- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ได้รับลายพระหัตถ์เวร อันได้หยุดมาเสียพักหนึ่ง ฉบับลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคมนั้นแล้ว ให้รู้สึกสบายเป็นอันมาก (ไม่ใช่ปลาบปลื้ม)
ลายพระหัตถ์ ๒ ฉบับ ซึ่งทรงด้วยลายพระหัตถ์ประทานไปแต่ชวานั้น หญิงอามเธอทักก่อนได้รับลายพระหัตถ์เวรฉบับนี้แล้ว ว่าฝ่าพระบาทคงไม่ทรงมีสำเนาควรจะคัดส่งมาถวาย เกล้ากระหม่อมก็เห็นชอบด้วย ได้คัดสำเนาส่งมาถวายคราวนี้แล้ว ฝ่าพระบาทจะได้ทรงเก็บเข้าเรื่องไว้ไม่ให้สำเนาขาดหายไป
ฟังตรัสเล่าในลายพระหัตถ์ เรื่องหญิงพิลัยถูกพัดลม นึกถึงเครื่องให้ลมในเรือ “อัลเซีย” มันเป็นเหมือนกระปุก มีลมเป่าออกมาจากกระปุก กระปุกนั้นจะหันเหียนไปทางไหนก็ได้ เราอยากจะให้ลมโกรกถูกตัวก็หันมันมาตรงตัว จะให้ลมเป่าห้องให้เย็นหันปากกระปุกมันไปเป่าฝาหรือเพดานก็ได้ หรือจะปิดเสียไม่ให้มีลมออกมาก็ได้ รู้สึกว่าดีมากทีเดียว
สงสารหญิงพิลัยที่ไปเจ็บลง แต่ยังได้ไปชมเกาะบาหลีดีกว่าหญิงพูน โรคคางทูมเกล้ากระหม่อมเคยพบมาก็ไม่เห็นเป็นโรคที่หนักหนาอะไร เขาไม่รักษาอะไรกันทิ้งเผลอเรอไว้สี่ห้าวันหายไปเองก็มี แต่ข้างฝรั่งเขาเห็นสำคัญการใหญ่มาก
เรื่องหนาวนั้นอาการหนักมาก ร่างกายแก่ชรามันทนไม่ไหว เมืองในชวาโดยมากตั้งอยู่ในที่สูงมันต้องหนาว ยิ่งฝนตกก็ยิ่งหนักเข้าทีเดียว หญิงพิลัยบอกว่าในเกาะบาหลีอากาศดีนัก วัวตัวอ้วนเท่าๆ ควาย แผนที่เกาะบาหลีซึ่งทรงพระเมตตาโปรดประทานเข้าไปนั้นดีนัก เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้าทำให้ได้รู้เบาะแสอะไรต่างๆ ท่าเรือบุเลเลงตั้งอยู่คนละฟากเกาะกับเมืองแขกทีเดียว เข้าใจว่าที่บุเลเลงเป็นเมืองฝรั่ง ทางเมืองแขกก็เป็นแขก คงเป็นเพราะตั้งอยู่ไกลกับฝรั่ง ประเพณีอะไรสำหรับบ้านเมืองจึ่งไม่ค่อยเปลี่ยนไป ส่วนแผนที่เกาะชวานั้นมีแล้ว
รูปฉาย ๓ รูป ซึ่งทรงพระเมตตาโปรดสอดประทานไปในซองแผนที่นั้น พระรูป ๒ องค์ ๓ องค์นั้นดูดีจับใจเต็มที รูปหมู่นั้นก็ดี แต่มีที่เสียที่องค์ชายเล็กกับหญิงเหลือถูกคนข้างหน้าบังเกือบหมดเห็นนิดเดียว แต่ก็อุตส่าห์ดูรู้ได้ว่าใคร ตามที่เป็นดั่งนั้นก็เข้าใจว่าเป็นด้วยตั้งกล้องฉายหลายกล้องด้วยกัน กล้องไหนได้ที่ตั้งเหมาะก็ติดรูปดี กล้องไหนได้ที่ตั้งไม่เหมาะก็บังกันไปไม่ได้รูปดี
ต่อแต่ได้รับลายพระหัตถ์เวรไปแล้วอีก ๒ วัน มีรูปฉายอีก ๒ รูปมาวางไว้ให้ เป็นพระรูปทูลกระหม่อมกับฝ่าพระบาทรูปหนึ่ง พระรูปทูลกระหม่อมพร้อมด้วยพระวงศ์อีกรูปหนึ่ง หลังซองเป็นลายพระหัตถ์ฝ่าพระบาท แต่ไม่ได้ปิดแสตมป์รู้ได้ว่าคงประทานฝากใครเข้าไป ได้ไล่เลียงคนใช้ว่าใครเอามาส่งก็ตก รู้แต่ว่าเป็นคนเท่านั้น เพราะมันเป็นคนใหม่ยังไม่รู้จักใคร จนกระทั่งหญิงอี่หญิงอามกลับมากินเลี้ยงน้ำชาที่บ้านหญิงสี่เพื่อเป็นเกียรติยศแก่หญิงใหญ่ จึงได้ความว่าทรงฝากแก่หญิงใหญ่เข้ามาประทาน เธอใช้ให้นายนราภิบาลเอามาให้ เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า รูปอื่นๆ ซึ่งตรัสรับว่าจะเลือกส่งประทานเข้าไปอีกนั้น หวังใจว่าจะได้รูปที่ช่วยให้มีความรู้ขึ้นอีกเป็นอันมาก
ภูเขาไฟนั้นที่ไหนที่ไหนก็ไม่ต้องการไปดูอีกแล้ว เศร้าใจเหมือนไปดูเมืองนรก เห็นน้ำในธารเดือดคลั้กๆ ก็นึกถึงโลหกุมภีทีเดียว
ทรงพระดำริคาดถูก ว่าชายงั่วจะตามไปด้วย ได้นึกไว้เสร็จแล้วจะให้เธอทำหน้าที่ถ่ายรูป ด้วยเธอชอบงานนั้นอยู่มาก
คดีหม่อมเจ้าตรีอนุวัฒน์ รู้สึกว่ายุ่งยากเต็มที เห็นจะตัดสินหมุดหมิดเสร็จไปโดยปัจจุบันในพระราชวังนั้นเอง ไม่ได้ส่งไปหารือถึงวัด ถ้าจะดูตัวอย่างก็มีทุกอย่างในรัชกาลที่ ๖ ซึ่งบวชในวัดพระแก้ว คณะปรกเป็นธรรมยุติ บวชแล้วไปอยู่วัดมหานิกายก็มี คณะปรกเป็นมหานิกายบวช บวชแล้วไปอยู่วัดมหานิกายก็มี เป็นของมีทุกอย่างเร็วๆ นี้ ไม่จำต้องรู้ตัวอย่างครั้งพระเจ้าเหาเลย เมื่อวันไปบวชเธอที่วัดประยูรวงศ์ เกล้ากระหม่อมก็ถูกถามว่าทำไมถึงไม่บวชวัดพระแก้ว เกล้ากระหม่อมตอบว่าไม่ทรงพระราชศรัทธาที่จะทรงอนุเคราะห์พระราชวงศ์ หนังสือพิมพ์เขาก็ตอกเสียชักไปชักมา เสียงที่ติเตียนกินใจในความประพฤติของหม่อมเจ้าตรีอนุวัฒน์นั้นไม่มี มีแต่คนสงสาร
เรื่องสไตรค์ขว้างปาในสิงคโปร์นั้น รู้สึกว่าเป็นธรรมดา เมื่อจะต้องการให้เป็นอย่างไรใครมาขัดคอก็ต้องตีกัน แต่ที่ปีนังนั้นหนักมากและใหญ่โตมากอาสน์แข็งทีเดียว
จะกราบทูลเรื่องหนังสือของ ลับเบ เดอะ ชัวสิ อีก แกเขียนถึงชื่อและตำแหน่งหน้าที่ราชการ แกว่าออกญายมราชนั้น มีหน้าที่ได้บังคับคดีอาญาทั้งหมด เกล้ากระหม่อมเชื่อ ด้วยชื่อก็ปรากฏเป็นเจ้าเมืองนรก และตราก็เป็นรูปพระยมทรงสิงห์ด้วย ออกญา (ราช) ภักดี แกว่าเป็นอธิบดีพระคลังข้างที่ เกล้ากระหม่อมเชื่ออีก เพราะออกญาคลังหน้าที่เก็บเงินของแผ่นดินมีอยู่ต่างหากแล้ว ชื่อเสนาบดีซึ่งเกี่ยวกับถ้อยความมีอีกคนหนึ่ง คือเจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ชื่อนี้เห็นจะเก่าแก่แต่เมื่อเจ้าแผ่นดินทรงตัดสินความในท้องพระโรง (อมรินทรวินิจฉัย) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์เห็นจะช่วยพระเจ้าแผ่นดินว่าความมโนสาเร่นอกท้องพระโรง ในหนังสือลับเบ เดอะ ชัวสิ เรียกแต่ออกญาวัง ว่ามีหน้าที่ดูแลการวัง ไม่ได้กล่าวถึงถ้อยคำความหนามเสี้ยนอะไรเลย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด