- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวรลงวันที่ ๕ มกราคม ได้รับประทานแล้ว
ตามพระดำรัสเรื่องสัตว์ต่างๆ นั้นชอบกลหนักหนา นึกถึงพรฝรั่งที่เขาเล่นละครสัตว์ก็แจ้งใจ ว่าเขาได้เลือกกันมาหลายชั่วคนแล้ว จัดเอาสัตว์ที่ฉลาดและซื่อตรง ตามที่เล่นกันอยู่ก็มี ม้า ช้าง หมา เสือโคร่ง และสิงโต เป็นยืนพื้น สัตว์อื่นถึงจะมีก็เป็นพิเศษ ลิงนั้นเกล้ากระหม่อมได้เลี้ยงทั้งได้เห็นเขาเอามาฝึกหัดให้เล่นละครเป็นพิเศษ แต่ออกจะสลดใจ รูปร่างมันคล้ายคน ควรจะมีความฉลาดมากกว่าสัตว์อื่นๆ แต่เปล่า ดูเล่นอะไรไม่สู้สำเร็จ อาจเป็นด้วยเพราะมันมีนิสัยโกงอยู่ในตัว เช่น ที่ตรัสติเตียนมาในลายพระหัตถ์ แมวนั้นก็ไม่เป็นสัตว์ที่เขาใช้เล่นละครกัน แม้จะมีบ้างก็เป็นพิเศษ เห็นจะเป็นด้วยมันติดจะโง่ แต่มีความซื่อสัตย์ จึงมีเลี้ยงกันเป็นสัตว์ประจำเรือนอยู่มาก บรรดาสัตว์อันได้เคยพบเห็นและสังเกตมา อะไรจะโง่เท่ากับกิ้งคกเป็นไม่มี ไม่รู้จักรักษาตัวกลัวภัยตามวิสัยสัตว์ นึกจะนั่งก็นั่งเหม่ออยู่ จนอะไรจะมาเหยียบตายก็ไม่รู้ไม่ชี้
ข้อที่ทรงพระวินิจฉัยถึงเบญจคัพย์นั้นถูกต้องดีอย่างยิ่ง
เรื่องพระแสงอัษฎาวุธ พระยาอนุมานก็ไม่เคยพบหลักฐานทางอินเดีย ซึ่งจะบอกให้ได้ เขาได้ถามพราหมณ์ศาสตรี ก็ไม่เคยทราบมาเหมือนกัน เขาได้ช่วยค้นแต่ก็หาไม่พบ พบแต่อาวุธสืบเรียกว่า “ทศายุธ” ให้คาถามาเช่นนี้
“วชฺรํ ศกฺตึ จะ ทณฺฑํ จ | ขฑฺคํ ปาศํ ตถางฺกุศมฺ |
คทา ตฺริศูลํ ปทฺมํ จ | จกฺรํ เจติ ทศายุธมฺ” |
แปลว่า อายุธสิบ คือ วชิราวุธ หอกซัด ไม้ตะพด ดาบ บ่วง ขอช้าง ตะบอง ตรีศูล ดอกบัว จักร ดูเป็นเทพอาวุธ แต่สอบดูกับพระแสงอัษฎาวุธก็ต้องกันถึง ๕ อย่าง คือ หอก ดาบ ขอช้าง ตรีศูล จักรที่ไม่ต้องกันมี ๓ อย่าง คือ ดาบเขน ธนูศร ปืนไฟ สิ่งที่ไม่ต้องกันนั้นก็มีวิรุทธอยู่ ดาบเชลยกับดาบเขนนั้น ถ้าจะว่าไปก็ซ้ำกัน เป็นดาบขนาดใหญ่กับขนาดเล็ก ธนูศรกับปืนไฟก็ซ้ำกัน เป็นปืนยากับปืนไฟและปืนไฟนั้นก็ช่างใหม่เสียจริงๆ พระยาอนุมานค้นหลักฐานหาที่มาซึ่งกล่าวถึงปืนไฟในหนังสือต่างๆ พบว่าพวกเราแถวนี้รู้จักปืนไฟกันขึ้นไม่เกินไปกว่า ๖๐๐ ปี พระแสงอัษฎาวุธดูสมจะมาแต่ทศายุธนั้นเองแต่คลาดเคลื่อนไปเสียบ้าง อาจเป็นด้วยจำไม่ได้แม่น ในคำแก้พระราชปุจฉาในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งมีอยู่ในกรมราชเลขาธิการ เกล้ากระหม่อมก็เคยทราบว่ากราบบังคมทูลไม่ยืนยันแน่ลงไป
ในเรื่อง “แม่กลอง” นั้นให้ข้องใจคิดไม่หยุด เห็นว่าหากเมืองแม่กลองมีจริงก็เป็นเมืองที่ได้ชื่อจากแม่น้ำ ไม่ใช่แม่น้ำได้ชื่อจากเมืองเพราะคำว่า “แม่” นั้นหมายถึงลำน้ำ ลำน้ำลำนั้นก็จะต้องชื่อว่า “กลอง” เท่านั้นเอง คำ “กลอง” นี้ ให้นึกสงสัยไปว่าจะเป็นคำเดียวกับ “แกลง” “กรัง” “กลัง” คิดว่าหากอยู่ต่างถิ่นกันเสียงที่เรียกจึงเพี้ยนไป แต่คำ “แกลง” “กรัง” “กลัง” จะหมายความว่ากระไรก็ยังหาทราบไม่ พระยาอนุมานว่าพวกชวาเรียกพวกเงาะว่า “กลัง” ถ้าเช่นนั้นจริง เมืองกลังในสละงอก็จะเป็นที่พวกเงาะสิงสู่อยู่มาก่อน คิดจะทูลทูลกระหม่อมชายไปให้ทรงช่วยสอบสวนดู ว่าพวกชวาจะเรียกพวกเงาะว่า “กลัง” จริงหรือไม่ อันชื่อ “เมืองตรัง” นั้น เขียนชื่อว่า “ตรัง” แต่เรียกกันว่า “กรัง” กลัวจะหลงเขียนเทียบไปตามภาษาอื่น ไม่ใช่ภาษาไทย เพราะไทยอ่านอักษร ตร ไม่ได้ เช่น “ตรี” ก็อ่านว่า “กรี” ความคิดให้คิดเลอะเทอะไปจนถึง “เมืองขลุง” คำว่า “ขลุง” อาจเป็นคำเดียวกับ “คลอง” ก็อาจเป็นได้ พูดถึง “เมืองขลุง” นึกขึ้นมาได้ว่าได้เคยอ่านหนังสือพบชื่อ “นครเขลาง” เป็นเมืองอยู่ที่ไหนก็ไม่ทราบ ลักษณะอักษรคล้ายกันกับ “เมืองขลุง” ก็คล้าย คล้ายชื่อ “เมืองกลัง” ก็คล้าย ทั้งนี้ไม่มีอะไรแน่ เป็นแต่ความคิดเดินไปอย่างไรก็กราบทูลได้ทรงทราบเท่านั้น
ข่าวในกรุงเทพฯ ที่ควรจะกราบทูล มีงานพระราชทานธงแก่กองทหารยุวชน วันที่ ๘ มกราคม มีการตรึงธงเจิมธงและสวดมนต์ฉลอง ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ววันที่ ๙ มกราคม พระราชทานธงนั้นที่ท้องสนามหลวง ได้ส่งใบพิมพ์หมายกำหนดการมาถวายให้ทรงทราบรายละเอียดพร้อมกับหนังสือเวรนี้แล้ว
เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม เวลาเย็น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินมาถึงบ้านคลองเตย พร้อมด้วยพระราชประยูรโดยจำนง พระราชหฤทัยที่ลาเสด็จกลับไปประเทศยุโรป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระฉายาลักษณ์องค์หนึ่ง เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้าฯ หาที่เปรียบมิได้ กับทั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอก็ทรงพระเมตตา ประทานพระรูปฉายองค์หนึ่งด้วยเหมือนกัน
เมื่อวันที่ ๑๒ เวลาเย็น เกล้ากระหม่อมออกมาจากห้องน้ำ เด็กเอาการ์ดหักมุมมาให้ บอกว่านายเฟโรจีมาหา พร้อมทั้งบุตรภรรยาแต่กลับไปแล้วไม่ได้พบก็เลยไม่ทราบว่ามาอย่างไร ถ้ามาทางรถไฟทีก็จะขึ้นที่ปีนัง หวังว่าคงจะได้มาแวะเฝ้าฝ่าพระบาท
วันที่ ๑๓ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับไปยุโรป กำหนดเวลาเช้า ๗.๐๔ นาฬิกา ความละเอียดแจ้งอยู่ในหมายกำหนดการใบพิมพ์ อันได้ถวายมาให้ทราบฝ่าพระบาทด้วยกับหนังสือเวรคราวนี้แล้ว การทั้งปวงเป็นไปตามหมายกำหนดการนั้น ทุกอย่างไม่มีอะไรพลาดพลั้ง อาการหนักแต่ต้องลุกขึ้นจากที่นอนแต่ยังดำๆ แต่งตัวไปตำหนักแพ อยู่ข้างจะไปเช้าเกินไปสักหน่อย ด้วยกลัวจะต้องไปติดรถคั่งเสียเวลาเหมือนเมื่อขาเสด็จเข้าไป คนที่ไปเช้าด้วยคิดอย่างเดียวกันก็มีหลายคน แต่เปล่า ไม่มีการคั่งเหมือนอย่างนึก แม้ขากลับรถก็เดินได้ค่อนข้างสะดวกไม่สู้แน่นหนานัก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถึงตำหนักแพเวลา ๗.๓๐ นาฬิกา ทรงปฏิบัติพระราชกิจตามหมายกำหนดการแล้ว เสด็จลงเรือพระที่นั่ง แปลกกว่าที่เคยมาที่เรือพระที่นั่งจอดประทับท่าเอาหัวลงทางใต้น้ำ สะดวกดีที่ไม่ต้องขึ้นไปกลับลำทางเหนือน้ำ เห็นจะเป็นที่ได้โอกาสเวลาน้ำขึ้น หวังว่าเรือ “เสลันเดีย” ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินมาเขาคงจะแวะปีนัง คงเป็นโอกาสที่ฝ่าพระบาท จะได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอีกคราวหนึ่ง เมื่อเรือ “เสลันเดีย” เข้าไปถึงกรุงเทพฯ นายห้างเขาก็ส่งการ์ดมาเชิญไปชมเรือแต่ไม่ได้ไปด้วยไม่ค่อยสบาย
หวังว่าพระอนามัยคงเป็นอยู่ดี ขอถวายบังคมฝ่าพระบาท
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด