- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวรลงวันที่ ๒๒ ธันวาคม โปรดประทานสำเนาพระนิพนธ์ทรงสันนิษฐานเรื่องพระเชตวัน ซึ่งทรงเรียบเรียงประทานพระองค์เจ้าธานีนิวัตไปด้วยนั้น ได้รับประทานแล้ว เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า แต่อ่านดูก็ไม่เกิดญาณหยั่งเห็นอะไรในเรื่องพระเชตวัน เป็นแต่รู้สึกประหลาดใจในชื่อ ถ้าลงท้าย วัน แล้วก็เป็น ตะ ถ้าลงท้ายว่า พน แล้วก็เป็น ตุ
แต่ในตอนที่ตรัสพรรณนาถึงพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งทรงสร้างสิ่งต่างๆ อย่างพระนครธมนั้น เป็นเหตุที่ทำให้สะดุดใจมากด้วยมาเข้าทางช่างซึ่งใฝ่ใจถึงอยู่
อย่างที่ ๑ ซึ่งทำประตูเป็นหน้าพรหมนั้น ไม่ใช่ถ่ายอย่างที่พระนครธมมาทำ เป็นแต่ตอนเอาความคิดที่ทำหน้าพรหมติดอยู่กับยอดปรางค์ มาทำประกอบกับทรงปรางค์แบบไทยบ้างเท่านั้น
อย่างที่ ๒ ฐานพลับพลาสูง นั่นเอาอย่างที่พระนครธมมาทำเต็มตัว แต่เล็กเตี้ยกว่าที่นั่นมาก
อย่างที่ ๓ ปราสาทพระนครหลวง เคยซนปีนขึ้นไปดู ดูเหมือนมีที่ก่ออิฐเป็นช่องรูปตีนกาเรียงกันเป็นแถว ไปเที่ยวนครธมก็ไม่เห็นที่นั่นทำอย่างนั้นมีอยู่ที่ไหนเลย แต่สงสัยในการที่ได้ซนปีนขึ้นไปดูนั้น เป็นกาลนานมามากแล้ว และเป็นเวลาที่ยังไม่รู้ประสีประสาอะไร อาจจำผิดฝันเอาที่ไหนมาเป็นที่นั่นก็ได้
อย่างที่ ๔ วัดชัยวัฒนาราม ที่ว่าทำอย่างเมรุ หรือว่าทำอย่างปราสาทเขมร ก็ถูกต้องทั้งสองอย่าง เมรุก็ทำอย่างปราสาทเขมร ปราสาทเขมรก็ทำอย่างเมรุ เหตุที่ได้ชื่อว่าเมรุก็เพราะมีลักษณะอย่างเขาพระเมรุ คือมีสิ่งซึ่งเป็นประธานอยู่กลางได้แก่เขาพระเมรุ แล้วมีคดล้อมรอบ ได้แก่เขาสัตบริภัณฑ์อย่างเต็มที แต่ก่อนคงมีเจ็ดชั้นแล้วก็ลดชั้นลง จนไม่มีคดล้อมเลยก็ยังคงเป็นเมรุอยู่นั่นเอง ภายหลังความหมายก็กลายไปว่าเมรุเป็นที่เผาศพ ข้อที่กล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่าที่ซึ่งสร้างวัดชัยวัฒนารามเป็นบ้านเดิมของพระชนนีแห่งพระเจ้าปราสาททอง ส่วนพระยาโบราณเห็นว่าเป็นที่บ้านพระเจ้าปราสาททองนั้นเชื่อว่าเป็นอันเดียวกันนั่นเอง เดิมเป็นบ้านของพระชนนี แล้วทีหลังตกเป็นของพระเจ้าปราสาททองเกิดที่นั่นอยู่ที่นั้น จนได้ราชสมบัติ จึงยกที่นั้นถวายเป็นวัดไม่แตกต่างอะไรกันไปเลย
แค้นใจที่จำถ้วยเบญจคัพย์ ของพราหมณ์เทศันตรีก์ ว่าเป็นโลหะอะไรบ้างไม่ได้ จึงได้สืบเรียนได้ความมา กลายเป็นฉคัพย์ไปเสียฉิบ มีถ้วยทองตั้งกลางภัทรบิฐ มีถ้วยเงินตั้งขวา ถ้วยนากตั้งซ้ายถ้วยเหล็กตั้งหน้า ถ้วยสัมฤทธิ์ตั้งหลัง รวมเป็น ๕ ใบแล้ว ซ้ำมีถ้วยแก้วเป็นใบคำรบที่ ๖ ตั้งที่มุมหลังข้างด้วย ส่วนมุมหลังข้างซ้ายนั้น ตั้งเทวรูปอันเป็นประธานแห่งการพิธีมุมหน้าข้างขวาตั้งกลศ มุมหน้าข้างซ้ายตั้งสังข์ คิดว่าถ้วยแก้วนั้นเป็นของเติมเข้าใหม่ทีหลัง น่าจะเป็นคราวเดียวกันกับเติมบายศรีแก้ว ได้ทราบว่าบายศรีนั้นเดิมทีก็มีแต่ทองกับเงิน จัดเป็นบายศรีซ้ายขวา ที่มุมขวาหลังแห่งภัทรบิฐซึ่งตั้งถ้วยแก้วนั้นเดิมจะตั้งอะไรก็น่าพิศวงอยู่
เรื่องพระแสงอัษฎาวุธก็ได้ถามพระยาอนุมานไป ว่าถ้าเขาได้พบแบบแผนทางอินเดียก็ขอให้เขาบอกให้ทราบด้วย ตามที่ได้ถามไปนั้นก็หวังอยู่ว่า ถ้าเขาไม่ได้พบเขาคงจะไล่เลียงพราหมณ์ศาสตรี แม้ว่าได้ความเขาก็คงจะบอกมาให้ทราบ
ข่าวทางกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๘ มีการพระราชทานเพลิงศพหม่อมเจ้าหญิงกุสุมา เกษมสันต์ ที่สุสานวัดเทพศิรินทร์ ปลูกเมรุเป็นพิเศษลงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ โดยพระกรุณานุเคราะห์ ในฐานะที่ได้เป็นพระอภิบาลมาแต่เมื่อทรงพระเยาว์ เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิง พระราชทานโกศประกอบลองราชวงศ์ แต่ไม่ได้ประกอบเพราะไม่ได้ตั้งค้างวัด เกล้ากระหม่อมไม่ได้ไปในงานนั้น ด้วยขี้มูกขี้ลายยังไหลเปรอะไม่ควรเข้าสมาคม ได้แต่ฝากเครื่องขมาศพให้ลูกไปขมา
อีกเรื่องหนึ่ง ชายไขแสงแต่งงานมีเมียใหม่ พาเจ้าสาวชื่อสุมิตราสุทัศน์ ลูกสาวพระยาวิชิตวงศ์ มาให้รดน้ำที่บ้านคลองเตยเป็นไปรเวตในวันที่ ๒๘ นั้น ได้ปฏิบัติให้ตามประสงค์ของเธอ
เมื่อวันที่ ๒๙ ทำบุญให้หญิงปลื้มจิตรวันตาย ได้เห็นเหตุทำให้สะดุดใจสองอย่าง คือเขาลาถอนข้าวพระอย่างหนึ่งนึกรู้สึกว่านี่มาแต่เซ่นผี ตามความที่เคยนับถือผี กับเห็นพัดรองพระถือมาเล่มหนึ่ง เป็นพัดงานผูกพัทธสีมาวัดปัฏน์ เมืองอุบล รูปในพัดนั้นเป็นเทวดาถ่ายจากพัดของฝ่าพระบาท แต่เปลี่ยนมือให้ถือธรรมจักร คุกเข่าอยู่บนดอกบัว ทำให้นึกไปว่าที่ทำเทวดาไม่มีชื่อเป็นจำเพาะตัวนั้น มาจากการถือผีที่ไม่เป็นตัวเป็นคน พราหมณ์และฝรั่งครั้งโรมันเขาสูงกว่า เทวดาของเขามีชื่อเป็นตัวเป็นตนทั้งนั้น แม้ในสมัยภาณยักษ์ของเรา ซึ่งเข้าใจว่ามาทางมหายานก็มีชื่อ เช่น “อินฺโท โสโม วรุโณ จ” เป็นต้น แต่เราก็ไม่ยักเอาตามที่เรารับเอาไว้ ดูเหมือนเทวดาที่มีชื่อเราจะมีแต่พระอินทร์องค์เดียว
เขาว่าพระยายมราชเจ็บมากเมื่อร่างหนังสือนี้ (วันที่ ๓๐) เสร็จลงก็ได้รับดอกไม้ธูปเทียน เขาบอกว่าถึงอสัญกรรมแล้วเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา จะได้พระราชทานสิ่งใดเป็นพิเศษบ้างยังไม่ทราบ จะกราบทูลให้ทรงทราบได้ต่อในหนังสือเวรฉบับหน้า
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด