- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวรลงวันที่ ๑ ธันวาคม ได้รับประทานแล้ว
เนื่องด้วยงานรับเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกล้ากระหม่อมได้รับหนังสือพระยาเทพหัสดิน เชิญให้ไปงานของนักเรียนเก่าในภาคพื้นยุโรป จะมีงานสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่โรงโขนหลวงสวนมิสกวัน เชิญให้ไปในวันที่ ๔ ถึงสองเวลา ๑๗.๐๐ นาฬิกาเวลาหนึ่ง ๒๐.๓๐ นาฬิกาอีกเวลาหนึ่ง อาการหนักมากได้บอกปฏิเสธไปทั้งสองเวลา ไปไม่ไหวเพราะชราทุพพลภาพ ทั้งกำลังเจ็บอยู่ด้วย
การเจ็บของเกล้ากระหม่อมไม่ต้องทรงพระวิตก ด้วยไม่ถึงล้มหมอนนอนเสื่อ เป็นแต่อากาศเปลี่ยนฤดูฝนเป็นหนาว ร่างกายอันไม่สมประกอบมีโรคมองคร่อ (บรองไคติส) ประจำตัวอยู่แล้ว ถูกเปลี่ยนฤดูเข้าหวัดก็มาช่วยคุ้ยเอาอ้ายโรคมองคร่อกำเริบขึ้น มีอาการน้ำมูกน้ำลายไหลและไอเป็นกำลัง หมอที่เขาช่วยรักษาเขาก็ว่าจะช่วยให้หายเป็นปลิดทิ้งนั้นไม่ได้ ได้แต่เพียงช่วยให้มากเป็นน้อยเท่านั้น เห็นว่าพูดถูกต้องดีแล้ว ตามที่ฝ่าพระบาทตรัสบอกว่าปีนังเวลานี้เย็นสบายดี นั่นแปลว่าฝ่าพระบาทไม่มีพระโรคที่ขัดกับอากาศหนาว ดีกว่าเกล้ากระหม่อมเป็นอันมาก
ในคราวนี้ได้ถวายใบพิมพ์หมายกำหนดการในสำนักพระราชวังมาเพื่อทรงทราบด้วย ๒ ฉบับ คือหมายกำหนดการเปิดสภาผู้แทนราษฎรฉบับหนึ่ง กับหมายกำหนดการฉลองรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่ง ในการฉลองรัฐธรรมนูญนั้น จะมีออกร้านที่พระราชอุทยานสราญรมณ์ด้วย กำหนดเปิดร้านตั้งแต่วันที่ ๘ แต่คงไม่ได้อะไรมาเล่าถวายเพราะไม่สบายไม่ได้ไป
อันคำที่ว่า “ละครกำกำแบแบ” นั้น เกล้ากระหม่อมได้ยินและจำไว้ได้ดี แต่ไม่เคยทราบมูลเหตุ เพิ่งจะได้ทราบที่ตรัสเล่าในคราวนี้ ที่เรียก “ละครร้อง” “ละครรำ” “ละครพูด” ไปเป็น ๓ อย่างนั้น จำได้ว่าเป็นพระดำริของกรมพระนราธิปฯ ทรงบัญญัติ สองชื่อในเบื้องต้นนั้นทรงคิดขึ้น ส่วนชื่อหลังเขาเรียกกันมาก่อนแล้ว เป็นแต่ทรงเก็บเอามาจัดขึ้นให้เข้าชุดกันเป็นระเบียบ แต่ที่จริงยังมีตกไปเสียอย่างหนึ่ง คือ “ละครตลก” นอกกว่านั้นก็เรียกกันไปเป็นอย่างอื่น เช่น “ยี่เก” “เสภารำ” และ “ลูกบท” (มาแต่ “ลูกหมด”) เป็นต้น
พูดถึงละครตลก ทำให้นึกถึงข้อปฏิบัติของนายสีตลกขึ้นมาได้ จะกราบทูลถึงถ้อยคำของแกให้ทรงทราบ แกว่าพอโผล่ออกมาจากโรงก็ต้องกราดตาดูคนดูเสียก่อน ว่ามีคนชั้นไรดูอยู่มาก หากมีคนชั้นสูงมากต้องเล่นพอละเมียดไม่หยาบคาย ถ้าเป็นคนชั้นกลางมากต้องเล่นเป็นสองง่าม ถ้าเป็นคนชั้นต่ำมากต้องเล่นง่ามเดียว ดังนั้นจะพอใจคน เกล้ากระหม่อมได้ฟังก็จับใจนึกโมทนาว่าแกมีความคิดจับเอาหลักที่ควรได้ แกจึงมีชื่อเสียงคนนิยมมาก
เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๕ อันมีพระดำรัสอธิบายไว้ลางอย่าง ซึ่งทรงพระเมตตาโปรดคัดประทานไปนั้น ดีเต็มที ทีแรกต้องขอประทานถอนหัวในเรื่องพระพุทธรูปตั้งพระแท่นมณฑลในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งรัชกาลที่ ๔ นั้นก่อน พระชัยพิธี ซึ่งเดามาถวายว่าคงเป็นพระชัยหลังช้างนั้นผิด ต้องเป็นพระห้ามสมุทรฉันเวร ส่วนพระชัยหลังช้างนั้นขอประทานเอาไปยกให้แก่พระปฏิมาชัย ซึ่งกราบทูลว่าคิดไม่เห็นเป็นอันคาดจำหน่ายลงกันไปได้เกือบสิ้น เว้นแต่พระห้ามสมุทรอีก ๒ องค์ ถึงหากมีพระดำริทรงคาดขึ้น ก็ยังเป็นหลักลอย ควรตราไว้สืบสวนต่อไปก่อน
ในพระดำรัสอธิบายถึงสิ่งใดๆ ซึ่งตั้งพระแท่นมณฑลในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๕ นั้น ก็ปรากฏว่าได้ทรงรู้สึกแล้วว่าที่แต่งไว้กล่าวถึงครั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๔ มีผิดเหลวอยู่ในนั้น
ต่อไปนี้จะกราบทูลเรียนและถวายความเห็น ตามความที่มีในสำเนาหนังสือซึ่งคัดประทานไปนั้นสะกิดใจขึ้น จะผิดถูกประการใดขอประทานอภัยโทษ
(๑) พระดำรัสอธิบายถึงพระราชลัญจกรว่าเก่าเรียก “พระอุณาโลมทำแท่ง” เป็นเหตุให้จับใจหนัก อยากทราบต่อไปว่าที่ตรัส อธิบายถึงแท่งว่าทำด้วยครั่งนั้น ได้หลักมาแต่ที่แห่งใด คดีลุกลามไปถึงว่าจะต้องมีพระราชลัญจกรมหาอุณาโลมประจำครั่ง ซึ่งยังไม่เคยเห็นเลยอีกด้วย
(๒) ทูลกระหม่อมคงจะทรงข้องพระราชหฤทัยอยู่มาก ในพระเต้าเบญจครรภซึ่งมียันต์ ๕ แผ่น ทรงพระราชดำริที่จะทำยักย้ายไปใหม่ให้ถูกต้อง พระเต้า ๕ ห้องก็ดี พระเต้า ๕ กษัตริย์ก็ดี เห็นเป็นว่าล้วนทรงพระราชดำริจะให้เป็นพระเต้าเบญจครรภทั้งนั้น
(๓) พระเต้าปทุมนิมิต ทอง เงิน นาก สบถได้ว่าเป็นของทำในรัชกาลที่ ๑ ด้วยลายจำหลักนำไปให้เห็นแน่แก่ใจ แต่องค์สัมฤทธิ์นั้นว่าแน่ไม่ได้ อาจทำขึ้นพร้อมกันแต่รัชกาลที่ ๑ หรือทำเติมขึ้นในรัชกาลหลังลงมาก็ได้ เป็นของเกลี้ยงไม่มีลายนำไปให้รู้แน่ได้
(๔) พระเต้ายอดเกี้ยว นึกแน่ในใจว่า ทำโดยอาศัยพระปรมาภิไธย “จุฬาลงกรณ์” เป็นเหตุ อาจทำขึ้นแต่ในรัชกาลที่ ๔ ก็ได้ แต่เหมาะที่สุดนั้นควรจะทำในรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้จะทำในรัชกาลที่ ๔ ก็จะตั้งพระแท่นในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๔ ไม่ได้ต้องเป็นของทำในรัชกาลที่ ๓ ขึ้นไปจึงจะตั้งได้ จะเป็นของทำแต่รัชกาลที่ ๓ ขึ้นไปไม่ได้ ด้วยคำ “จุฬาลงกรณ์” ยังไม่มีเกิดขึ้นก่อนรัชกาลที่ ๔
(๕) เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตำราต่างๆ เถียงกันตกขอบ จะกราบทูลแต่อย่างเดียวว่า วาลวิชนี กับ จามร นั้นเป็นวัตถุอันเดียวกัน วาล กับ จมร เป็นสัตว์อย่างเดียวกัน (คือ Yak ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมของอาจารย์จิลเดอส์) วิชนี แปลว่า เครื่องปัด วาลวิชนี แปลว่า เครื่องปัดทำด้วยขนวาล จามร แปลว่า แส้ขนหางจมร (คือจามรี)
(๖) พระแสงซึ่งเรียกชื่อว่า “อัษฎาวุธ” นั้น ประหลาดหนักหนา เกล้ากระหม่อมเพียรหาหลักฐานซึ่งมาทางอินเดียเพื่อเอามาสอบก็ไม่พบที่ไหนเลย
(๗) พระกรรภิรมณ์นั้นทำด้วยผ้าขาว ไม่ใช่แพร แต่ก่อนเกล้ากระหม่อมก็เข้าใจว่าแพร ด้วยมีสีเป็นขาวนวลไม่ขาวโพลน แต่ครั้นได้เข้าตรวจถึงฉัตร จึงทราบว่าทำด้วยผ้าขาวที่สีนวลนั้นเพราะเก่า
(๘) ธง กระบี่ธุช ครุฑพ่าห์ ก็คิดว่าเป็นธงของวังหน้ากับวังหลวงมารวมกันอีก เห็นรูปฉลักเรื่องรามเกียรติ์ที่พระนครวัด ธงรูปลิงมีมากหลาย ใช้ประจำตัวพวกนายทัพลิงทั้งปวง ส่วนองค์พระรามใช้ธงเป็นรูปครุฑ ตราวังหน้าของเราก็เป็นรูปพระลักษมณ์ทรงหนุมาน ถ้าธงวังหน้าจะเป็นรูปลิง คือหนุมานก็สมควรยิ่งนัก ส่วนวังหลังนั้นไม่เห็นปรากฏตามเคย
เรื่องพระเชตวันซึ่งทรงแต่งอยู่นั้นนึกก็อุ่นใจ เห็นจะหาลูกดินได้มาก เกี่ยวกับเรื่องพระเชตวันนี้ เกล้ากระหม่อมมีเรื่องขันจะเล่าถวายมีคนมาเล่าตำนานให้ฟัง ว่าแต่ก่อนนี้มีเจ้าอยู่คนหนึ่งชื่อว่าเจ้าเชตเป็นคนเกะกะต้องไปติดคุกอยู่ที่นั่น ที่นั่นจึงได้มีชื่อว่าสวนเจ้าเชต เกล้ากระหม่อมก็หัวเราะ บอกเขาว่าสวนเจ้าเชตนั้นฉันตั้งชื่อขึ้นให้เอง ด้วยเหตุฉันเพียรรื้อเก็บกวาดหอกลอง คุกศาลเทพารักษ์ ซึ่งปลูกไว้ในที่นั้น แต่เจ้าหน้าที่เขาย้ายเอาไปไว้ที่อื่นแล้ว เหลือแต่ซากสิ่งซึ่งไม่ต้องการทิ้งไว้ได้ดัดแปลงให้เป็นสวน จึงให้ชื่อว่าสวนเจ้าเชตโดยเหตุเป็นที่ติดต่ออยู่กับวัดพระเชตุพน จึงสมมติว่าเจ้าเชตกุมารยกสวนถวายเป็นวัดไม่หมด คงเหลือเป็นสวนอยู่น้อยหนึ่ง ตัวเจ้าเชตจริงๆ ไม่มีในเมืองไทย
เรื่องแม่น้ำแม่กลอง นึกดูเห็นฝืดเคืองเต็มที ดูเหมือนเคยได้ยินนิทานมีเล่าเพื่อแปลชื่อ แต่ว่ากระไรก็จำไม่ได้ ถึงจะจำได้ก็ใช้ไม่ได้
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด