- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๖ สิงหาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ได้รับลายพระหัตถ์เวร ซึ่งลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม นั้นแล้ว จะกราบทูลสนองความลางข้อต่อไปนี้
มีความในลายพระหัตถ์ข้อหนึ่ง ว่าทรงพระเมตตาโปรดประทานทับทรวงอันแกะด้วยกะลา ฝีมือชาวบาหลี ได้ทรงฝากหญิงสุวภาพเข้าไปให้ เมื่อได้ทราบความตามลายพระหัตถ์นั้นก็นึกชาๆ ด้วยว่าเคยเห็นกะลาแกะฝีมือชาวบาหลี ที่เขาขายอยู่ในชวามามากต่อมาก ฝีมือก็ด้อย แต่ไม่ได้ทำความตื่นเต้นให้เท่าไร นึกว่าที่ประทานเข้าไป ก็คงเป็นท่วงทีอย่างเดียวกับที่เคยเห็นมานั้น รุ่งขึ้นจากวันที่ได้รับลายพระหัตถ์ หญิงสุวภาพเธอก็นำห่อของซึ่งส่งประทานฝากไปให้ แก้ออกดู เมื่อเห็นทับทรวงกะลาก็ให้ตลึงไปพูดไม่ออก ดีอะไรเช่นนั้น ดีกว่าคาดหมายไว้พ้นประมาณ ดีกว่าที่เขาวางขายในตลาดเกาะชวาตั้งร้อยเท่าพันทวี ดูทีแรกไม่เห็นที่ลิ เพราะฝีมือทำนั้นพาใจไปเสียไกลในทางฝีมือ ภายหลังระลึกขึ้นได้ว่าในลายพระหัตถ์ตรัสบอกว่าลิ หาดูว่าลิที่ตรงไหนจึงได้พบ ทั้งนี้ก็ตั้งพิธีรื้อสำลีค้นหาผีที่ลิ ด้วยเห็นว่าจะเอาติดต่อเข้าไว้ได้โดยง่าย เพราะว่าจะวางไว้ชมแต่ในตู้ ไม่ได้ใช้ใส่สวมจะเห็นสมบูรณ์อยู่ด้วยดี แต่เสียดายหาผีไม่พบ คิดว่าคงจะไม่ได้ส่งประทานเข้าไปด้วย
ส่วนของสิ่งอื่น ซึ่งจำนงพระทัยฝากไปให้ใครต่อใครที่ในชวาบาหลีนั้นจะได้นำไปให้แก่เขาตามพระประสงค์ เมื่อออกไปเที่ยวถึงประเทศเหล่านั้น กำหนดจะไปด้วยเรือ “เตเกลแบร์ก” (Tegelberg) ซึ่งกำหนดจะออกจากเกาะสีชังวันที่ ๑๗ เดือนนี้ แต่ลูกๆ เข็ดที่ต้องออกไปด้วยเรือเล็ก เมาคลื่นเต็มที จึงคิดจะไปตากอากาศกันเสียที่ศรีราชาก่อนสักสองสามวัน พอเรือมาจอดที่เกาะสีชัง จึ่งข้ามไปลงเรือออกไปชวา ส่วนทางเมืองชวานั้นแล้วแต่ทูลกระหม่อมชายจะทรงต้ม ยังกราบทูลกำหนดอะไรไม่ได้ แต่คงเป็นเวลาไม่เกินสองเดือนครึ่ง
ตาฝรั่ง ๒ คนซึ่งไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บาหลี ตามที่ตรัสเล่าถึงนั้นชอบกลมาก ตาฝรั่งอเมริกันถึงแก่ไม่ใส่เสื้อนั้นหนักมือมาก ได้ถวายรูปฉายซึ่งมีตาฝรั่ง ๒ คนนั้น กลับคืนมาตามพระประสงค์นี้แล้ว
หญิงอาภากลับถึงกรุงเทพฯ เกล้ากระหม่อมไม่ได้ไปรับด้วยไม่สบายเพิ่งจะฟื้น เกรงว่าจะกลับเจ็บลงอีกก็จะทำให้เสียการของทูลกระหม่อมชายอันได้ตรัสสั่งมอบหมายไว้ ซึ่งจะมาถึงในเวลาเย็นวันรุ่งขึ้นนั้นแล้ว จึงได้ให้แต่ลูกๆ ไปรับ กลับมาบอกว่าเธอมีอาการกระปลกกระเปลี้ยเต็มที ส่วนเกล้ากระหม่อมนั้นไม่ต้องทรงพระวิตกอะไร เจ็บไม่สบายไปด้วยโรคบรองไคติส (มองคร่อ) อันเป็นโรคประจำตัวอยู่กำเริบขึ้นอาการก็มีแต่ไอไปมากมาย ทั้งนี้อยากจะโทษเอาอากาศ ว่าเพราะฤดูเปลี่ยนเป็นหน้าฝน
คราวนี้จะกราบทูลข่าวปกีรณกในกรุงเทพ ฯ
ความเป็นไปในงานของทูลกระหม่อมชาย เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม นั้น การตอนเช้าอยู่แก่ชายถาวร เกล้ากระหม่อมไม่ทราบตลอดพอที่จะกราบทูลได้ แต่มีความปรากฏอยู่ในหนังสือเทศนาของพระธรรมโกษาจารย์มาก ซึ่งเกล้ากระหม่อมได้ส่งมาถวายด้วยนี้แล้ว ส่วนงานเวลาเย็นเกล้ากระหม่อมได้รับสั่งทำการแทนพระองค์ จึ่งสามารถที่จะทูลรายงานถวายได้โดยละเอียด ตั้งต้นประกอบการเวลา ๒๗ นาฬิกา พระสงฆ์ ๕๘ รูป มีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์เป็นประธานขึ้น ณ อาสนสงฆ์ เกล้ากระหม่อมจุดเทียนเครื่องนมัสการพระพุทธรูป และจุดเทียนเครื่องราชสักการะพระศรีรราชางคารแล้วอ่านประกาศ ทูลกระหม่อมชายถวายกัปปิยภัณฑ์เป็นมูลค่า ๕,๘๐๐ บาท แด่วัดเบญจมบพิตร สำหรับการรักษาและปฏิสังขรณ์เพื่อประโยชน์แก่พระภิกษุสงฆ์ กับสัปปุรุษพุทธบริษัทอันจะพึงมาปฏิบัติเพื่อนำตนให้พ้นทุกข์ภัย ได้ถวายสำเนาประกาศมาเพื่อทราบฝ่าพระบาทด้วยแล้ว เมื่ออ่านจบพระภิกษุสงฆ์อนุโมทนาสาธุการพร้อมกัน แล้วเกล้ากระหม่อมทอดไตรนำแด่ประธานคณะสงฆ์ และทอดไตรอันประกอบด้วยใบประกาศ แก่เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร ต่อนั้นไปก็พระธิดาและพระบุตรเขยของทูลกระหม่อมชายช่วยกันทอดผ้าไตรอันเหลือนั้นจนครบ ๕๘ พระสงฆ์ทั้งนั้นสดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนาด้วยคาถา “ภุตาตฺ โภคา” แทน “อทาสิเม” ซึ่งได้กราบทูลมาในหนังสือฉบับก่อน แล้วพระสงฆ์ออกไปครองผ้า เสร็จแล้วกลับเข้ามานั่งอาสน์ เกล้ากระหม่อมจุดเทียนประจำกัณฑ์ เทียนเครื่องนมัสการพระสรีรราชางคารทรงบูชาธรรมและเทียนเครื่องบูชาธรรมของทูลกระหม่อมชาย พระธรรมโกษาจารย์แสดงธรรมกัณฑ์หนึ่ง (ตามสมุดซึ่งตีพิมพ์) จบแล้วเกล้ากระหม่อมถวายเครื่องไทยทานบูชาธรรม และจุดเทียนครอบน้ำพระพุทธมนต์ถวาย นำขึ้นประเคนแด่ประธานคณะสงฆ์ แล้วพระสงฆ์ถวายอนุโมทนาทำน้ำพระพุทธมนต์ถวาย เป็นเสร็จการเท่านั้น พอเสร็จการก็ฝนตกพอดี
พระสงฆ์ซึ่งมาประชุมในการนี้มี ๕ วัด คือสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดเทพศิรินทร์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดพระเชตุพน พระธรรมปาโมกข์ วัดราชบพิตร และพระธรรมโกษาจารย์ กับพระสังฆ์อีก ๕๓ รูป วัดเบญจมพิตร
ส่วนทางเจ้าภาพมีพระธิดาสามพระองค์ คือ พระองค์เจ้าศิริรัตนบุษบง พระองค์เจ้าสุทธวงศ์วิจิตร พระองค์เจ้าพิสิฐสบสมัย และมีพระบุตรเขยสององค์ คือ หม่อมเจ้าอรชุนชิษณุ สวัสดิวัฒน์ กับหม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร ส่วนพระองค์เจ้าจุไรรัตน์ศิริมานนั้นประชวรพระครรภ์ไปอยู่โรงพยาบาลศิริราช และก็คลอดพระบุตรชายในเวลา ๑๘.๒๑ นาฬิกา ซึ่งดูเหมือนว่าจะตรงกับเวลาที่พระสงฆ์ทำน้ำพระพุทธมนต์ถวายนั้นเอง เป็นมังคลานุสรอย่างประเสริฐ ส่วนพระองค์เจ้าจันทรกานตมณีนั้นก็ประชวร ในว่าพระอาการเกี่ยวไปทางพระโรคไต
เมื่อวันที่ ๑ เดือนนี้ ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ เข้ามากรุงเทพฯ จากอินโดจีน ในเย็นวันนั้นเองมาหาเกล้ากระหม่อม ถามดูว่ามาพักที่บ้าน นายแลงกาต์ แม่ดำก็มาด้วย แกถามข่าวถึงฝ่าพระบาทก็บอกแกว่าทรงสบายดี เมื่อเดือนมิถุนายนก็เสด็จไปชวา เสด็จกลับมาเมื่อเดือนกรกฎาคม เมื่อวันที่ ๔ เกล้ากระหม่อมเชิญมาเลี้ยงน้ำชา พร้อมทั้งนายแลงกาต์ กับทั้งภรรยาเขาทั้งสอง ฝนก็ตก ขยับขยายไปไหนไม่ได้ เรือนก็เป็นรังห รอดตัวที่เป็นนูคนกันคุ้นเคยทั้งนั้น
อนึ่ง ในวันนั้นเวลาค่ำชายดิศก็มาให้รดน้ำ ในมงคลวันเกิดของเธอ ได้รดน้ำและเจิมให้แก่เธอโดยประสงค์ และให้พรแก่เธอด้วย ชายดิศช่วยในเรื่องจะไปชวาในทางหาเรือให้มากเต็มที่ จะได้ความสะดวกที่เธอช่วยอนุเคราะห์นั้นเป็นอันมากที่สุด
คราวนี้จะทูลถามเพื่อศึกษา
๑ พระแก้วเชียงแสน ใครไปได้มาแต่แผ่นดินไหน เหตุใดจึ่งเป็นพระสำคัญถึงเข้าสู่พระแท่นมณฑล ยังไม่เคยพบตำนานอันเป็นประวัติแห่งพระพุทธรูปองค์นั้นที่ไหนเลย แต่ในจดหมายเหตุการบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๔ มีออกชื่อพระพุทธรูปองค์นั้นแล้ว ฝ่าพระบาทได้ทรงทราบอะไรในเรื่องพระพุทธรูปองค์นั้น พอที่จะตรัสบอกอะไรให้ทราบได้บ้างหรือไม่
๒ พระนาค ถ้าแปลตามชื่อก็ว่าพระทองแดง คงหล่อด้วยทองแดงได้มาเมื่อแผ่นดินไหน ใครนำมาจากที่ไหน ยังไม่เคยพบตำนานเป็นประวัติเลย เหตุใดจึ่งเป็นพระสำคัญ จนถึงสร้างหอขึ้นถวายโดยจำเพาะ ประดิษฐานไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเอาองค์พระไปไหนเสียเหลือแต่หอ ชื่อยังคงเป็นชื่อหอพระ แต่พระอัฐิเข้าไปแย่งเอาที่เสียแล้ว เพิ่งจะพบความในหนังสือแจกงานศพพระยานครราชเสนี ว่าโปรดให้เชิญพระบางในวิหารวัดจักรวรรดิ์ส่งคืนไปเมืองหลวงพระบาง โปรดให้เชิญพระนากที่หอในพระราชวังไปประดิษฐานไว้แทนที่ คำซึ่งกล่าวไว้เช่นนั้นดูก็รัวๆ จะควรเชื่อเอาเป็นแน่ได้หรือไม่ ว่าพระพุทธรูปในวิหารวัดจักรวรรดิ์นั้น เป็นองค์พระนากซึ่งอยู่ในหอพระนากก่อน แล้วเชิญย้ายไป ฝ่าพระบาททรงทราบอะไรในเรื่องพระองค์นี้ ซึ่งจะทรงพระเมตตาโปรดบอกให้ทราบได้บ้าง
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด