- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๘ ธันวาคม ได้รับประทานแล้ว ในลายพระหัตถ์ฉบับนั้น ตรัสแสดงพระดำริในเรื่องประเพณีการศึกษาของชาวเรา เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกในตัวอย่างบางประการ ดังจะได้กราบทูลเป็นข้อร่วงๆ ดังต่อไปนี้
การส่งเด็กไปฝากเรียนในสำนักผู้รู้ผู้หลักนั้น เห็นจะเป็นประเพณีที่ทำมาเหมือนกันทุกชาติทุกภาษา ทางพราหมณ์แบ่งวัยเป็นสามภาค เราย่อมรู้กันอยู่ซึมซาบดี วัยแรกเรียกปฐมวัยว่าควรแก่การเล่าเรียน วัยกลางเรียกมัชฌิมวัยว่าควรแก่การครองเรือน วัยหลังเรียกปัจฉิมวัยว่าควรแก่การออกบวช แต่ก็เห็นจะตั้งไว้เป็นแนวว่าควรเช่นนั้น จะเป็นไปอย่างนั้นทุกตัวคนเห็นจะไม่ได้
การที่เอาเด็กไปฝากเรียนนั้น เป็นการแลกกันที่ฝ่ายเด็กให้แรงแก่ครู ครูให้วิชาแก่เด็ก ที่มากลายเป็นโรงเรียนสอนวิชาแก่เด็กและเด็กเสียเงินแทนแรงนั้น เป็นการถ่ายทอดมาทำทีหลังเพื่อความสะดวก
หนังสือ ถึงจะได้มีมาแต่ก่อนนานแล้วก็จริง แต่ท่านไม่นับถืออาจารย์ ไม่เอาใจใส่ให้เด็กเรียนหนังสือ ท่านนับถือการท่องจำเป็นสำคัญ การสอนในเมืองเราที่อย่างยิ่งยวดท่านก็บอกด้วยปากให้เด็กท่อง เรียกว่า “ต่อหนังสือค่ำ” นึกถึงเมื่อบวชอยู่ เสด็จอุปัชฌาย์ท่านจะให้ท่องจำสิ่งใด ท่านเขียนลายพระหัตถ์ลงในกระดานชนวนประทานมาให้ท่อง เมื่อท่องจำได้แล้วก็นำกระดานชนวนขึ้นไปถวายท่านทรงรับไปแล้วก็ตรัสสั่งให้ว่าปากเปล่าถวาย ทรงฟังเห็นถูกต้องแม่นยำแล้วก็ทรงลบลายพระหัตถ์เสีย นี่เป็นวิธีที่ถัดลงมาหน่อยหนึ่งนึกถึงประเพณีทางอินเดีย สังคายนาทำกันมากี่คราวก็ว่ากันไปด้วยปากตามความจำทั้งนั้น มาเขียนเป็นหนังสือลงลานกันต่อทีหลัง แม้การสวดปาติโมกข์หรือประกาศพิธีตรุษก็ใช้ว่าด้วยปากตามความจำแต่มีท่านผู้หนึ่งดูหนังสือสอบ นี่แสดงว่าความจำย่อหย่อนลงไปแล้ว พวกนักปราชญ์ฝรั่งเขาไปค้นหาไตรเพทเพื่อจะตีพิมพ์ไว้ให้เป็นหลักฐาน เขาออกปากว่าฉบับหนังสือที่หาได้นั้นผิดเลอะ สู้มุขปาฐะไม่ได้ ต้องไปเชิญท่านผู้รู้มาแสดงมุขปาฐะสอบแก้หนังสือจึงได้ผลสำเร็จ ข้อนั้นก็ไม่ประหลาดเลย เสมียนเขียนไตรเพทเป็นผู้ไม่ได้เรียนไตรเพท เมื่อคัดลอกอ่านต้นฉบับผิดทีไรก็เขียนผิดทีนั้น แล้วลอกกันต่อไปก็ยิ่งผิดไปอีก อย่างคำที่เราพูดกันว่าตำรายาลอกสามทีแล้วกินตายฉะนั้น
การบวชเณรเห็นทำกันอยู่ในพระมหานครเป็นสองอย่าง บวชเณรโดยจำเพาะอย่างหนึ่ง บวชเณรแล้วบวชพระติดกันอีกอย่างหนึ่ง อย่างก่อนทำกันสองต่อสองระหว่างผู้บวชกับอุปัชฌาย์เท่านั้น อย่างหลังทำในสังฆมณฑล เห็นจะเป็นด้วยการบวชพระนำไป เพราะการบวชพระนั้นประกอบด้วย “กรรม” ต้องทำในสังฆมณฑล แต่พระองค์เจ้าทรงผนวชเณรทำในสังฆมณฑล เห็นจะเป็นด้วยมีงานปนกันไปกับเจ้านายที่ทรงผนวช ครั้นมีแต่เจ้านายที่ทรงผนวชเณร ก็เลยเป็นธรรมเนียมที่ทำในสังฆมณฑลไปตามเคย คิดว่าอุปสมบทกรรมนั้นไม่จำเป็นที่อุปัชฌาย์จะต้องเข้าไปนั่งอยู่ในสังฆมณฑลด้วย ไม่เช่นนั้นจะต้องถามทำไมว่า “โก นาม เต อุปชฺฌาโย” เห็นว่าถามก็เพื่อจะใคร่ทราบว่าบวชเณรมาแต่สำนักไหน
ในเรื่องรับศีลตามที่กราบทูลมาก่อนนั้น โดยได้ฟังพระมหาเถรท่านบ่น ด้วยท่านถูกนิมนต์ไปงานบ้านบ่อยๆ ไปทีไรก็ต้องไปให้ศีลซ้ำซากอยู่เป็นพิธีนั้นเป็นเหตุ เป็นการพูดกันนานมาแล้ว ไม่ใช่ท่านได้สังเกตเกิดความเห็นขึ้นแต่การที่สำคัญอันใด และไม่ใช่ทางที่ท่านได้คิดปรับปรุงด้วย ว่าการอันใดควรให้ศีลและการอันใดไม่ควรให้ศีล
ข่าวเมืองไทยในเวลานี้ มีสำคัญที่สุดก็คือ เรื่องไฟไหม้พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ซึ่งฝ่าพระบาทคงจะได้ทรงทราบแล้ว ด้วยหนังสือพิมพ์เขาลงกันอยู่อึกทึกครึกโครม จะไหม้ด้วยอะไรก็ไต่สวนกันยังไม่ได้ความ สงสัยกันอยู่อย่างหนึ่งว่าไหม้ด้วยเจ๊กซ่อมสีเอาไฟโฟ่เผาสีเก่า แต่เกล้ากระหม่อมเห็นว่าอย่างนั้นจะเป็นไปไม่ได้ ด้วยธรรมดาไฟไหม้ถ้าได้เห็นเสียแต่แรกแล้วก็ดับได้ ถ้าไม่เห็นจนไฟท่วมหลังคาแล้วนั่นแหละจึงดับไม่ได้ เจ๊กมันเผาสีมันก็ดูไฟของมันอยู่ ถ้าไฟไหม้สิ่งที่ไม่ต้องการให้ไหม้มันก็คงดับ หรือจะว่าชาติเจ๊กตื่นไฟมันก็คงร้องแรกเป็นโอกาสที่คนจะช่วยกันดับไม่ไหม้มากไปได้ พยานสำคัญที่ว่าไฟไม่ได้ไหม้ด้วยเจ๊กเผาสีมีอยู่ ที่ไฟไหม้เวลาเที่ยงเศษ อันเป็นเวลาที่เจ๊กหยุดงานไปกินข้าวไม่มีใครทำงาน ไม่ได้เผาสี ไฟจะไหม้ด้วยการเผาสีหาได้ไม่
ในเรื่องนี้ ทีแรกได้เห็นหนังสือพิมพ์ลงข่าว เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๐ เดือนนี้ก่อน ว่าผู้ส่งข่าวที่บางปะอินบอกมาเมื่อวันที่ ๙ ว่าไฟไหม้พระราชวังบางปะอิน ตั้งแต่เวลาเที่ยงเศษจนบ่าย ๓ โมง อันติดกับเวลาที่บอกมาก็ยังเอาไว้ไม่อยู่ แต่ก็หามีกล่าวไม่ว่าไหม้สิ่งไร ทำเอาใจวับๆ หวามๆ รุ่งขึ้นก็เป็นวันอาทิตย์หนังสือพิมพ์ไม่มี ไม่ได้ทราบข่าวอะไรต่อไป แต่มีพวกพ้องมาโห่ว่าไหม้พระที่นั่งเวหาศจำรูญ ทำเอาตกใจเป็นอันมาก ด้วยพระป้ายประดิษฐานอยู่ที่นั่น ได้สอบถามตามที่หลุดปากออกไปเอง ว่าเชิญพระป้ายหนีไฟออกมาได้หรือไม่ ผู้บอกข่าวก็บอกไม่ได้ จนถึงวันจันทร์ที่ ๑๑ มีหนังสือพิมพ์ออก จึงได้เห็นข่าวว่าไหม้พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ทำให้เบาใจที่พระที่นั่งองค์นั้นมิได้เกี่ยวกับพระป้าย แต่ก็เสียใจเป็นล้นพ้น ด้วยพระที่นั่งองค์นั้นเห็นจะเก่าแก่กว่าองค์ไหนหมดซึ่งมีอยู่บัดนี้ และทำโดยฝีมืออย่างประณีตด้วย ทั้งเป็นสิ่งซึ่งเป็นประธานอยู่ในพระราชวังนั้นบรรดาถนน ชาลา ไพที อันประกอบด้วยสวนก็ทำเข้าหาพระที่นั่งองค์นั้นทั้งสิ้น เมื่อไม่มีพระที่นั่งองค์นั้นก็เป็นอันขาดประธานไปเสียทีเดียว ที่หนังสือพิมพ์ลงว่าขนของหนีไฟออกมาได้แต่งาช้างขอนหนึ่ง กับธารพระกรองค์หนึ่งนั้น งาช้างขอนหนึ่งเป็นถูกต้องแล้ว แต่ธารพระกรนั้นยังเคลื่อนคลาด ที่แท้ว่าเป็นที่พระสุธารสร้อนทำด้วยทองคำ
ในเรื่องนี้เป็นแน่ว่า ฝ่าพระบาทก็จะต้องเสียพระทัยมากไปกว่าเกล้ากระหม่อมเสียอีก
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด