- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๙ เดือนนี้ ได้รับประทานแล้ว
ในเรื่องลัดเกร็ดใหญ่ อยู่ในข่ายความตั้งใจจะกราบทูลเหมือนกัน แต่หาแผนที่อันจะพึงพิจารณาความเป็นไปให้เห็นแจ้งยังไม่พบ จึงจำต้องระงับไว้ก่อน ตามลายพระหัตถ์ตรัสชี้ทางที่ทำไปในคราวนี้มีประโยชน์มาก แต่เมื่อยังไม่ได้แผนที่อันจะพึงได้ดีมาประกอบ ก็ย่อมยังเป็นเรื่องขึ้นไม่ได้อยู่เอง นึกดูถึงไปในทางรถไฟ มีสถานีเชียงราก (ใหญ่) และเชียงรากน้อย นึกว่าจะเป็นคลองเดียวกัน เป็นแม่น้ำอ้อม เกร็ดใหญ่จะเป็นคลองลัด ขุดแต่เชียงรากน้อยมาทะลุเชียงรากใหญ่ อย่างเดียวกับคลองบางกอกน้อยบางกอกใหญ่เรานี้กระมัง นี่เป็นสันนิษฐานไว้ทีก่อน
ข่าวกรุงเทพฯ มีท้าววรคณานันท์ถึงอสัญกรรมเมื่อวันที่ ๑๒ ว่าเป็นโรคหัวใจ เจ็บมานานแล้ว มีอาการหวลไปหวลมา ประเดี๋ยวหนักประเดี๋ยวเบา จนถึงบัดนี้จึงถึงอสัญกรรม ในใบแจ้งความบอกว่า ได้พระราชทานลองไม้สิบสองประกอบโกศศพ พร้อมทั้งฉัตรกลองเป็นเกียรติยศ ตามตำแหน่งท้าวนางราชสกุล จะได้รับพระราชทานน้ำอาบศพวันที่ ๑๓ แล้วนำไปบรรจุไว้ที่สุสานวัดมกุฎกษัตริยาราม เมื่อไปอาบน้ำศพตามเวลาซึ่งบอกกำหนดไว้ เห็นแต่งศพลงหีบทองลายก้านขด ก็เป็นอันเข้าใจว่าแทนโกศเพราะจะนำไปฝัง เจ้าพนักงานแต่งรถวิมาน (คือรถหลังคาจตุรมุขเทียมม้า) รับหีบศพไป
จะกราบทูลต่อไปถึงข่าวสำคัญอันยิ่งไปกว่านั้นอีก ซึ่งเป็นขึ้น คือทูลกระหม่อมหญิงสิ้นพระชนม์เสียแล้วเมื่อวันที่ ๑๕ เวลา ๒๓.๑๕ นาฬิกา มีความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งมีความวิตกเป็นอย่างยิ่งถึงสมเด็จพระพันวัสสาด้วย เกรงจะเกิดผลอันไม่พึงปรารถนานานาประการ แต่เมื่อได้พบกรมหมื่นเทววงศ์ถามข่าวดูได้ความว่าดีมาก ไม่ทรงโศกเศร้าเท่าไรข่มพระทัยเสียได้ด้วยอำนาจธัมมะอันได้ทรงศึกษามา หมอตรวจความดำเนินแห่งดวงพระทัย ก็พบว่าไม่ดำเนินผิดแผกไปกว่าปกติมากนัก เป็นอันเบาใจไปได้มาก พระอาการประชวรของทูลกระหม่อมหญิงนั้น พระวักกะพิการเรื้อรังเป็นเหตุ ซึ่งฝ่าพระบาทย่อมทรงทราบอยู่แล้ว แล้วมีพระอาการเพิ่มเติม ตามภาษาหมอเขาว่าหลอดลมฝอยอักเสบ ทูลตามที่เขาจดเป็นหนังสือฝรั่งไว้ว่า Bronchopneumonia จะเข้าพระทัยได้ดีกว่า ประชวรหนักมาเห็นจะตั้งแต่วันที่ ๑๓ มาโกลาหลกันเมื่อวันที่ ๑๔ ถึง วันที่ ๑๕ ก็สิ้นพระชนม์ สรงพระศพที่ตำหนักคันธวาสอันเป็นที่ประทับแล้วเชิญพระศพขึ้นรถมณฑป (คือรถจตุรมุขพิมานประกอบยอด) เข้าไปสู่พระบรมมหาราชวัง เชิญพระโกศขึ้นตั้งเหนือแว่นฟ้า ๓ ชั้น มีบัวคลุ่มฐานพระบุพโพฐานเขียง ประกอบพระลองทองใหญ่ (รัชกาลที่ ๕) ประดับประดาด้วยเบญจปฎลเศวตฉัตร และอภิรุมชุมสายทองแผ่ลวด มีผ้าไตร ๔๐ สดับปกรณ์แล้วเป็นเสร็จ
ข่าวร้ายอันนี้ ทำให้หนังสือเวรฉบับนี้จบลงสั้นๆ ข้อที่ตั้งใจจะกราบทูลก็ไม่มีสติจะเขียน ฝ่าพระบาทก็คงเศร้าเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งเหมือนกัน
ได้ส่งหมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กับการพระศพพระองค์เจ้าพิศมัยมาให้ทรงทราบ พร้อมกับหนังสือเวรคราวนี้ด้วย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด