นเค้าเงื่อนอยู่ดังนี้
๑) ปากน้ำบางปะกง ในหนังสือนิราศเมืองแกลงขุนสุนทรภู่ ซึ่งแต่งเมื่อปลายรัชกาลที่ ๑ หรือต้นรัชกาลที่ ๒ กรุงรัตนโกสินทร์ เรียกว่า “ปากน้ำบางมังกง” คำมังกงเป็นชื่อปลาอย่าง ๑ ปากน้ำบางมังกงหมายความว่า ปากน้ำอันอยู่ใกล้กับคลองตันอันมีปลามังกงชุม
๒) ปากน้ำเจ้าพระยา ในหนังสือพระราชทานพงศาวดาร ตอนรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชกล่าวว่า พระยาละแวกเจ้ากรุงกัมพูชายกกองทัพเรือ “เข้ามาทางปากน้ำพระประแดง” เมื่อปีมะแม พ.ศ. ๒๑๐๒ และมีจดหมายเหตุของราชทูตไทยที่พาคณะพระสงฆ์ไปเมืองลังกาในรัชกาลพระเจ้าบรมโกศ เมื่อปีวอก พ.ศ. ๒๒๙๕ กล่าวว่าพวกราษฎรพากันลงเรือช่วยแห่พระสงฆ์ลงไปส่งถึง “ปากน้ำบางเจ้าพระยา” เหตุที่เรียกชื่อปากน้ำอันเดียวผิดกันเป็น ๒ ชื่อในระยะเวลา ๑๙๓ ปี อย่างนี้พอจะเข้าใจได้ง่าย ด้วยเมื่อรัชกาลสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมืองพระประแดงเดิมเป็นเมืองรักษาปากน้ำอยู่ใกล้ทะเล แต่ต่อมาตลิ่งงอกรุกทะเลออกไปจนเมืองพระประแดงอยู่ห่างปากน้ำมากนัก จึงให้สร้างเมืองสมุทรปราการขึ้นใหม่ให้ใกล้ทะเล สำหรับรักษาปากน้ำแทนเมืองพระประแดง เมืองสมุทรปราการตั้งที่ใกล้คลองตันอันชื่อว่า “บางเจ้าพระยา” จึงเรียกว่า “ปากน้ำบางเจ้าพระยา” เช่นเดียวกับเรียกปากน้ำบางมังกง (แต่เหตุใดจึงเรียกคลองตันนั้นว่าบางเจ้าพระยานั้นไม่ปรากฏ)
๓) ปากน้ำท่าจีน ก็มีเรื่องในหนังสือพระราชพงศาวดารตอนรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมื่อราว พ.ศ. ๑๐๘๘ ดำรัสสั่ง “ให้ตั้งบ้านท่าจีนเป็นเมืองสาครบุรี” (ซึ่งมาเปลี่ยนชื่อในภายหลังว่าเมืองสมุทรสาคร) ความส่อให้เห็นชัดว่าคงมีหมู่บ้านพวกจีนหาปลาทะเลตั้งอยู่ที่ใกล้ปากน้ำเช่นเดียวกันกับทุกวันนี้ จึงเรียกตำบลนั้นว่าบ้านท่าจีน เมื่อตั้งเมืองแล้วก็เลยเรียกว่า “ปากน้ำท่าจีน” และเลยเรียกเมืองสาครบุรีว่าเมืองท่าจีนด้วย
๔) ปากน้ำแม่กลอง ถ้าคิดตามเค้าเรื่องชื่อปากน้ำทั้ง ๓ ซึ่งกล่าวมาแล้ว เดิมก็อาจจะมีตำบลบ้านชื่อว่า “บ้านแม่กลอง” (เพราะมีกลองใบใหญ่อย่างพวกกรมการอ้างหรืออย่างไรก็ตาม) อยู่ที่ใกล้ปากน้ำจึงเรียกว่า “ปากน้ำแม่กลอง” ครั้นตั้งบ้านแม่กลองขึ้นเป็นเมืองสมุทรสงครามคนก็เรียกว่า “เมืองแม่กลอง” เช่นเดียวกับเรียกเมืองสาครบุรีว่าเมืองท่าจีน
๕) ปากน้ำบ้านแหลม เป็นปากน้ำแต่เฉพาะเมืองเพชรบุรีเมืองเดียว ขึ้นไปจากปากน้ำไม่ไกลเท่าใดก็ถึงเมือง แต่คนเรียกกันว่า ปากน้ำบ้านแหลม เพราะที่ตรงปากน้ำแผ่นดินทางข้างฝั่งตะวันออกงอกยื่นเป็นแหลมยาวออกไปในทะเล มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่เรียกว่า “บ้านแหลม” จึงเรียกชื่อปากน้ำตามชื่อตำบลบ้านนั้น
พิเคราะห์ชื่อปากน้ำทั้ง ๕ ที่กล่าวมา ดูเป็นเอาชื่อตำบลอันอยู่ใกล้ปากน้ำมาเรียกชื่อลำแม่น้ำทั้งนั้น คิดพิเคราะห์ต่อไปเห็นว่าจะมิใช่คนอยู่ในท้องถิ่นนั้นเองตั้งชื่อที่เรียกปากน้ำต่างๆ คงเรียกกันแต่ว่า “ปากน้ำ” เพราะมีปากน้ำแห่งเดียวในถิ่นนั้น ชื่อคงเกิดแต่คำคนอยู่ถิ่นอื่นเรียก เปรียบดังเช่นชาวเมืองจันทบุรีหรือเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นมาค้าขายทางเมืองข้างเหนือจะต้องบอกกันให้รู้ว่าจะแล่นเรือเข้าทางปากน้ำไหน หรือมิฉะนั้นก็เป็นชาวราชธานี เช่นผู้แต่งหนังสือพงศาวดาร จึงเอาชื่อตำบลที่อยู่ปากน้ำ เช่นบางมังกง บางเจ้าพระยา ท่าจีน แม่กลอง และบ้านเหลม เติมเข้าให้รู้ว่าปากน้ำไหน การที่เอาชื่อปากน้ำมาเรียกเป็นชื่อลำแม่น้ำตลอดสาย ดังเช่นเรียกลำน้ำที่ตั้งกรุงเทพฯ ว่า “แม่น้ำเจ้าพระยา” ก็ดี เรียกแม่น้ำที่ตั้งเมืองสมุทรสงคราม เมืองราชบุรี และเมืองกาญจนบุรี ว่า “แม่น้ำแม่กลอง” ก็ดี ดูเป็นการบัญญัติใหม่เมื่อทำแผนที่ หาได้เรียกกันมาแต่เดิมอย่างนั้นไม่ แม้จนปัจจุบันนี้คนอยู่ริมแม่น้ำไหนที่ตนอยู่ก็เรียกแต่ว่า “แม่น้ำ” หาใช้ชื่อประกอบอย่างว่ามานั้นไม่
แต่จะว่าประเพณีไทยไม่มีจะเรียกลำแม่น้ำเป็นชื่อเดียวกันแต่ต้นจนปากน้ำก็ว่าไม่ได้ เพราะมี “แม่น้ำโขง” “แม่น้ำคง” (พม่าเรียกว่าแม่น้ำสาละวิน) “แม่น้ำพิง” “แม่น้ำสัก” และ “แม่น้ำน่าน” ๕ สายนี้เรียกชื่อเดียวแต่ยอดลำน้ำลงมา ลำแม่น้ำแม่กลองอาจจะมาแต่ชื่อลำน้ำแม่กลองด้วยประการฉะนี้
เพราะเหตุใดจึงเรียกชื่อลำแม่น้ำบางสายตามชื่อตำบลที่ปากน้ำ และเหตุใดจึงเรียกชื่อแม่น้ำบางสายชื่อเดียวตลอดลงมาแต่ยอดน้ำ ข้อนี้มีเค้าเงื่อนที่จะคิดวินิจฉัย ด้วยสังเกตดูแม่น้ำที่เรียกชื่อเดียวแต่ยอดน้ำลงมา ล้วนเป็นลำน้ำที่ไหลลงมาในระหว่างเทือกภูเขา เช่นแม่น้ำสักไหลลงมาแต่แดนเมืองหล่มสัก ในระหว่างเทือกภูเขานครราชสีมาฝ่าย ๑ เทือกภูเขาพระพุทธบาทฝ่าย ๑ แม่น้ำพิงก็ไหลผ่านเทือกภูเขาเชียงใหม่ลงมา แม่น้ำน่านและแม่น้ำแม่กะลอง แม่น้ำโขง แม่น้ำคง (สะละวิน) ก็เช่นนั้น แต่ประหลาดที่บรรดาลำน้ำอันอยู่ในแอ่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่เรียกชื่อเดิมของแม่น้ำนั้นๆ จนถึงทะเลสักสายเดียว เป็นต้นว่า แม่น้ำสักก็เรียกชื่อลงมาเพียงพระนครศรีอยุธยา แม่น้ำน่าน แม่น้ำพิง ก็เรียกชื่อลงมาเพียงปากน้ำโพ แม่น้ำแม่กลอง (ถ้าหากมาแต่ชื่อแม่กะลอง) จะเรียกชื่อเดิมลงมาถึงไหนไม่ทราบ แม่น้ำท่าจีนนั้นเดิมชื่อจะเรียกว่ากระไรไม่ทราบ พึงสังเกตอีกอย่าง ๑ ว่าแผ่นดินแอ่งลำแม่น้ำเจ้าพระยานี้ทางฝ่ายตะวันตกพ้นเทือกภูเขาพระพุทธบาทมาไม่มีเทือกภูเขากั้น เป็นพื้นราบไปจนเทือกภูเขาปันแดนพม่า ในที่ราบนั้นมีแนวลำน้ำเก่าและบึงต่างๆ ส่อให้เห็นว่าเมื่อสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จะเป็นทะเลขึ้นไปจนถึงมณฑลพิษณุโลก น่าจะเป็นเหตุด้วยภูเขาหลวงที่เมืองสุโขทัยเมื่อยังเป็นภูเขาไฟอยู่สักสี่ห้าพันปีมาแล้วระเบิดขนานใหญ่เมื่อก่อนไฟจะดับ แผ่นดินไหวทำให้พื้นดินในมณฑลพิษณุโลก มณฑลนครสวรรค์ ตลอดจนมณฑลนครชัยศรีและมณฑลราชบุรีข้างตอนเหนือสูงขึ้น รุกชายทะเลให้ถอยลงมาข้างใต้ และบางแห่งแผ่นดินเกิดเป็นคันกันน้ำ จนท้องทะเลเดิมกลายเป็นบึงใหญ่ต่างๆ เช่นบึงบรเพ็ดเป็นต้น มีระกะไปทั้งในมณฑลพิษณุโลกและมณฑลนครสวรรค์ เมื่อพื้นดินสูงขึ้นน้ำฝนที่ตกและที่ไหลลงมาจากภูเขาก็กัดดินเป็นร่องไหลลงสู่ทะเลซึ่งอยู่ห่างออกไปจึงเกิดลำแม่น้ำเล็กๆ ขึ้นก่อน แล้วสายน้ำกัดตลิ่งให้ลำน้ำบางสายกว้างขึ้น และปิดลำน้ำบางสายให้ตื้นเขินเพราะน้ำไปเดินเสียทางอื่น เพราะฉะนั้นว่าตามที่ได้สังเกตมาในแขวงมณฑลพิษณุโลก มณฑลนครสวรรค์ แม้ที่สุดจนในมณฑลอยุธยา จึงมีลำน้ำร้างที่ไม่เป็นทางสัญจรปรากฏอยู่มากมายหลายแห่งจนบัดนี้ มีชื่อแต่คนเรียกกันในท้องถิ่น แผ่นดินก็ยังงอกรุกชายทะเลและสายน้ำเดินเปลี่ยนแปลงเรื่อยมาจนถึงในสมัยประวัติศาสตร์ จะยกตัวอย่างดังเช่นลำ “แม่น้ำจักรสีห์” ซึ่งตั้งเมืองสิงห์บุรีเดิม ก็เป็นแม่น้ำใหญ่แต่ตื้น ขาดเป็นห้วงเป็นตอนเสียแล้ว พวกลำแม่น้ำที่เปลี่ยนแปลงจึงมีชื่ออยู่เพียงชั่วคราว พอตื้นเขินแล้วก็เรียกชื่อแต่ตอนที่ยังมีน้ำ เรียกตามชื่อตำบลบ้านที่ตั้งอยู่ตรงห้วงน้ำนั้น ลำแม่น้ำที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยแผ่นดินรุกทะเลออกไปก็ไม่คงที่เหมือนกัน จึงเอาชื่อตำบลบ้านที่ปากน้ำเรียกเป็นชื่อลำน้ำ เช่น ปากน้ำแม่กลอง ถ้าหากเดิมชื่อว่าแม่กะลอง ปากน้ำก็จะอยู่ราวเมืองราชบุรี ที่ว่ามานี้โดยเดาทั้งนั้น