- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
ลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์นั้น หม่อมฉันได้รับแล้ว
อธิบายเรื่องชื่อพราหมณ์พวกต่าง ๆ ที่ยังมิได้ทูลมีอยู่อีก หม่อมฉันถามพราหมณ์ในกรุงเทพฯ บอกได้แต่ว่าพราหมณ์พิธีมาจากเมืองนครศรีธรรมราช พวกพราหมณ์โหรดาจารย์มาจากเมืองพัทลุง และพวกพราหมณ์พฤฒิบาศมาจากเมืองเขมร เท่านั้น ครั้นหม่อมฉันไปเมืองนครศรีธรรมราช ไปลองถามหัวหน้าพราหมณ์ที่นั้น เขาบอกได้ว่าพราหมณ์พวกเขามาจาก “เมืองรามนคร” พวกพราหมณ์โหรดาจารย์ที่ยังอยู่เมืองพัทลุงก็บอกได้ว่า พวกเขามาจากเมืองพาราณสี หม่อมฉันก็เข้าใจได้ด้วยเคยไปถึงถิ่นเดิมของเขา รามนครเป็นเมืองที่ตั้งราชธานี เปรียบเหมือนจังหวัดพระนครของเรา ที่เรียกเมืองพาราณสีเป็นชื่อเมืองอื่นในมณฑลราชธานี อันมีเมืองรวมกันหลายเมือง เปรียบเช่นเมืองนนทบุรี หรือเมืองพระประแดงอันอยู่นอกพระนครแต่ในมณฑลกรุงเทพฯ ถ้าเรียกอาณาเขตรวมกันทั้งหมดเรียกว่ากาสีรัฐ (พวกแขกยามชอบอ้างว่าตนเป็นเชื้อกษัตริย์ชาวกาสี ถามลงไปถึงเมืองที่อยู่ก็บอกว่าเมืองพาราณสี) เพราะฉะนั้นพราหมณ์พิธีกับพราหมณ์โหรดาจารย์มาจากประเทศเดียวกันนั้นเอง คราวนี้หม่อมฉันไปเมืองพนมเพ็ญ วันไปดูพระขรรค์กรุงกัมพูชา ณ หอศาสตราคม ท่านพระมหาราชครูพราหมณ์มียศเป็นที่สมเด็จพระ (อะไรจำไม่ได้) เป็นผู้เชิญพระขรรค์มาถอดฝักให้ชมดูพระขรรค์เสร็จแล้วหม่อมฉันนึกขึ้นได้ถึงพวกพราหมณ์พฤฒิบาศ จึงวานศาสตราจารย์เซเดส์เป็นล่ามถามว่าพราหมณ์พวกแกเดินมาจากไหน แกตอบว่า “พนมไกรลาศ” หม่อมฉันนึกว่าแกจะไม่เข้าใจความที่ถาม ให้ถามซ้ำว่าเมืองที่พราหมณ์พวกแกอยู่แต่เดิมนั้นชื่อเมืองอะไร แกก็ตอบซ้ำแต่ว่า “พนมไกรลาศ” เซเดส์หันมาบอกว่าแกรู้เท่านั้นเอง ก็ต้องงด จึงเป็นอันยังไม่รู้ว่าพราหมณ์พฤฒิบาศบ้านเมืองเดิมอยู่ที่ไหน
วินิจฉัยคำอุทานของกรมหมื่นวรวัฒน์นั้นดีนัก คิดดูยังเห็นประหลาดต่อไปด้วยภาษาอังกฤษก็มีคำเช่นเดียวกัน oh! หมายว่าแปลก eh? ถามว่าอะไร ah! ว่ารู้ละ น่าจะเป็นเพราะเสียง “อ” เห็นจะออกจากคอคนง่ายกว่าเสียงสระอื่น แต่คำอุทานที่เป็นเสียงสระอื่นและเป็นหลายพยางค์ เช่นโห่ฮิ้ว ไชโยพ่อแก้ว เป็นต้น หม่อมฉันนึกว่าน่าจะมีคำเดิมเป็นภาษาอื่น ซึ่งไทยเรารับแต่พูดเพี้ยนและไม่เข้าใจความ นานเข้าคำก็ตกหายกลายเป็นไม่ได้ความ หม่อมฉันได้เคยพบเองเมื่อไปเมืองพาราณสีเขาจัดให้อยู่วังแห่งหนึ่งต่างหากต่างฟากแม่น้ำคงคากับวังรามนครที่มหาราชาอยู่ เขารับอย่างเต็มยศ จัดเรือขนานขนาดสักเท่าเรือบัลลังก์มารับข้ามแม่น้ำคงคา พอเรือออกบโทนก็ร้อง “โอมรามะลักษมณ” และคำอื่นเป็นภาษาสันสกฤตต่อไปยาวสักวรรค ๑ พอลงวรรคพวกฝีพายทั้งลำก็รับพร้อมกันเป็นคำ ๒ พยางค์ คงเป็นคำภาษาสันสกฤตเหมือนกัน พายร้องรับกันเช่นนั้นเป็น ระยะเรื่อยไปจนถึงท่าวังรามนคร หม่อมฉันถามผู้ที่เขามาอยู่ด้วย เขาบอกอธิบายว่าพวกฮินดูเชื่อกันว่า พระรามมาหายไปจากมนุษยโลกที่ในแม่น้ำคงคา เมื่อใครจะข้ามแม่น้ำคงคาจึงต้องสวดบูชาพระราม หม่อมฉันได้ฟังก็นึกขึ้นในทันใดว่า ขานยาว “เหยอว เย่อว” ของไทยเรามูลมาแต่ชาวอินเดียขานยาวเมื่อข้ามแม่น้ำคงคานั่นเอง จะทูลต่อไปอีกอย่าง ๑ ซึ่งหม่อมฉันได้ความรู้มาจากเมืองพาราณสีเมื่อครั้งนั้น คืนแรกไปถึงเมื่อหม่อมฉันเข้านอนยังไม่ทันหลับ ได้ยินเสียงตีฆ้องย่ำในบริเวณวังที่อยู่นั้น ครั้นถึงคืนที่ ๒ หม่อมฉันนั่งกินอาหารค่ำด้วยกันกับผู้อื่นหลายคน กินเสร็จแล้วยังนั่งสนทนาปราศรัยกันอยู่ พอถึงเวลายาม ๑ ก็ได้ยินเสียงฆ้องย่ำอีก หม่อมฉันอยากรู้เหตุที่ย่ำฆ้องถามผู้ที่มาอยู่ด้วยเขาบอกว่าย่ำเป็นสัญญาณให้ผลัดเปลี่ยนตัวคนที่มาอยู่รักษาการณ์ พอได้ยินก็ “หูผึ่ง” รู้ว่าที่ไทยเราเรียกว่า “ย่ำรุ่ง” “ย่ำเที่ยง” “ย่ำค่ำ” ตลอดจนประเพณีที่ตีกลองชนะประโคมยาม มูลมาแต่ผลัดคนอยู่ยามทั้งนั้น คือกลางวันอยู่ยามพักละ ๖ ชั่วโมงจึงย่ำแต่เวลาเที่ยง กลางคืนอยู่ยามพักละ ๓ ชั่วโมง จึงย่ำ ๓ ชั่วโมงครั้ง ๑
สัตว์ “ละมั่ง” ที่สุนทรภู่เรียกในกาพย์พระชัยสุริยานั้น พิเคราะห์ดูลักษณะที่ว่าตรงกับ “ระมาด” คือ แรด ทั้ง “ฝังดิน” “กินเพลิง” “คางแข็ง” แรงเริง” หม่อมฉันอ่านก็สะดุดใจ แต่ให้อภัยแกเสียด้วยเป็นคำเทียบแม่กง จะใช้ตัว ด เรียก ระมาด ยังไม่ได้ ก็เรียก ละมั่ง อย่างขอไปที ที่ไปกล่าวถึงละมั่งในบทชมดงเรื่องพระอภัยมณีอีก ถ้าว่าลักษณะเป็นแรดดูก็แปลกอยู่ ตามที่เราได้เรียกมา ละมั่ง เป็นสัตว์พวกกวาง ต้องผิดข้างหนึ่ง ควรกำหนดไว้ เมื่ออ่านหนังสือเรื่องอื่นๆ ต่อไป เช่น รามเกียรติ์หรืออิเหนา หรือแม้หนังสือความร้อยแก้วเช่นชาดก ถ้าพบกล่าวถึงละมั่งสังเกตดูว่าลักษณะเป็นกวางหรือเป็นแรดก็ตัดสินได้
คำในหนังสือรามเกียรติ์รัชกาลที่ ๑ ว่า “ยกทองล่องจวนเจตคลี” ที่พระยาอนุมานทูลถามอธิบายนั้น ถ้ากล่าวอธิบายเป็นรายศัพท์ “ยก” ความหมายว่าผ้าไหมอันทอยกลวดลายให้สูงกว่าพื้นผ้า ถ้าลายทอด้วยไหมทองก็เรียกว่ายกทอง ถ้าลายทอด้วยไหมสามัญก็เรียกว่ายกไหม คำว่า “ล่วงจวน” น่าจะเป็นภาษาอื่น แต่ที่ไทยเราใช้เรียกว่าล่องจวน เคยได้ยินแต่เรียกสมปักอย่าง ๑ ซึ่งมีลายเป็นแถบต่างสีที่เชิงกลางผืนผ้าไม่มีลายและต่างสีกับเชิง ยกตัวอย่างที่พึงเห็นง่าย ทำนองเดียวกับที่เรียกว่า “ผ้าม่วงเชิง” ที่นายตำรวจยังนุ่งอยู่ในปัจจุบันนี้ ตรงกับยกทองล่องจวนทีเดียว แต่สมปักล่องจวนของเก่าที่หม่อมฉันเคยเห็นนั้น เป็นไหมล้วนไม่มียกทอง สำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นเป็นหลวง เช่นนายเวรมหาดเล็กเป็นต้น นุ่งเข้าเฝ้า
คำว่า “เจตคลี” นั้นไม่รู้ว่าภาษาไหน จะเป็นชื่อของท้องที่ๆ ทำหรือที่มาของผ้านั้น ดังเช่นเรียก “ฉลองพระองค์ครุยปัตหล่า” เพราะแพรชนิดที่ทำฉลองพระองค์นั้นมาแต่เมือง Patiala ในอินเดียก็เป็นได้ว่าโดยย่อเหลือความรู้ที่จะเดาให้ถูกได้แน่นอน
พระธาตุเชิงชุมที่เมืองสกลนครนั้น หม่อมฉันยังจำได้อยู่เพราะไม่มีอะไรจะจำ นอกจากว่าก่อด้วยศิลาแลง ห้องในปรางค์ยังคงอยู่ พอเข้าไปบูชาพระได้ แต่ข้างบนหักพังและก่ออิฐซ่อมแปลงเป็นอย่างอื่นไปหมด ของเดิมคงเป็นปรางค์ขนาดเท่าปรางค์ทิศที่เมืองพิมาย ที่เมืองสกลนครนั้นมีถนนขอมไปจากพระธาตุเชิงชุม ขนาดกว้างราว ๓ วา มีตะพานข้ามห้วยก่อด้วยศิลาแลงทำดี น่าชมอยู่แห่ง ๑ ถนนนั้นยาวประมาณ ๒๐๐ เส้น ไปถึงปราสาทหินเทวสถานฝ่ายวิษณุเวท อยู่บนไหล่เขาเรียกว่า “อรดีนารายน์เชงเวง” ยังไม่หักพังมากนัก ประมาณว่าขนาดจะเท่าๆ กับพระธาตุเชิงชุม ก็เป็นรูปร่างอย่างเดียวกันกับปรางค์ที่พวกขอมชอบทำไว้ ณ ที่อื่นๆ จึงสันนิษฐานว่ารูปพระธาตุเชิงชุมก็เห็นจะเป็นอย่างเดียวกันกับปรางค์อรดีนารายน์เชงเวงนั้นเอง
ที่ปีนัง วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ พวกถือศาสนาโรมันคาทอลิกเขาจะมีพิธีศราทพรตถวายโป๊ปเปียที่ ๑๑ เขาส่งการ์ดมาเชิญหม่อมฉัน ตั้งใจว่าจะไปช่วยเขา เพราะหม่อมฉันได้เคยเฝ้าโป๊ปองค์นี้ การพิธีเป็นอย่างไรจะทูลในเวรสัปดาหะหน้าต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด