- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
หม่อมฉันได้รับลายพระหัตถ์เวรฉบับลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน นั้นแล้ว
รายการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ท่านเล่าประทานมาในลายพระหัตถ์ฉบับก่อน หม่อมฉันเคยทูลชมไปว่าเล่าลอดช่องข่าวหนังสือพิมพ์ทำให้ได้ความรู้ถ้วนถี่ดีขึ้น มารู้ในลายพระหัตถ์ฉบับนี้ว่าท่านตั้งพระหฤทัยจะให้เป็นเช่นนั้น ขอขอบพระคุณซึ่งทรงพระดำริด้วย
หม่อมฉันได้เห็นในหนังสือพิมพ์หรือได้ยินใครเล่าก็จำไม่ได้แน่ ตั้งแต่ก่อนพระเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับมาถึง ว่าเสด็จกลับมาคราวนี้จะทรงตั้งสมเด็จพระสังฆราช เดิมกะจะให้สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์เป็น แต่สมเด็จพระวชิรญาณไม่ยอมรับ จึงไปถามสมเด็จพระวันรัตน์ท่านตอบว่า “ถ้าจะให้เป็นก็เป็น” จึงตกลงให้สมเด็จพระวันรัตน์เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อได้ยินหม่อมฉันนึกพิศวงว่าสมเด็จพระวันรัตน์ ก็แก่ชราอายุกว่า ๘๐ แล้วทั้งทุพพลภาพอยู่ด้วย ไฉนจึงรับเป็น สังฆราช หม่อมฉันคุ้นเคยรู้อัชฌาสัยและคุณธรรมของท่านมาแต่ก่อน จะเห็นว่าเพราะท่านยินดีด้วยลาภยศก็ไม่ได้ ฉงนใจอยู่วันหนึ่งจนรุ่งขึ้นจึงนึกเห็นเหตุ ว่าถ้าหากท่านไม่รับอาจเกิดยุ่งด้วยเรื่องตั้งสังฆราช ท่านจึงรับด้วยเหตุนั้น หม่อมฉันก็กลับอนุโมทนาด้วย ได้เห็นรูปฉายในหนังสือพิมพ์เมื่อวันท่านเข้าไปรับตำแหน่งสังฆราช เห็นเดินต้องมีคนประคองเข้าปีกไปข้างหนึ่งดูน่าสงสารเห็นจะทุพพลภาพลงกว่าแต่ก่อนมาก
ข้อที่พระองค์ท่านทรงเจียมพระองค์ว่าทรงพระชราทุพพลภาพ ไม่รับเชิญไปทอดพระเนตรละครซึ่งสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษเขาเล่นรับเสด็จนั้น หม่อมฉันก็เห็นสมควรแล้ว ว่าตามทางธรรมก็เป็นการไม่ประมาท ว่าตามทางโลกความสนุกสนานของคนต่างชั้นต่างชั่วก็ต่างกัน หม่อมฉันนึกถึงเรื่องแต่หนหลังขึ้นได้จะเลยเล่าบรรเลงถวายด้วยเดิมเมื่อ ร.ศ. ๑๐๙ (พ.ศ. ๒๔๓๔) สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จไปประพาสเลียบรอบแหลมมลายู เวลาประทับอยู่ ณ เมืองไทรบุรี เจ้าพระยาไทรหาละครมลายูซึ่งเพิ่งมีคนประดิษฐ์ขึ้นใหม่เรียกว่า “บังสาวัน” แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Malay Opera มาเล่นถวายทอดพระเนตร ต่อนั้นมาอีกหลายปี พวกละครบังสาวันนั้นเข้ามาเล่นในกรุงเทพฯ โรงที่เล่นอยู่ข้างวังบูรพาใกล้บ้านเก่าของหม่อมฉัน ๆ จึ่งชวนคุณป้าเที่ยงซึ่งมาอยู่ที่บ้านหม่อมฉันในเวลานั้น ไปดูด้วยกันกับแม่ ท่านว่าไม่ชอบและไม่เห็นน่าดูทั้ง ๒ คน ดูกลับมาแล้วคุณป้าเที่ยงออกปากว่า “ไม่เห็นเป็นละเม็งละคร มีแต่ยกมือขึ้นกำ กำแล้วก็แบ แบแล้วก็กำอีกเท่านั้น” หม่อมฉันไปเล่าถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เลยตรัสเรียกละครพวกพันทางว่า “อ้ายพวกกำกำแบแบ” นึกว่าท่านคงเคยทรงได้ยิน ยกมาทูลเป็นอุทาหรณ์ที่ความนิยมของคนต่างชั่วต่างชั้นต่างกัน และละครบังสาวันนั้นเองที่กรมพระนราธิปเอาไปคิดแก้ไปเป็นอย่าง “ละครร้อง” เล่นที่โรงปรีดาลัย แล้วคนอื่นเช่นแม่บุนนากเป็นต้นเอาอย่างไปเล่น แต่คนทั้งหลายแม้จนเซอร์โยห์เชียครอสบีราชทูตอังกฤษแสดงปาฐกที่สมาคมโรตะรีเมื่อเร็วๆ นี้ ยกย่องว่าละครร้องเป็นของกรมพระนราทรงริขึ้น หามีใครรู้ไม่ว่าท่านได้เค้ามาจากละครบังสาวันมลายู
พระพุทธรูปห้ามสมุทร ๒ องค์ที่ว่าตั้งพระแท่นมณฑลเมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๔ นั้น หม่อมฉันนึกเค้าเงื่อนขึ้นได้อย่าง ๑ ด้วยเคยขออนุญาตกรมวังเข้าไปชมหอพระเมื่อในรัชกาลที่ ๖ หรือที่ ๗ จำไม่ได้แน่แต่เป็นครั้งหลังที่ได้ไป เมื่อชมหอพระสุราลัยพิมานแล้วนางพนักงานเฝ้าหอพระเขาไปเปิดหอน้อยที่อยู่ข้างหน้าหอพระสุราลัยพิมานให้ดูอีกหลังหนึ่ง ในนั้นมีพระพุทธรูปห้ามสมุทร (ดูเหมือนเป็นพระเงินทรงเครื่องอาภรณ์ทอง) ขนาดเดียวกับพระชัยเวรตั้งบนฐานชุกชีเป็นประธานอยู่ (องค์หนึ่งหรือสององค์ก็จำไม่ได้แน่) จะเป็นทางพนักงานคนแก่ที่นำบอก หรือกรมหลวงสมรรัตนตรัสบอกก็จำไม่ได้ ว่าพระพุทธรูปนั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างแต่เมื่อยังเป็นกรม เมื่องานพิธีบรมราชาภิเษกครั้งรัชกาลที่ ๓ อาจจะตั้งพระห้ามสมุทรองค์ที่อยู่ในหอพระน้อยเข้าในพระแท่นมณฑลได้ ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนับถือว่าเป็นมิ่งขวัญมาแต่ก่อนเสวยราชย์ แต่เห็นจะไม่ได้ตั้งพระพุทธรูปนั้นเข้าพระแท่นมณฑล เมื่อพิธีบรมราชาภิเษกครั้งรัชกาลที่ ๔ จึงไม่มีปรากฏในหมายรับสั่งครั้งพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเชื่อได้ว่าทำตามแบบอย่างครั้งรัชกาลที่ ๔ หม่อมฉันเคยเขียนอธิบายเครื่องตั้งพระแท่นมณฑลพิธีบรมราชาภิเษกในรัชกาลที่ ๕ ไว้ตามได้ตรวจดูในหมายรับสั่งสำเนาถวายมาทอดพระเนตรด้วย
ที่ทรงพรรณนาวิธี “สรีสำรวย” ของไทยประทานมานั้น เป็นความรู้ที่หม่อมฉันได้ใหม่ ขอบพระหฤทัยมาก หม่อมฉันได้เคยสังเกตเห็นในสมุดร่างรูปภาพเขียนพระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อรัชกาลที่ ๓ เป็นรูปภาพขนาดเล็กๆ แต่เขาเขียนให้เห็นหน้าทศกัณฐ์โศกได้ ได้ออกปากชม แต่หารู้ไปกว่านั้นไม่
หมู่นี้ที่ปีนังกำลังอากาศเป็นฤดูหนาวเย็นสบายดี แต่เรื่องต่างๆ สำหรับเขียนทูลบรรเลงไม่มีอะไร อยู่ข้างค่น หม่อมฉันกำลังเขียนตอบคำถามของพระองค์เจ้าธานีเรื่อง “พระเชตวัน” เห็นจะแล้วทันส่งสำเนาถวายคราวส่งหนังสือเวรวันพฤหัสบดีหน้า นอกจากนั้นยังมีอีกเรื่อง ๑ นายพันตรี ไซเดนฟาเตน นายกสยามสมาคม ถามมาว่าเหตุใดจึงเรียกชื่อลำน้ำและเมืองสมุทรสงครามว่า “แม่กลอง” จะเขียนตอบและถวายสำเนาต่อไปด้วย
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด