- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ได้รับประทานแล้ว
การทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะนั้น เป็นไปทางเดียวกับที่ทรงพระดำริ คงจะได้ทรงทราบรายละเอียดอันได้กราบทูลสวนมา ในหนังสือเวรลงวันที่ ๒๖ นั้นแล้ว
ต่อนี้ไปจะกราบทูลขวางโลก การแสดงตนเป็นสัปปุรุษพุทธมามกะได้อ่านหนังสืออันกล่าวถึงเรื่องนั้น ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประพันธ์ไว้ยกตัวอย่างครั้งพุทธกาลมากล่าว คิดดูเห็นว่าความเป็นไปในเวลาโน้นกับเราเวลานี้ผิดกัน ครั้งโน้นพระพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธเจ้าเพิ่งตรัสรู้ธรรมอันวิเศษขึ้น เพิ่งจะตรัสสอนธรรมอันวิเศษนั้นแก่สาธุชนทั้งปวง ใครได้ฟังเกิดความเลื่อมใสในธรรมซึ่งพระองค์ตรัส แม้จะนับถือคำสอนของใครอยู่ก่อนก็สละไปสู่พระองค์หรือพระสงฆ์ผู้เป็นสาวกของพระองค์ ประกาศว่าตนถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เหมือนหนึ่งคำที่ฝรั่งเขาพูดว่า Convert ก็บัดนี้เราถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นของเรา เรารู้กันอยู่แล้ว ว่าพวกเราย่อมอยู่ในพระพุทธศาสนา จะตรัสประกาศว่าพระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาซ้ำเข้าอีก จะมีประโยชน์อะไร แม้ประกาศพระองค์ว่าจะทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างที่ฝ่าพระบาทตรัสนั่นแหละจะสมควรมีค่าเป็นที่สุด แต่ดูแบบพระดำรัสประกาศ ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชตีพิมพ์แจก ก็หาได้มีความไปถึงเช่นนั้นไม่ การกระทำอันไม่จำเป็นมีจะกราบทูลอีก แต่ไม่ใช่เกล้ากระหม่อมคิดเห็นเอง เป็นความเห็นของพระมหาเถรองค์หนึ่งซึ่งท่านได้ตริตรอง ท่านว่าการรับศีลนั้นเป็นปฏิญญาว่าจะไม่ทำเช่นนั้น ก็คนที่ประพฤติตนไม่กินเหล้าอยู่แล้ว ปฏิญญาว่าจะไม่กินเหล้าจะมีประโยชน์อะไร คิดตามท่านว่าไปก็รู้สึกเห็นขัน
พระยาอรรถการยบดี (ชุ่ม อรรถจินดา) ตายเสียแล้ว เมื่อวันที่ ๑๙ เดือนนี้ วันที่ ๒๖ ทำบุญเจ็ดวันที่บ้าน รุ่งขึ้นวันที่ ๒๗ ก็ชักศพไปรับพระราชทานเพลิงที่สุสานวัดเทพศิรินทร์ ติดไปทีเดียว ดูก็ดี เป็นอันแล้วเสร็จไปโดยพลัน เห็นหีบศพอันประกอบตั้งไว้บนตาราง เป็นหีบทองลายก้านขด ตำแหน่งยศพานทอง ในงานนั้นแจกหนังสือ ๒ เล่ม ชื่อว่า “พระราชบัญญัติบางอย่าง” เล่ม ๑ เป็นของเจ้าภาพทำ พระยาอรรถการีย์นิพนธ์เป็นผู้เลือกคัดจัดมาเรียบเรียง กับอีกเล่ม ๑ ให้ชื่อว่า “เตรียมตัวก่อนตาย” เป็นของหลวงอมรแมน (จันทร คันธาร์ทิพย์) จัดตีพิมพ์ช่วย ในนั้นมี ๓ เรื่อง คือ “ศราทธพรตคาถา” ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสกับ “อธิฏฐานธรรม” สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ) แต่งกับ “วิปัสสนานัย” สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ปัจจุบันนี้แต่ง เห็นว่าเป็นเรื่องไม่เข้าระบอบที่จะเอาพระทัยใส่ จึ่งไม่ได้พยายามที่จะจัดส่งมาถวาย
พูดถึงเอาพระทัยใส่ อยากจะกราบทูลเรื่องสรีสำรวยต่อไปอีก เพราะเกล้ากระหม่อมเอาใจใส่ในศิลปะอันนั้นอยู่มากเท่าที่กราบทูลมาก่อนแล้วนั้นรู้สึกว่ายังไม่พอ ก่อนที่จะแต่งหน้าใครต้องพิจารณาให้เห็นเสียก่อน ว่าหน้าผู้นั้นมีอะไรเสียอยู่ที่ตรงไหนบ้าง เมื่อเห็นเสียอยู่ตรงไหนก็เขียนแก้ที่ตรงนั้น เป็นต้นว่าตาเล็กไปเสริมสีหม่นเข้าที่ขอบตา จะเห็นตาโตขึ้น หรือถ้าคิวก่งมากไปก็เขียนสีเสริมเข้าใต้คิ้ว ถ้าคิ้วซื่อไปก็เขียนสีเสริมขึ้นบนหลังคิ้ว แม้ไม่รู้ที่ได้ที่เสียเขียนไปตามอวัยวะเดิมแล้วจะสวยขึ้นไม่ได้เลย อีกประการหนึ่งนั้นเป็นสำคัญที่สุด ละครเขาแต่งหน้านั้นได้ผลดีที่อยู่บนเวทีห่างคนดูตั้งสี่ห้าวาขึ้นไป ถ้าเขียนแต้มเติมอนุโลมไปตามธรรมชาติที่ตรงไหน ก็ไม่มีใครสามารถที่จะเห็นได้ คนสามัญไปเอาอย่างละครมาเขียนหน้าบ้าง แล้วก็มาประเชิญหน้ากับเพื่อนฝูงแขกเหรื่อ อยู่ห่างกันเพียงศอกเดียว จะเขียนจะแต้มเติมเข้าไว้ที่ไหนก็เห็นหมด ไม่ต้องให้ล้างดูก็เห็นว่าเขียนไว้ที่ไหนบ้าง คงสำเร็จผลอย่างเดียวแต่ว่าเขาเขียนหน้ากัน ถ้าไม่เขียนกับเขาบ้างก็เปิ่น เป็นการกระทำเพื่อให้เป็นคนเท่านั้น
ความจริงการแต่งหน้านั้นมีมานมนานแล้ว พวกเล่นละครคงจะทำมาก่อน งิ้วเป็นเอก แต่งหน้ามากกว่าชาติใดๆ หมด ละครไทยก็ผัดหน้าเขียนคิ้ว ปากไม่ได้ทา แต่ลางคนก็ใช้คาบซองธูปซึ่งย้อมสีแดง ให้น้ำลายละลายสีที่ย้อมซองธูปอาบออกย้อมริมฝีปากก็เหมือนกับปากนั่นเอง แต่จัดว่าฉลาดมากที่สีแดงอันปรากฏที่ปากนั้นประสานกันเป็นในแก่นอกอ่อนดูงามพอใช้ ที่ทาไม่เป็นนั้นเปรอะปรึงดูไม่ได้ ไม่ทาเสียดีกว่า ถัดจากพวกละครก็มีคนสามัญเอาอย่างมาทำบ้าง เช่นเด็กโกนจุกของเรานั่นเป็นครึ่งละคร เจ้าแขกในเมืองชวาก็เขียนหน้าจนเราเห็นขัน หญิงชาววังของเราแต่ก่อนกันหน้ากันคิ้วจับเขม่า นั่นอะไรแต่งหน้าใช่ไหม ฝรั่งสมัยนี้คนสามัญก็มาแต่งหน้าเอาอย่างละคร ที่เขาคิดทำแป้งผัดทำสีเขียนให้ผิดแผกไปเป็นหลายอย่างขึ้นนั้น ก็ด้วยความเจริญแห่งความคิดเพื่อยักย้ายให้ต้องตามผิวของคน จัดว่าดีขึ้นมาก แต่ที่ฝรั่งเขายักย้ายทำเขาก็คิดทำสำหรับพวกฝรั่งซึ่งมีผิวขาว เราเอาของฝรั่งมาใช้แลมาทำตามเขาเห็นไม่ไหว ฝรั่งเขาทาแก้มแดงๆ เราก็ทาบ้าง แก้มไทยมันแดงเหมือนฝรั่งเมื่อไร อย่างคนที่กระชุ่มกระชวยบริบูรณ์ด้วยเลือดฝาด สีแก้มก็เป็นสีลูกมะปราง จึ่งได้เรียกแก้มว่าปราง ไม่ใช่เป็นสีกุหลาบ ที่แท้ศิลปะแต่งหน้าเป็นวิธีที่มีมาแต่ดึกดำบรรพ์แล้วหากเราคิดกันไปไม่ถึงจึงสำคัญว่าเป็นของใหม่
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด