- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ได้รับประทานแล้ว ชื่อที่บัญญัติขึ้นเรียกว่า “หนังสือเวร” นี้ ชายใหม่ชอบนักว่าเหมาะดี
ข้อที่ตรัสถึงวัวโง่นั้นจับใจ จนทำให้กราบทูลต่อไปไม่รู้แล้ว ลงเมื่อคราวเกล้ากระหม่อมออกไปนครวัด ผู้ว่าราชการเมืองเสียมราบเขาจัดรถยนต์มารับแต่อรัญประเทศ คนขับรถเขาขับรถเร็วจี๋อย่างไม่เคยรับ แต่เมื่อไปพบวัวควายอยู่ข้างทางเขาก็รอช้าอย่างที่สุด เพราะเอานิยายไม่ได้ว่ามันจะไปทางไหนอย่างตรัสนั่นเอง เพื่อมิให้มีอันตรายแก่รถและแก่วัว ที่กรุงเทพฯ แต่ก่อน พวกแขกก็ต้อนโคจูงไปสู่ที่ฆ่า แล้วก็เกิดอันตรายขึ้นต่างๆ ระหว่างรถกับวัว เดี๋ยวนี้กรมตำรวจเขาบังคับให้ผูกจูงดีขึ้นมาก ปราศจากอันตราย พวกที่ตื่นนับถือวัว เห็นจะเป็นพวกแขกอินเดียเป็นต้นเค้า จนมีคำว่า “นตฺถิ โค สมิกํ ธนํ” ถือว่าโคเป็นทรัพย์ ตามนิยายก็มีอยู่เป็นอย่าง ว่าพระเจ้าแผ่นดินย่อมมีโคไว้องค์ละมาก ๆ จนองค์ที่เก่งยกพลเข้าปล้นเอาโคไปเสียแทนที่จะตีเอาบ้านเมือง ที่ในอินเดียถือว่าโคเป็นทรัพย์นั้น เห็นจะเป็นที่โคมันเลี้ยงง่าย อะไรมันก็กินได้ แม้บ้านเมืองที่แร้นแค้นเช่นอินเดีย ก็สามารถเลี้ยงโคไว้ได้ดีแล้วยังให้นมเป็นผลประโยชน์ได้ด้วย จึงได้ถือว่าเป็นทรัพย์ เขาเล่าว่าในเมืองใหญ่ๆ เช่นเมืองพาราณสีเป็นต้น มีคนถวายวัวแด่พระเป็นเจ้ากันมาก ตรงกับที่เจ้านายเราเรียกว่า “ปล่อยพระพุทธบาท” เขาว่าพวกวัวปล่อยพระพุทธบาทเหล่านั้นเที่ยวได้เดินฟรีกีดเกะกะอยู่ตามเทวสถานมาก ไม่มีใครทำไมได้ ทางเมืองจีนตอนใต้ เช่นเมืองกวางตุ้งเป็นต้นเขาว่าถือกันไม่กินวัวเหมือนกับพวกแขกฮินดู แต่ความหมายไม่กินนั้นไปคนละทาง จีนถือว่าวัวนั้นเป็นสัตว์ที่ทำคุณให้แก่มนุษย์ บรรดาสัตว์ที่ทำคุณให้เก่มนุษย์ เขาไม่กินทั้งนั้น ไม่ใช่เพราะเป็นสัตว์พาหนะของพระเป็นเจ้าอย่างพวกฮินดูถือ นับว่าเป็นทางชอบที่จะไม่ทำให้สัตว์ซึ่งมนุษย์ได้ใช้เปลืองไป
อันสัตว์ที่เราเห็นว่าโง่นั้น คงจะมีอะไรที่บกพร่อง ซึ่งทำให้มันงมงายไปในทางนั้น เช่นนกชัน ได้ฟังพระยาวิเชียรคิรี (ตาแจก) เล่าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ษมาบาปเสียเถิด นึกว่าแกขี้ปดเกินความจริงไปมาก แต่ครั้นได้ไปเห็นก็เป็นความจริงของแกสิ้น อันนกชันนั้นมันมีกำลังมีปีกสามารถจะบินไปไหนก็ได้ ควรหรือวิ่งมุดเข้าไปในลอบยัดกันจนเต็ม ดูน่าสงสารเหลือเกิน มนุษย์เราก็สำคัญพิจารณาเห็นความเป็นไปของสัตว์ว่ามันบกพร่องที่ตรงไหนก็ทำมันตรงที่บกพร่องนั้น เช่นนกชันตามันสู้แสงสว่างไม่ได้ พอใจมุดรกเข้าหาที่มืด ก็ทำรูเอาลอบไปดักให้มันมุดเข้าลอบ
ได้ตริตรองเรื่องพระแสงอัษฎาวุธต่อไป เกิดความเห็นงอกขึ้นอีกจึงจะกราบทูลตามที่เกิดความเห็นขึ้นนั้น อันพระแสงอัษฎาวุธเห็นจะเป็นแบบไทย ไม่ใช่แบบอินเดีย จะมาแต่พระแสงหว่างเครื่อง หน้า ๕ หลัง ๓ รวมเป็น ๘ จำนวนนี้ต้องที่ใช้อยู่เป็นหลัก แต่เกล้ากระหม่อมได้ตรวจดู พระแสงหว่างเครื่องตามมีจดหมายไว้ในที่ต่างๆ ก็ไม่แน่ งานหนึ่งก็มีเปลี่ยนแปลกกันไปบ้าง สังเกตได้แต่ว่าพระแสงหว่างเครื่องหน้าเป็นชนิดพระแสงสั้น หว่างเครื่องหลังเป็นพระแสงชนิดยาว คงเป็นเพราะความไม่แน่นี่แหละจึงได้มีพระราชปุจฉาถามนักปราชญ์ราชบัณฑิต ในเรื่องอาวุธชนิดต่างๆ ได้พบในตำราพิชัยสงครามฮินดู ซึ่งอาจารย์เยรินีเก็บมาแต่ง แบ่งไว้ดี ว่าอาวุธยาวสำหรับพวกพลช้างพลม้าใช้ อาวุธสั้นสำหรับพวกพลเดินเท้าใช้ อาวุธซัดมีธนูศรเป็นต้น สำหรับพวกพลรถใช้ อันพวกพระแสง ๘ นั้นยังมีอีก คือพระแสงอัษฎาพานร จะหมายถึงอะไรยังคิดไม่เห็น แต่มีพระแสงดาบฝักจำหลักเป็นรูปพระยาวานรพลพระรามดูเป็นขอไปที เพราะจะครบก็ไม่ครบ พระยาวานรมี ๑๑ ขาดไป ๓ เขาว่าพระแสงนั้นสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๓ ที่จะทำประจบให้มีองค์พระแสง โดยว่ามีชื่อมาก่อนแล้ว เรื่องแปดๆ ยังมีชื่อพระครูอัษฎาจารย์อยู่อีกแปลว่าอาจารย์ ๘ ไม่ได้เรื่องอะไร แต่พอคิดเห็นได้ด้วยปรากฏในพระราชพงศาวดาร มีการพิธีจับช้างเมื่อไรการฝึกช้างก็เป็นหน้าที่พระครูอัษฎาจารย์ ชื่อพระครูคนนั้นจะต้องเป็น “หัสดาจาร” ซึ่งตรงกับ “หัตถาจาร” ในภาษามคธ คือเป็นผู้ฝึกช้าง แต่แล้วก็คิดว่าชื่อนั้นเรียกผิดเขียนผิด โดยพระอัฐิก็เรียกพระหัฐิ จึงแก้เป็นอัษฎาจารย์ เลยไม่ได้ความอะไร
พูดถึงอาวุธก็นึกขึ้นมาได้ จะผิดถูกอย่างไรก็จะกราบทูลให้ทรงทราบ พระยาอนุมานบอกว่าในพจนานกรมภาษาอาหมแปลคำ “เสา” ให้ไว้ว่าเป็นเครื่องค้ำ เช่นเสาค้ำอะไร ๆ และถ่อเรือเป็นต้น ก็มาสะดุ้งใจขึ้นว่า เส้าที่กระทุ้งในเรือดังนั้นจะเป็นฉวยเอาถ่อมากระทุ้งให้จังหวะพายนั่นเอง (ในภาษาอาหมดูเหมือนไม่มีไม้เอก-ไม้โท) แต่แรกนึกว่าจะฉวยเอาอาวุธอย่างใดอย่างหนึ่งมากระทุ้ง แต่ก็หาเห็นมีคมไม่ และอาวุธที่มีภู่ขนจามรีหลายชั้นเช่นนั้นก็ไม่มี ถ้าเป็นถ่อแล้วก็เข้าทีมาก การตกแต่งถ่อให้ดูหรูขึ้นนั้นคงจะแต่งขึ้นทีหลัง
ตามพระดำรัสบอกให้ทราบว่าเมืองแม่กะลองมีจริงๆ นั้น เกิดความยินดีเป็นอันมาก ด้วยทำให้ความปรากฏชัดทีเดียวว่าแม่น้ำกลองนั้นคือแม่กะลอง แต่เป็นกลองก็ไม่ประหลาดอะไร กะลองพูดเร็วๆ ก็ต้องเป็นกลองอยู่เอง แต่ไม่ใช่กลองตีตูมๆ
และตามพระดำรัสเรื่องชื่อเมืองต่างๆ ซึ่งไม่เป็นภาษาไทยนั้น ทำให้ได้สติรู้สึกมาก ทั้งนึกเห็นขันไปด้วยในตัว ที่โคราชมีชื่ออะไรๆ ที่ไม่เป็นภาษาไทยอยู่มาก เช่นเมื่อครั้งเปิดรถไฟเสด็จขึ้นไปประพาสโคราช วันหนึ่งเกล้ากระหม่อมไปสืบที่กรมขุนพิทยลาภ ซึ่งเวลานั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงวังอยู่ ว่าวันนี้จะเสด็จพระราชดำเนินไปที่ไหน ทรงนิ่งนึกอยู่ครู่หนึ่งก็ตรัสบอกว่า เสด็จไปที่อ้ายเกลือๆ อะไรนั่นแหละ เกล้ากระหม่อมก็เข้าใจว่ากะทาเกลือ เพราะชื่อไม่เป็นภาษาที่ได้ความจึงทรงจำไม่ได้ อันคำที่ไม่ได้ความนั้นถูกลากเอาเข้าความเสียก็มาก เช่น สิห์ชังฆ์ และ ศรีชลังค์ ฉะนั้น
ชื่อท้าวผากองในศิลาจารึกก็มี ที่ปรับชื่อเมืองผากองเป็นภาษามคธว่า เขลางค์ นันออกจะมืด จึงได้ลองเปิดสมุดพจนานุกรมของอาจารย์จิลเดอรส์ขึ้นดู เขล ไม่มี มีแต่ เขฬ แปลว่าน้ำลาย ไกลกับผากองตั้งร้อยโยชน์แสนโยชน์ ทั้งติดจะหยาบด้วย คงไม่ใช่หมายถึงน้ำลาย แท้จริงชื่อเมืองผากองก็คงหมายว่าเมืองอันตั้งอยู่ใกล้ที่หินกอง ตรงกับคำว่าภูผาหรือหนึ่งจะหมายความว่าเมืองที่มีกองทหารธนูอยู่มากพร้อมก็อาจเป็นได้ ทั้งนี้อาศัยคำที่เราพูดกันอยู่ว่า “ปืนผา” เขาว่าทางแคว้นอิสานเรียกธนูปืนไฟว่าผา จะอย่างไรก็ดี ควรที่จะผูกชื่อผากองให้ใกล้และดีกว่าเขฬางค์ได้เป็นอันมาก ถ้าเป็น นคร เสลางค์ จะค่อยยังชั่ว
ฟังข่าวสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้รู้สึกรำคาญใจเต็มที นึกทีเดียวว่าเสด็จมาถึงปีนังก็คงถูกกักอีกก็เป็นจริงเหมือนนึก เป็นอันว่าเขากักตลอดแหลมมลายู โล่งใจที่ได้ทราบข่าวว่าเมื่อเสด็จไปถึงศิลอน เกาวนาเขาต้อนรับเชิญเสด็จไปเสวยน้ำชาและเสด็จไปเยี่ยมทีปทุตตมาราม ทรงปลูกต้นจันทน์เป็นที่ระลึกเป็นอันพ้นการกักที่ศิลอนนั้น ที่ปีนังพวกสมาคมญาโณทัยเขาก็เตรียมรับเสด็จ เชื่อว่าเตรียมกันใหญ่โต เสด็จขึ้นไม่ได้เห็นจะเสียใจกันมาก ข้อที่ฝ่าพระบาททรงงดการปลูกฝีดาษนั้นดีแล้ว ปากใครจะทูลห้ามสักเท่าไรก็ไม่สำคัญเท่าปากหมอ เพราะเขารู้ความเป็นไปในทางไข้เจ็บดี จำต้องฟังคำเขา
ข่าวกรุงเทพฯ ไม่มีอะไรเป็นล่ำสันซึ่งควรจะกราบทูลมา
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด