- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๒๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๑๔ ธันวาคม นั้นแล้ว
ที่ท่านทรงสืบถามได้พระนามพระพุทธรูปในหอพระน้อยตรงหน้าหอพระสุราลัยพิมานมาทั้ง ๔ องค์นั้นดีนัก เหมือนกับได้ลูกกุญแจไขตู้ได้ความรู้กว้างขวางสว่างต่อไปอีกมาก จะทูลเป็นรายข้อต่อไปนี้
๑) พระพุทธรูปในหอพระน้อย ๔ องค์นั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงสร้างเมื่อยังเป็นกรมเป็นแน่
๒) องค์ที่ทรงพระนามว่า “พระพุทธเจษฎา” กับองค์ที่ทรงพระนามว่า “พระพุทธราชาภิเษก” ๒ องค์นั้น ได้ตั้งในพระมณฑลพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๓ จริงดังในหมายรับสั่ง ถึงขนาดองค์พระจะสูงเกินกว่าที่ตั้งในพระแท่นมณฑล ก็คงทำที่ตั้งข้างนอกเคียงพระแท่นมณฑล และมีเหตุที่จะตั้งด้วยเพราะเวลานั้นยังไม่มีพระชัยประจำรัชกาลที่ ๓ จึงตั้งพระ ๒ องค์นั้นเป็นพระประจำพระองค์
๓) พระนามพระพุทธรูปที่ ๔ องค์นั้น หม่อมฉันเชื่อว่าทูลกระหม่อมทรงตั้งเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ข้อนี้เห็นได้ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ คงจะไม่เอาพระนามกรมมาขนานว่า “พระพุทธเจษฎา” ส่วน “พระพุทธราชาภิเษก” นั้น ก็ส่อให้เห็นว่าเอาเหตุที่ได้ตั้งในมณฑลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นนิมิตที่ตั้งพระนามอย่างนั้น เหตุที่ตั้งพระนามพระพุทธรูปอีก ๒ องค์ว่า “พระพุทธชินราช” และ “พระพุทธชินศรี” นั้น ก็มีเค้าเงื่อน แต่จะรอไว้ทูลอธิบายต่อไปข้างหน้า
๔) พระพุทธรูปฉลองพระองค์ในหอพระสุราลัยพิมาน ๔ องค์นั้น หม่อมฉันก็ได้เคยเห็น แต่ไม่เคยนึกดังตรัสชวนให้คิดวินิจฉัย หม่อมฉันเข้าใจว่าพระพุทธรูป ๒ องค์ที่ตั้งแถวหลังนั้น องค์ ๑ เป็นพระฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ แน่ หม่อมฉันนึกว่าดูเหมือนมีพระนามว่า “พระพุทธจักรพรรดิ” (คงหมายปางเมื่อทรงกระทำพุทธปาฏิหาริย์ทรมานท้าวมหาชมภู) อีกองค์ ๑ ซึ่งตั้งเป็นคู่กันนั้น ก็มีทางสันนิษฐานได้ทางเดียวแต่ว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงสร้างอุทิศถวายแด่สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก เพราะฉะนั้นถึงรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ จึงทรงสร้างพระพุทธจักรพรรดิ ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงสร้าง “พระพุทธนฤมิต” และถึงรัชกาลที่ ๔ ทูลกระหม่อมทรงสร้าง “พระพุทธรังสฤษฏ์” อุทิศถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ก่อนเจริญรอยต่อกันมา (แต่เรื่องพระนามพระฉลองพระองค์ หม่อมฉันจะทูลวินิจฉัยในที่อื่นต่อไปข้างหน้า) หม่อมฉันยังจำได้ว่าเมื่อรัชกาลที่ ๕ เคยมีการปรึกษาเรื่องสร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์ทูลกระหม่อม แต่เห็นกันเป็นยุติว่าในรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสร้างพระบรมรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลก่อนๆ ขึ้นสักการบูชาเช่นเดียวกับเคยสร้างเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์มาแต่ก่อนแล้ว แต่นั้นเรื่องสร้างพระฉลองพระองค์ก็เป็นอันเลิก
ทีนี้จะทูลอธิบายพระนามพระพุทธในหอพระน้อยอีก ๒ องค์ ซึ่งเรียกว่า “พระพุทธชินราช” และ “พระพุทธชินศรี” ต่อไป แต่เป็นวินิจฉัยเนื่องด้วยพระนามพระพุทธองค์อื่นๆ อีกหลายองค์ จะต้องทูลเล่าเรื่องยืดยาวสักหน่อย ครั้งหนึ่งนานมาแล้วหม่อมฉันไปไปเที่ยววัดพระเชตุพน ได้อ่านป้ายงาจารึกพระนามพระพุทธรูปตามวิหารทิศที่ติดไว้กับฐานข้างหน้าพระทุกองค์ สังเกตเห็นว่าสำนวนที่แต่งสร้อยพระนามเป็นทำนอง สำนวนสมเด็จกรมพระปรมานุชิตไม่เก่าถึงเมื่อสร้างวัดพระเชตุพน จึงตรวจดูในสำเนาศิลาจารึกเมื่อรัชกาลที่ ๑ อันพิมพ์สำเนาไว้ในหนังสือ “ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน” ซึ่งได้ความเรื่องพระนามพระพุทธรูปแปลกออกไปดังจะเทียบทูลต่อไปนี้
๑) พระประธานในพระอุโบสถ ในศิลาจารึกว่าเดิมเป็นพระประธานอยู่ในโบสถ์วัดศาลาสี่หน้า เมื่อเชิญมาไว้วัดพระเชตุพน “ถวายพระนามว่าพระพุทธเทวะปฏิมากร”
๒) พระประธานในพระวิหารทิศตะวันออกห้องหลังในศิลาจารึกว่าพระพุทธรูปยืนสูง ๒๐ ศอก ทรงพระนาม (มาแต่เดิม) “พระโลกนาถศาสดาจารย์” เชิญมาแต่วัดพระศรีสรรเพชญกรุงเก่า
พระนามที่จารึกในแผ่นงาว่า “พระพุทธโลกนาถราชมหาสมมตวงศ์องค์อนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร” ดังนี้
๓) พระประธานในวิหารทิศตะวันออกห้องหน้า ในศิลาจารึกว่าพระพุทธรูปหล่อด้วยนาก (เดิม) อยู่ ณ วัดเขาอินเมืองสวรรคโลกเมื่อเชิญมาตั้งเป็นพระประธานวิหารทิศ ถวายพระนามว่า “พระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ์”
พระนามที่จารึกในแผ่นงาว่า “พระพุทธมารวิชัย อภัยปรปักษ์อัครพฤกษโพธิภิรมณ์ อภิสมพุทธบพิตร” ดังนี้
๔) พระประธานวิหารทิศใต้ห้องนอก ในศิลาจารึกว่าพระพุทธรูปเชิญมาแต่กรุงเก่า เมื่อตั้งแล้ว ถวายพระนามว่า “พระพุทธเจ้าเทศนาพระธรรมจักร” ความข้างปลายศิลาจารึกมีว่าพระพุทธรูปองค์นี้ย้ายไปไว้ยังวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ และเชิญพระพุทธอันทรงพระนามว่าพระพุทธชินราชมาจากเมืองสุโขทัยประดิษฐานไว้แทน
พระนามจารึกในแผ่นงาว่า “พระพุทธชินราช วโรภาษธรรมจักรอัครปฐมเทศนา นราสภาบพิตร” ดังนี้
๕) พระประธานวิหารทิศตะวันตกห้องนอก ในศิลาจารึกว่าเชิญมาแต่เมืองลพบุรีทำเป็นนาคปรก แล้วถวายพระนามว่า “พระนาคปรก” แต่เมื่อภายหลังย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ไปไว้ ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุและเชิญพระพุทธรูปทรงพระนามว่า พระพุทธชินศรีจากเมืองสุโขทัยมาตั้งแทน
พระนามจารึกในแผ่นงาว่า “พระพุทธชินศรีมุนีนาถ อุรุศอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกบพิตร”
๖) พระประธานวิหารทิศเหนือห้องนอก ในศิลาจารึกว่าหล่อใหม่ (ในกรุงเทพ ฯ) ถวายพระนามว่า “พระป่าเลไลย”
พระนามในจารึกแผ่นงาว่า “พระพุทธปาลิลัย ภิรัติไตรวิเวกเอกจาริกสมาจาร วิมุติญาณบพิตร” ดังนี้
๗) พระประธานในโบสถ์เก่าที่เปลี่ยนเป็นการเปรียญไม่กล่าวถึงในศิลาจารึกรัชกาลที่ ๑ แต่มีป้ายงาจารึกพระนามว่า “พระพุทธศาสดา มหากรุณาธิคุณ สุนทรธรรมทาน บุราณสุคตบพิตร” ดังนี้
เมื่อสอบเทียบดูดังทูลมาก็เห็นชัดว่าสร้อยพระนามตามที่จารึกแผ่นงานั้นเป็นของแต่งขึ้นเมื่อภายหลังรัชกาลที่ ๑ แต่แรกหม่อมฉันคิดว่าคงแต่งขึ้นเมื่อครั้งปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน ในรัชกาลที่ ๓ แต่เมื่อไปตรวจดูในโคลงของสมเด็จกรมพระปรมานุชิต ซึ่งทรงพรรณนารายการปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นถ้วนถี่อย่างยิ่ง เมื่อว่าถึงพระวิหารทิศยังเรียกพระนามพระพุทธรูปดังจารึกในรัชกาลที่ ๑ และรายการปฏิสังขรณ์ในพระวิหารพรรณนาแต่อย่างอื่น หากล่าวถึงเพิ่มพระนามพระพุทธรูปไม่ ถ้าหากต่อสร้อยพระนามพระพุทธรูปในครั้งนั้นคงไม่ทรงนิ่งเสีย
เพราะฉะนั้นจึงมีปัญหาว่าสร้อยพระนามพระพุทธรูปที่วัดพระเชตุพนจะต่อขึ้นเพื่อใด ข้อนี้หม่อมฉันพิจารณาดูเห็นว่าน่าจะต่อในรัชกาลที่ ๔ ด้วยทูลกระหม่อมทรงอาราธนาสมเด็จกรมพระปรมานุชิตให้ทรงพระนิพนธ์สร้อยพระนาม แล้วโปรดให้จารึกลงแผ่นงาติดไว้ที่ฐานข้างหน้าพระพุทธรูปนั้นๆ ข้อที่จะอ้างเป็นหลักฐานของความเห็นเช่นว่า คือ
๑) พระประธานในโบสถ์เก่าซึ่งแปลงเป็นการเปรียญ ไม่กล่าวถึงพระนามทั้งในศิลาจารึกและโคลงของสมเด็จกรมพระปรมานุชิต แต่มีป้ายงาจารึกพระนามติดอยู่ที่ฐานว่า “พระพุทธศาสดา มหากรุณาธิคุณ สุนทรธรรมทาน บุราณสุคตบพิตร” ดังนี้ ที่ใช้นามพระศาสดาคงเป็นเพราะมีพระพุทธชินราช และพระพุทธชินศรีที่พระวิหารทิศแล้ว จึงขนานนามพระศาสดาขึ้นให้มีครบชุด
๒) ที่ในวิหารพระโลกนาถมีรูปจำหลักด้วยศิลาอ่อนทำเป็นเด็กแต่งเครื่องอาภรณ์ ติดฝาผนังไว้ ๒ ข้างพระพุทธรูปเล่ากันมาว่า เมื่อสร้างวัดพระเชตุพนนั้นเจ้าจอมแว่นพระสนมเอกผู้เป็นราชูปถาก ซึ่งเจ้านายลูกเธอเกรงกลัวเรียกกันว่า “คุณเสือ” อีกนาม ๑ กราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ว่าอยากจะทำบุญอธิษฐานขอให้มีลูกจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำรูปเด็ก ๒ รูปขึ้นเป็นอย่างเครื่องประดับพระวิหาร ก็เหตุที่สร้างรูปเด็กนั้นเป็นความในรู้กันแต่คนใกล้ชิดไม่ประกาศเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบในสมัยนั้น แต่ไฉนจึงมามีศิลาจารึกโคลงติดผนังไว้ข้างใต้รูป ถ้อยคำโคลงว่ากระไรหม่อมฉันลืมเสียมากแล้ว เวลาเขียนจดหมายนี้ยังจำได้แต่บาทสามบท ๑ ว่า “คุณเสือ แสวงบุตร” โคลงนั้นหม่อมฉันสังเกตได้ว่าเป็นสำนวนสมเด็จกรมพระปรมานุชิต จึงเห็นว่าเมื่อทูลกระหม่อมทรงอาราธนาสมเด็จกรมพระปรมานุชิตให้ต่อสร้อยพระนามพระพุทธรูปนั้น คงทรงอาราธนาให้ทรงแต่งโคลงสำหรับรูปเด็กเพื่อจะรักษาเรื่องที่สร้างไว้มิให้สูญเสีย สมเด็จกรมพระปรมานุชิตก็เคยรู้จัก และเคยเรียกเคยกลัวคุณเสือมาแต่ยังทรงพระเยาว์ ถ้าหากไม่มีโคลงเรื่องคุณเสืออยู่ด้วย หม่อมฉันจะเข้าใจว่าสร้อยพระนามพระพุทธรูปเหล่านั้นเป็นพระราชนิพนธ์ทูลกระหม่อมทรงต่อเอง เพราะยังมีพระพุทธรูปองค์อื่นและอยู่ที่อื่นซึ่งมีแผ่นงาจารึกติดไว้ที่ฐานอีกหลายองค์ หม่อมฉันให้ไปเที่ยวตรวจคัดสำเนามารวมลงพิมพ์ไว้ในหนังสือ “ตำนานพระพุทธรูปสำคัญ” ซึ่งพิมพ์แจกงานหน้าพระศพพระองค์นารีรัตนา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ ถวายมาทอดพระเนตรต่อไปนี้
๑) พระประธานวัดสุวรรณาราม “พระศาสดา” (น่าจะขนานพระนามแต่ในรัชกาลที่ ๑ ด้วยได้มาพร้อมกับพระชินราชพระชินศรีเมืองสุโขทัย ที่ตั้งในวิหารทิศวัดพระเชตุพน)
๒) พระประธานวัดอรุณ “พระพุทธธรรมมิศรราช
๓) พระประธานวัดราชโอรส “พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร”
๔) พระประธานวัดสุทัศน์ “พระพุทธตรีโลกเชฏฐ”
๕) พระยืนในวิหารวัดสระเกศ “พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร”
๖) พระประธานวัดราชนัดดา “พระเสรฐตมมุนี”
๗) พระประธานวัดเฉลิมพระเกียรติ “พระพุทธมหาโลกาภินันท์”
๘) พระประธานวัดบรมนิวาส “พระทศพลญาณ”
๙) พระประธานวัดพิชัยญาติ “พระสิทธารถ”
๑๐),๑๑) พระเจ้าแพนงเชิงกับพระโตวัดกัลยาณมิตรถวายพระนามเดียวกันว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” ความมาแต่ที่จีนเรียกว่า “สามปากง”
พระนามพระพุทธรูปที่แสดงมาเห็นว่าทูลกระหม่อมทรงพระราชนิพนธ์โดยมาก ด้วยการขนานนามดูเป็นการโปรดอย่าง ๑ ตลอดจนนามวัดก็ทรงพระราชนิพนธ์เปลี่ยนแปลงมาก เช่นเปลี่ยนนามวัดไทรทองว่า “วัดเบญจบพิตร” และวัดเจ้ากรับเป็น “วัดสัมมัชผล” เป็นต้น
คราวนี้ถึงข้อขำที่หม่อมฉันอยากจะทูลถามต่อไป หม่อมฉันนึกว่าพระพุทธรูปสำคัญที่มีพระนาม แต่ไม่ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์อื่นได้ถวายพระนามมาแต่ก่อน เช่น “พระศรีสากยมุนี” ก็ดี พระพุทธรูปฉลองพระองค์ในหอพระสุราลัยพิมานก็ดี ทูลกระหม่อมจะถวายพระนามดอกกระมัง ขอให้ทรงพระดำริดู แต่พระชินราชและพระชินศรีในหอพระน้อยนั้น หม่อมฉันคิดเห็นว่าเพราะเป็นพระคู่กัน แตไม่มีเหตุสำคัญพอที่ทรงคิดพระนามอื่น เช่น “พระพุทธเจษฎา” และ “พระพุทธราชาภิเษก” จึงเอาพระนามพระชินราชพระชินศรีมาขนานเท่านั้น
หม่อมฉันส่งสำเนาวินิจฉัยเรื่องปากน้ำแม่กลองที่เขียนให้พระองค์เจ้าธานีมาถวายท่านทรงด้วยพร้อมกับจดหมายฉบับนี้
เขียนร่างมาเพียงนี้ถึงเวลาเที่ยงวันพฤหัสบดี ต้องหยุดให้เขาไปดีดพิมพ์ทิ้งไปรษณีย์
ป.ล. เมื่อส่งจดหมายฉบับนี้ไปดีดพิมพ์แล้ว หม่อมฉันไปค้นในหนังสือราชสกุลวงศ์ เห็นจะได้เหตุที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงสร้างพระพุทธรูปในหอพระน้อย ๒ องค์ ที่ทรงพระนามว่า พระพุทธชินราชกับพระพุทธชินศรีนั้นแล้ว คือมีพระเจ้าน้องเธอร่วมสมเด็จพระชนนี ๒ พระองค์ ทรงพระนามว่า พระองค์หญิงป้อมพระองค์ ๑ พระองค์ชายดำ พระองค์ ๑ สิ้นพระชนม์เสียแต่ในรัชกาลที่ ๑ ทั้ง ๒ พระองค์