- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
เมื่อคราวรถด่วนวันอาทิตย์ที่ ๑๑ นี้ ชาย (ใหม่) อาชวดิศออกมาถึงปีนัง หม่อมฉันไปรับที่ท่าเรือ เมื่อขึ้นรถยนต์มาด้วยกันเธอบอกว่า “เวลานี้เสด็จอาประชวร” หม่อมฉันได้ฟังก็ตกใจ ถามเธอทันทีว่าประชวรเป็นอะไร เธอตอบว่าเป็นบรอนไคติซอย่างแรงหม่อมฉันก็ค่อยคลายวิตก บอกเธอว่าบรอนไคติซนั้นเป็นโรคประจำพระองค์ของท่าน ถ้าถูกอากาศหนาวร้อนสับสนกันมักเคยประชวรโรคนั้นมาแต่ก่อน แต่ท่านทรงปฏิบัติการรักษาพระองค์ดี เห็นจะไม่ประชวรมากมายอะไรดอก พอรุ่งขึ้นวันจันทร์ที่ ๑๒ พนักงานไปรษณีย์เขาเอาลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๑๐ มาส่ง อ่านก็ได้ความว่าเป็นดังคาดหวังใจว่าเมื่อทรงรับจดหมายเวรของหม่อมฉันฉบับนี้จะทรงสบายแล้ว
ที่ท่านไม่เสด็จไปงานประชุมในการสโมสรที่เขาเชิญนั้น หม่อมฉันคิดเห็นว่าสมควรถึง ๒ สถาน สถาน ๑ ไม่ควรจะทรมานพระองค์เมื่อพระชันษาถึงเท่านี้ อีกสถาน ๑ คนชั้นเราเข้าไปนั่งในประชุมที่คนหนุ่มเขาสนุกสนาน ดูไปเป็นหลักปักกีดสายน้ำอยู่เปล่าๆ ที่ปีนังนี้หม่อมฉันก็ขอตัวไม่เข้าประชุมสโมสร แต่หม่อมฉันอ้างว่าเพราะหูตึง จะพูดจากับใครทำให้เขาต้องตะโกน หรือต้องพูดซ้ำถึงสองครั้งสามครั้ง นึกละอายใจ แต่อาการหูตึงตามที่ตรัสมาว่าถ้ายิ่งแก้ยิ่งตึงหนักขึ้น สู้ปล่อยตามบุญตามกรรมไม่ได้นั้น หม่อมฉันเห็นพ้องด้วยตามเคยสังเกตมาก็เป็นเช่นนั้น แต่หม่อมฉันสังเกตได้อีกอย่างหนึ่งว่า เกี่ยวกับเส้นประสาทด้วย เช่นเวลาฟังคดีอันใดที่มี Excitement หูตึงหนักขึ้น ถ้าเป็นสมาธิอยู่เฉยๆ ได้ยินถนัดขึ้น ดังนี้
ที่ตรัสถามอธิบาย “พระอุณาโลมทำแท่ง” นั้นหม่อมฉันจะทูลตามที่จำได้ในเวลานี้ แต่ที่ปีนังไม่มีอะไรจะสอบความทรงจำ อาจจะพลาดพลั้งหลงลืมไปได้บ้าง เดิมเมื่อหม่อมฉันยังเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยลงไปตรวจราชการ ณ เมืองนครศรีธรรมราช ถามเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม ณ นคร) เมื่อยังเป็นพระยานครฯ ถึงหนังสือท้องบัตรใบตราของเก่าที่รักษาไว้ (หม่อมฉันถามเช่นนั้นทุกเมือง ในเวลาไปตรวจราชการครั้งแรก) หนังสือชนิดนั้นที่เมืองนครฯ มีมากและเขาเก็บรักษาดีด้วย ในพวกหนังสือเก่าที่เจ้าพระยาสุธรรมมนตรีขนมาให้ดูนั้นมีสมุดไทยมัด ๑ แก้ออกอ่านดูเป็นจดหมายรายการเรื่องตั้งเจ้าเมืองเริ่มแต่ครั้งพระเจ้าบรมโกศทรงตั้งพระราชภักดีเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาลงมาจนตั้งเจ้าพระยานครฯ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สังเกตดูรายการเมื่อครั้งพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้เจ้านคร (คนที่เป็นหลวงนายสิทธิ์ครั้งกรุงเก่า) กลับออกไปครองเมืองนครและทรงตั้งเป็น “พระเจ้าขัณฑสีมา” นั้นแปลกมาก คือมีข้าหลวงและกระบวนแห่เชิญ “พระราชโองการ” (มีคำว่าอะไรให้หม่อมฉันเข้าใจว่าที่เรียกพระราชโองการนั้นเป็นแท่งครั่งประทับพระราชลัญจกรนั้น นึกไม่ออกในเวลานี้) กับสุพรรณบัฏลงไปทางบกเกณฑ์หัวเมืองปลูกตำหนัก “รับเสด็จพระราชโองการ” ไปทุกระยะ เมื่อไปถึงที่พักเชิญพระราชโองการขึ้นประดิษฐานไว้บนตำหนักตัวข้าหลวง (กับข้าราชการในท้องที่ๆ ผ่านไป) พร้อมกันเข้าเฝ้าถวายบังคมราชโองการเช้าครั้ง ๑ เย็นครั้ง ๑ และประโคมกลองชนะทุกยามเหมือนกระบวนเสด็จ เมื่อข้าหลวงมอบสุพรรณบัฏแก่พระเจ้านครแล้ว เชิญพระราชโองการแห่กลับเข้ามาเหมือนอย่างเมื่อขาไป จนถึงกรุงธนบุรี พิเคราะห์ดูเหมือนหนึ่งสมมตว่าแท่งพระราชโองการนั้นต่างพระองค์พระเจ้าแผ่นดิน สำหรับใช้ในการตั้งเจ้าประเทศราชมาแต่โบราณ เพราะปรารถนาจะให้เจ้าประเทศราชถวายบังคมแสดงเป็นข้าขอบขัณฑสีมาต่อหน้าธารกำนัลในเมืองของตน จึงเกิดมีพระอุณาโลมทำแท่งขึ้นสำหรับพิธีนี้ คิดไม่เห็นว่าจะมีที่ใช้อย่างใดอื่น รายการที่ได้มาจากเมืองนครฯ หม่อมฉันได้ให้พิมพ์ไว้ในหนังสือ “เทศาภิบาล” ซึ่งกระทรวงมหาดไทยออกรายเดือนเรียกว่า “เรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช” ถ้าท่านจะใคร่ทรงพิจารณาจงตรัสยืมหนังสือนั้นที่หอพระสมุดวชิราวุธก็เห็นจะได้ พระราชลัญจกรดวงใหญ่สำหรับครั่งก็มี แต่จะเป็นมหาอุณาโลมหรือพระครุฑพ่าห์ หม่อมฉันจำไม่ได้ชัด ถ้าดวงที่มีอยู่เป็นพระครุฑพ่าห์ หม่อมฉันนึกว่าแต่ครั้งกรุงเก่าจะใช้ตราอุณาโลม และอาจจะทำอย่างนั้นใช้เมื่อครั้งกรุงธนบุรี มาเปลี่ยนเป็นรูปพระครุฑพ่าห์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ยังมีเรื่องประกอบทราบมาทางอื่นต่อไป พบในหนังสือชวเลียเดอโชมอง อัครราชทูตฝรั่งเศสแต่ง เล่าเรื่องที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวว่าในการรับทูตฝรั่งกับไทยผิดกัน ประเพณีฝรั่งถือว่าตัวทูตเป็นใหญ่ ราชสาส์นเป็นแต่หนังสือแสดงตัวทูต แต่ประเพณีไทยถือว่าพระราชสาส์นเป็นใหญ่ ตัวทูตเป็นแต่ผู้เชิญพระราชสาส์น แล้วพรรณนาการรับรองต่อไป ว่าไทยจัดเรือยาวเป็นกระบวนแห่ลงไปรับที่เมืองสมุทรปราการ เรือลำเอกเป็นเรือรับพระราชสาส์นนำมาก่อน แล้วเรือลำโทซึ่งรับราชทูตพายตามมา เมื่อถึงที่พักแรม เจ้าพนักงานไทยเชิญพานพระราชสาส์นมีพระกลดกั้นไปก่อน แล้วตัวราชทูตจึงเดินตามไป สัปทนกั้นเป็นเครื่องยศแต่คนเดียว เมื่อถึงที่พักเชิญพระราชสาส์นขึ้นตั้งแล้วพวกข้าราชการไทยพากันไปถวายบังคมพระราชสาส์น ราชทูตฝรั่งเศสปรารภว่า ครั้งนั้นบาทหลวงลับเบเดอชัวสีก็ได้มียศเป็นทูตทางศาสนา สมควรจะได้รับเกียรติยศยกย่องบ้าง ถึงวันหลังเมื่อจะเคลื่อนกระบวนต่อไป ราชทูตฝรั่งเศสจึงเข้าไปยกพระราชสาส์นมาส่งให้ลับเบเดอชัวสีเชิญลงเรือ ชาวเครื่องก็ต้องเชิญพระกลดกั้นพระราชสาส์นเหมือนกับกั้นให้ลับเบเดอชัวสีด้วย เรื่องนี้ส่อให้เห็นว่า สมมตพระราชสาส์นแทนพระองค์พระเจ้าแผ่นดินต่อประเทศที่เสมอกัน
ถึงประเพณีราชทูตไทยเชิญพระราชสาส์นไปยังประเทศอื่นตามประเพณีเดิมก็ไม่ใช่ง่าย ด้วยถือว่าต้องไปด้วยพาหนะของประเทศนี้จนถึงแดนประเทศโน้นๆ จึงจัดพาหนะรับต่อไปจนถึงราชสำนัก ดังเช่นไปเมืองจีนราชทูตต้องเชิญพระราชสาส์นไปจากกรุงเทพฯ ด้วยเรือสำเภาหลวงของไทยไปจนถึงเมืองกึงตั๋ง Canton รัฐบาลจีนจึงรับเป็นแขกเมืองส่งไปยังกรุงปักกิ่ง มีกรณีปรากฏในจดหมายเหตุของพวกฝรั่งฮอลันดา ว่าเมื่อรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าออเรนช (Prince of Orange) ซึ่งครองประเทศฮอลแลนด์ แต่งราชทูตเชิญพระราชสาส์นมาเจริญทางราชไมตรี และคุมปืนใหญ่มาถวายเป็นราชบรรณาการชุด ๑ สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระราชปรารภจะให้ราชทูตเชิญพระราชสาส์นและราชบรรณาการไปตอบแทนสนองทางพระราชไมตรี แต่ขัดข้องด้วยประเทศฮอลันดาอยู่สุดหล้าฟ้าเขียวไม่มีเรือไทยที่ไปถึงได้ จึงตกลงกับฮอลันดาทำวินัยกรรม ให้ราชทูตไปด้วยเรือหลวงของไทยเพียงเมืองบันตัม (Bantam) ที่เกาะชวาอันเป็นอาณาเขตของฮอลันดา ฮอลันดารับลงเรือกำปั่นหลวงไปจนถึงประเทศฮอแลนด์ เป็นครั้งแรกที่ราชทูตไทยถึงยุโรป ต่อมาถึงรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดให้ราชทูตไทยไปประเทศฝรั่งเศสครั้งแรกก็ให้เรือกำปั่นหลวงของไทยรับไปส่งที่เมืองปอนดิเชอรี (Pondicherry) อันเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสอยู่ที่อินเดีย รัฐบาลฝรั่งเศสเอาเรือรับต่อไป แต่เรือลำนั้นไปแตกด้วยถูกพายุที่ใกล้เกาะมะดะคัสคา คนที่ไปในเรือตายหมด ในกรุงศรีอยุธยาคอยข่าวทูตหายไป จึงแต่งข้าหลวง ๒ คนถือศุภอักษร เจ้าพระยาพระคลังโดยสารเรือพ่อค้าไปสืบถึงเมืองฝรั่งเศส แต่คนทั้ง ๒ เป็นแต่ข้าหลวงถือศุภอักษรเสนาบดีไป มิใช่ราชทูต พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จึงโปรดให้เฝ้าในเวลาเสด็จทรงพระดำเนินผ่านและหยุดปราศรัย แล้วแต่งให้มองสิเออร์เดอโชมองกับบาทหลวงลับเบเดอชัวสีเป็นราชทูตพาข้าหลวง ๒ คนนั้นมาส่งด้วย เมื่อมองสิเออร์โชมองกลับ สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้ออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) เป็นราชทูตเชิญพระราชสาส์นไปสนองทางพระราชไมตรี คราวนี้ย่นวินัยกรรมเข้ามา ถือว่าในเรือกำปั่นรบก็เป็นราชอาณาเขต จึงโปรดให้คณะทูตคราวโกษาปานไปด้วยกันกับมองสิเออร์เดอโชมอง ขากลับโกษาปานก็มากับคณะทูตฝรั่งเศสคราวมองสิเออร์เดอลาลูแบ ซึ่งพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แต่งมาครั้งหลัง กรณีที่กล่าวมานี้ มาเกิดขึ้นอีกในรัชกาลที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ให้เซอร์จอนเบาริงเป็นราชทูตเชิญพระราชสาส์นกับเครื่องราชบรรณาการมาเจริญทางพระราชไมตรี ความปรากฏในหนังสือซึ่งเซอร์จอนเบาริงแต่งเรื่องมาเมืองไทย ว่าครั้งนั้นทูลกระหม่อมทรงปรารภกับเซอร์จอนเบาริง ว่าจะใคร่ให้ราชทูตเชิญพระราชสาส์นไปสนองทางพระราชไมตรีถึงประเทศอังกฤษ แต่ไม่มีเรือกำปั่นหลวงที่จะไปให้ถึงยุโรปได้ ความส่อว่าทูลกระหม่อมคงทรงชี้แจงประเพณีการส่งทูตแต่โบราณให้เซอร์จอนเบาริงทราบ รัฐบาลอังกฤษจึงให้เรือรบมารับและส่งคณะทูตคราวพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) และรัฐบาลฝรั่งเศสก็ให้เรือรบมารับและส่งคณะทูตคราวพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) คือทำตามประเพณีอย่างครั้งสมเด็จพระนารายณ์นั่นเอง
ปัญหาเรื่องเครื่องตั้งพระแท่นมณฑลที่ตรัสถามต่อพระอุณาโลมทำแท่งมานั้น เรื่องพระเต้าปทุมนิมิตทองสัมฤทธิ์ หม่อมฉันนึกว่า “นาก” และ “ทองสัมฤทธิ์” น่าจะมาแต่มูลอันเดียวกัน คือ “โลหะ” หลายอย่างประสมกัน จึงเอาเข้าเป็นชุดกับทองและเงินอันเป็นโลหะอย่างเดียวบริสุทธิ์ ภายหลังมาอาจจะประสมให้สีคล้ายทองได้ จึงเรียกว่านาก ที่มิใช่นากคงเรียกว่า “สัมฤทธิ์” ไม่เลือกว่าสีจะเป็นอย่างไรวินิจฉัยเฉพาะพระเต้าปทุมนิมิต หม่อมฉันว่าต้องตรวจดูพระเต้านั้นให้รู้ความข้อต้นก่อน ว่าเป็นของโบราณหรือเป็นของทำใหม่ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ถ้าเป็นของโบราณก็คือต้นแบบพระเต้าปทุมนิมิตองค์อื่นๆ ถ้าเป็นของใหม่อาจจะสร้างเมื่อในรัชกาลที่ ๔ ก็เป็นได้ เพราะทูลกระหม่อมเอาพระราชหฤทัยใส่ในเรื่องสร้างพระเต้าน้ำมนต์มาก
พระเต้ายอดเกี้ยวนั้นหม่อมฉันแน่ใจว่าทำขึ้นในรัชกาลที่ ๔ สำหรับสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สงสัยแต่ว่าจะทรงทำขึ้นเอง หรือทูลกระหม่อมให้ทำพระราชทานเท่านั้น ด้วยพระเกี้ยวยอดเป็นเครื่องหมายพระนามจุฬาลงกรณ์นั้นเป็นแน่ และในรัชกาลที่ ๔ เป็นยุคที่โปรดทำหม้อน้ำมนต์ จะทำรูปเช่นนั้นในรัชกาลที่ ๓ ไม่ได้ หรือจะทำในรัชกาลที่ ๕ ก็ไม่ทันงานบรมราชาภิเษก
เรื่องพระแสงอัษฎาวุธนั้นหม่อมฉันได้เคยเห็นจดหมายเหตุปรึกษาสร้างเครื่องราชูปโภคเมื่องานบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๑ ที่ในกรมราชเลขาธิการสมัยกรมพระสมมต มีคำปรึกษาว่าพระแสงอัษฎาวุธนั้นอะไรบ้าง ส่อว่าเวลานั้นก็คลางแคลง ว่าตามพิเคราะห์ที่เรียกว่าพระแสงอัษฎาวุธเห็นว่าคงเป็นคำโบราณได้มาจากอินเดีย แต่สิ่งซึ่งลงมติใช้อยู่บัดนี้ดูเป็นของเกิดขึ้นต่อชั้นหลัง เช่นพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตงและพระแสงดาบคาบค่าย เป็นของเกิดขึ้นเพียงในครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชจึงเห็นว่าหาตรงตามตำราเดิมไม่
ธงกระบี่ธุชและครุฑพ่าห์นั้นเมื่อหม่อมฉันไปนครวัดก็ได้สังเกตเห็นนำพลคนอื่นๆ เป็นแต่รูปกระบี่ เฉพาะแต่นำกระบวนหลวงจึงเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ และมีแต่ภาพอยู่ยอดคันไม้หามีธงด้วยไม่ หม่อมฉันจำได้ดังนี้ แต่ไปดูมานานแล้วจะหลงไปบ้างก็ได้ ที่ทรงพระดำริว่าไทยเราเอามาใช้พระครุฑพ่าห์นำกระบวนวังหลวง กระบี่นำกระบวนวังหน้านั้นเห็นว่าถูกแล้ว เพราะมีคติที่ถือพระนารายณ์ทรงครุฑเป็นตราวังหลวง พระลักษมณ์ทรงหนุมานเป็นตราวังหน้าประกอบเป็นหลักฐานอยู่
เรื่องชื่อสวนเจ้าเชตในกรุงเทพฯ นั้น หม่อมฉันทราบเรื่องเดิมดังตรัสเล่ามาได้ดี และยังจำความได้ต่อไปอีก ว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดและตรัสสัพยอกท่าน ว่าให้เรียกว่า “สวนเจ้าจิตร” ก็ได้เหมือนกัน ดังนี้
ข่าวทางปีนังในสัปดาหะนี้มีเหตุพวกจีนลากรถหยุดงานวัน ๑ ทั้ง ๓,๐๐๐ คน ว่าเพราะโปลิศฟ้องหาว่าพวกจีนลากรถเกะกะกีดขวางทางสัญจร พวกลากรถต้องโทษสองสามคน พวกเพื่อนก็พากันเจ็บร้อนไปหมด
อธิบายเรื่องพระเชตวันยังแต่งไม่แล้วต้องทูลขอผลัดต่อไป
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด