- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๗ มกราคมแล้ว
เรื่องแม่น้ำเก่าที่ทรงปรารภนั้น ตั้งแต่มณฑลนครสวรรค์และมณฑลพิษณุโลกลงมามีแม่น้ำเก่าอยู่ทั้ง ๒ ฟากแม่น้ำ เดี๋ยวนี้มากไม่รู้ว่าสักกี่สาย ยิ่งลงมาถึงมณฑลอยุธยา ยิ่งมีมากและแนวน้ำยิ่งยุ่งขึ้น ดังคลองบ้านสายแขวงจังหวัดอ่างทองที่ตรัสมานั้น มูลเหตุความผันแปรของลำแม่น้ำคงเป็นด้วยเหตุ ๒ อย่าง อย่างที่ ๑ เพราะน้ำฝนพาดินทรายไหลลงมาจากบนบก ตกเพิ่มพื้นท้องน้ำทำให้สูงขึ้นเป็นหาด หาดกันให้สายน้ำไหลแปรไปกัดตลิ่งทางฟากโน้นให้พังลง อันนี้เป็นเหตุให้ลำน้ำคดค้อมเปลี่ยนแปรไปโดยลำดับ อย่างที่ ๒ เมื่อลำน้ำคดค้อมหนักเข้า คนก็ขุดตรงกิ่วให้เป็นคลองลัดสำหรับใช้เรือไปมาได้เร็วขึ้น นานมาสายน้ำไปเดินเสียทางคลองลัดกัดคลองให้กว้างออกไปจนเป็นแม่น้ำ น้ำมาไหลเสียทางใหม่ทางน้ำเดิมก็ตื้นเขิน เหลือแต่เป็นห้วงเป็นดอนหรือเป็นแต่ท้องร่องดังคลองบ้านสายที่ทรงปรารภ
การขุดคลองลัดนั้นดูเหมือนจะทำให้แม่น้ำเดิมเสียยิ่งกว่าเหตุอย่างอื่น และบางทีอาจเกิดโทษ หม่อมฉันเองได้เคยทำบุญแต่มีผลกลายเป็นบาปในเรื่องนี้ครั้งหนึ่ง ยังนึกละอายอยู่ไม่หาย เมื่อปีแรกหม่อมฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยใน พ.ศ. ๒๔๓๕ ขึ้นไปตรวจราชการหัวเมืองเหนือเมื่อฤดูน้ำ ได้พระราชทานกฐินหลวงไปทอดที่วัดธรรมามูลด้วย หม่อมฉันไปพักแรมอยู่ที่เมืองชัยนาท รุ่งเช้าออกจากเมืองชัยนาทขึ้นไปเขาธรรมามูล เวลานั้นน้ำกำลังไหลเชี่ยว เรือหม่อมฉันพ่วงเรือไฟไปถึง ๒ ชั่วโมจึงถึง แต่เมื่อไปถึงเขาธรรมามูล เห็นพวกกรมการเมืองชัยนาทซึ่งมาส่งหม่อมฉันเมื่อออกเรือ เขาไปคอยรับอยู่ที่ท่าขึ้นวัดแล้วก็ประหลาดใจ ว่าเขามีแต่เรือแจวพายทำไมจึงสามารถแข่งเรือไฟขึ้นไปถึงก่อนได้ เขาบอกว่ามีทางลัดแห่งหนึ่ง เวลาฤดูน้ำเรือเล็กๆ ลัดไปได้ เขาไปทางคลองลัดนั้นจึงไปถึงก่อน เมื่อขากลับน้ำลดแล้วหม่อมฉันมาเรือแม่ปะ เมื่อถึงคลองลัดเห็นท้องคลองสูงกว่าระดับแม่น้ำสัก ๕ ศอก หม่อมฉันก็ขึ้นเดินดูคลองลัด ส่งให้เรือล่องลงมารับที่ปากคลองข้างใต้ หม่อมฉันต้องมานั่งรออยู่เกือบชั่วโมงหนึ่งเรือจึงลงมาถึง ก็เกิดเลื่อมใสเห็นว่าถ้าขุดคลองลัดนั้นให้เรือใหญ่ที่บรรทุกสินค้าไปมาได้ ก็จะเป็นประโยชน์มาก เมื่อกลับจากตรวจราชการคราวนั้นแล้วต่อมาเผอิญลูกชาย (กลาง) อิทธิดำรง ซึ่งได้ติดตามหม่อมฉันขึ้นไปด้วยในคราวนั้น ตายลง หม่อมฉันทำบุญอุทิศให้เธอนึกขึ้นถึงคลองลัดที่เมืองชัยนาท จึงมอบเงิน ๑๐ ชั่งให้กรมการจีนคน ๑ (เป็นที่หลวงอะไรลืมเสียแล้ว) ไปคิดอ่านขุดขยายคลองลัดนั้น เมื่อเขาทำสำเร็จหม่อมฉันจึงขนานนามคลองให้เรียกว่า “ลัดเสนาบดี” จำเนียรกาลต่อมาได้ยินเขาเล่าว่า ลัดเสนาบดีกว้างออกจนเรือค้าขายไปเดินทางนั้นหมด ก็ยินดีด้วยสมกับเจตนา ครั้นต่อมาสัก ๒๐ ปี หม่อมฉันขึ้นไปเที่ยวเมืองเหนือในรัชกาลที่ ๖ ล่องลงมาทางนั้นอีกครั้ง ๑ มาถึงจังหวัดชัยนาทเห็น “ลัดเสนาบดี” ก็ตกใจและเกิดความเสียใจด้วยกันทั้ง ๒ สถาน เพราะคลองลัดเสนาบดีกว้างใหญ่กลายเป็นลำแม่น้ำ แต่ลำแม่น้ำทางอ้อมเดิมตื้นกลายเป็นแต่ร่องน้ำ ทำให้วัดวาบ้านช่องที่เคยอยู่ริมแม่น้ำแต่ก่อน กลายเป็นวัดดอนบ้านดอนห่างลำน้ำเห็นแต่หลังคาลิบๆ การทำบุญขุดคลองลัดเสนาบดีออกจะกลายเป็นบาป รอดแต่ที่เป็นเพราะโง่เขลา มิได้มีเจตนาจะให้เสียหายแก่ผู้อื่น และมีท่านผู้อื่นแม้จนพระเจ้าอยู่หัวแต่ปางก่อน ก็ได้เคยทรงสำคัญผิดอย่างเดียวกัน ยกตัวอย่างดังเช่น คลองเตร็ดน้อยที่เมืองนนทบุรี เดี๋ยวนี้ก็กลายเป็นแม่น้ำ ทำให้แม่น้ำเดิมทางบางบัวทองตื้นมากอยู่แล้ว
ยังมีกรณีในเรื่องขุดคลองลัดที่น่าคิดวินิจฉัย หม่อมฉันได้เคยคิดจะชวนให้ท่านทรงพิจารณามานานแล้ว แต่ลืมไปเสียจึงยังมิได้เขียน
คือแม่น้ำตอนหน้าพระบรมมหาราชวัง หรือว่าอีกอย่างหนึ่งตั้งแต่ปากคลองบางกอกใหญ่ขึ้นไปจนปากคลองบางกอกน้อยนั้น มีหลักฐานในพงศาวดารว่า ขุดในรัชกาลสมเด็จพระชัยราชา “ที่ตำบลบางกอก” คำ “บาง” หมายความว่าคลองด้วน จึงมีปัญหาว่าบางกอกนั้นอยู่ตรงไหน และแนวลำน้ำบางกอกนั้นไปทางไหน ลำคลองที่เรียกกันเดี๋ยวนี้ว่าบางกอกใหญ่และบางกอกน้อยนั้นเป็นตัวแม่น้ำเดิม เพิ่งมาเรียกว่าคลองเมื่อคลองลัดบางกอกกลายเป็นแม่น้ำไปแล้ว หม่อมฉันพิจารณาเห็นเพียงว่า “บางกอกเดิม” คงอยู่ในระหว่างคลองบางกอกใหญ่กับคลองบางกอกน้อย อธิบายต่อนั้นยังมืด ยังมี “บาง (ล) ว้า” อยู่ใกล้ๆ กันกับบางกอกอีกตำบลหนึ่ง มีหลักคาดได้เพียงว่าลำน้ำบางว้า คงผ่านไปไม่ห่างวัดระฆังกับวัดอมรินทร์ จึงเรียกชื่อวัดบางว้าใหญ่และวัดบางว้าน้อย แต่ลำน้ำบางว้าจะไปทางไหนก็ยังมืดเหมือนกัน
คำเรียกชื่อว่า น้ำกก น้ำเลา หม่อมฉันคิดเห็นว่าจะหมายเอาป่าต้นกกและต้นเลาที่มีมากในท้องที่นั้นไปพ้องกันเข้า เพราะเมืองเชียงรายอยู่สุดหล้าฟ้าเขียวห่างกับคลองบางกอกมากนักไม่แลเห็นเหตุอันใดอื่นที่จะทำให้ชื่อพ้องกันได้
ขอช่วยตรัสบอกคุณโตว่าหม่อมฉันยินดีด้วยที่ได้รับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์
หมู่นี้กำลังหม่อมฉันต้องแต่งหนังสือ สำหรับแจกงานเมรุให้เจ้าภาพบางราย อยู่ข้างพัวพันอยู่ หนังสือเวรจะต้องสั้นลงบ้างสัก ๒ สัปดาหะ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด