- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวร ลงวันที่ ๑๗ เดือนนี้ ได้รับประทานแล้ว
เรื่องสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จถึงปีนังและออกจากปีนังตามที่ตรัสเล่าประทานไปนั้น เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า เกล้ากระหม่อมจะเล่าทางกรุงเทพฯ จำเพาะส่วนที่ไม่ปรากฏในหมายกำหนดการ ต่อจากหนังสือเวรซึ่งได้ส่งมาถวายเมื่อวันที่ ๑๙ นั้นต่อไป
วันที่ ๑๙ พฤศจิกายนนั้น เป็นกำหนดเสด็จพระราชดำเนินไปทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะเฉพาะหน้าสงฆ์ พระสงฆ์ซึ่งนิมนต์มาประมาณเห็นจะสัก ๒๐ รูป ล้วนแล้วไปด้วยพระราชาคณะตามอันดับยศ มีสมเด็จพระสังฆราช (คือสมเด็จพระวันรัตน์) เป็นประธาน การจัดพระสงฆ์นั่งเป็นนั่งซ้อนกันสองแถวบนอาสนะสงฆ์ดุจสวดมนต์ฉะนั้น ที่หัวแถวมีสมเด็จพระสังฆราชนั่งโดดอยู่องค์เดียวเสมอแนวแถวหลัง ตรงหน้าสมเด็จพระสังฆราชทอดพระยี่ภู่บนอาสนะสงฆ์ เสมอกับแนวแถวหน้า
เวลา ๑๖.๓๕ น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขาวเสด็จมาขึ้นมุขโถงหน้าพระอุโบสถ มีหมู่คนเฝ้าถวายของ เป็นชาติและชนิดต่างๆ ออกจะเป็น ๑๒ ภาษา ของที่ถวายอยู่ในหีบ เห็นแต่นิดหน่อย เป็นใบโพธิ์ทำด้วยโลหะกาไหล่ทอง จะเป็นคนพวกใดก็คิดไม่เห็น ได้ยินพระยาอนุรักษ์ทูลเบิก จับได้คำแต่ว่า “กรรมการ” กรรมการอะไรไม่ทราบ ต่อกลับมาอ่านหนังสือพิมพ์จึงแจ้งเขาว่ากรรมการกับสมาชิกพุทธธรรมสมาคม
ต่อจากนั้นก็เสด็จขึ้นพระอุโบสถ ทรงนมัสการพระพุทธรูป แล้วเสด็จขึ้นประทับพระยี่ภู่บนอาสนะสงฆ์ ทรงประเคนดอกไม้ธูปเทียนแก่สมเด็จพระสังฆราช ทรงประนมพระหัตถ์ตรัสว่ากระไรก็ไม่ได้ยิน แล้วสมเด็จพระสังฆราชทูลว่ากระไรก็ไม่ได้ยิน แล้วพระสงฆ์ทั้งปวงพร้อมกันสวดอะไรก็จับคำไม่ได้ ถามคนที่อยู่ใกล้ตัวเขาบอกว่า “โส อตฺถลทฺโธ” จบแล้วทรงประเคนดอกไม้ธูปเทียนแก่พระสงฆ์ทั้งปวง แล้วเสด็จมาประทับพระราชอาสน์ คราวนี้รู้ด้วยญาณว่าพระสงฆ์สวด “จิรํ” (แทนอติเรก) “ภวตุ สพฺพ” และถวายพระพรลากลับแล้วเสด็จกลับหมดด้วยกัน สิ้นเวลาครึ่งชั่วโมงเท่านั้น
วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน สมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษเขาเชิญเสด็จไปทอดพระเนตรละครซึ่งพวกสมาคมแสดงถวายอย่าง “แปนเตอไมม์” เรื่อง “ซินเดอเรลลา” ที่โรงโขนหลวงสวนมิสกวัน เวลา ๑๖.๓๐ น. เขาเชิญเกล้ากระหม่อมด้วย แต่ไม่ได้ไป ขอตัวเขาด้วยชราทุพพลภาพ การเป็นไปอย่างไรจึงไม่สามารถจะทูลได้ด้วยไม่ได้เห็น
วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน มีการพระราชกุศลทักษิณานุปทานตามที่ถวายใบพิมพ์กำหนดการมา ในการนี้เชิญพระบรมอัฐิและพระอัฐิออก คือพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๖ พระองค์ กับสมเด็จพระบรมราชชนนี ๕ พระองค์ ประดิษฐานบนพระที่นั่งเศวตฉัตร กับประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระราชบิดาที่เตียงลาแห่งพระที่นั่งเศวตฉัตรและประดิษฐานพระพุทธรูปคู่ด้วยพระบรมอัฐิบนบุษบกมาลา การพระราชกุศลก็ดำเนินไปตามหมายกำหนดการ เสร็จแล้วเสด็จขึ้นพระที่นั่งไพศาล แล้วเสด็จออกทางประตูสนามราชกิจกลับสวนจิตรลดา
วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน เสด็จเข้าไปเลี้ยงพระสดับปกรณ์ตามหมายกำหนดการ ที่สุดพระราชทานเหรียญสองสลึง แจกแก่ฝ่ายหน้าแล้ว เสด็จขึ้นแจกแก่ฝ่ายใน แล้วเสด็จออกทางประตูสนามราชกิจ กลับสวนจิตรลดา
เรื่องที่ฝังพระศพพระองค์เจ้าสนิทพงศ์นั้น พวกพ้องเขาเห็นเกล้ากระหม่อมข้องใจ เขาก็ช่วยวิ่งไปสืบมาบอก ได้ความว่าได้ซื้อที่จากกรรมการป่าช้า เป็นเนื้อที่กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ทำอนุสรณ์ที่ฝังศพในนั้นมีขนาด ๙.๓๐×๘.๒๕ เมตร เกล้ากระหม่อมพอใจว่าสมควรแล้ว ซึ่งใครจะเข้าไปปะปนไม่ได้
เรื่องพระชัยฉันเวรที่ตรัสนั้นก็ถูกแล้ว แต่บัญชีพระพุทธรูปซึ่งตั้งพระแท่นมณฑล ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ ๔ ก็มีพระห้ามสมุทรอีกต่างหากถึง ๒ องค์ จึงทำให้ตัดสินใจลงเป็นแน่ไม่ได้
เรื่องศิลปะซึ่งแปลกมาใหม่ คือการแต่งหน้า อันได้ตรัสพรรณนาโดยยืดยาวนั้น ไม่ใช่เป็นของใหม่ทีเดียว พวกละครเขาแต่งหน้ากันมาก่อนนานแล้ว พวกไม่ใช่ละครเอาอย่างมาแต่งบ้างทีหลัง ที่ทรงพระดำริว่าจะไม่เป็นทางศิลปะที่เกล้ากระหม่อมใฝ่ใจนั้น ก็ทรงพระดำริคาดผิดอีก ที่จริงศิลปะทางนั้นเป็นหลักทางดำเนินของเกล้ากระหม่อมทีเดียว ปกติการหัดเขียนอย่างไทยเขาสอนให้เขียนหน้าภาพก่อน เกล้ากระหม่อมก็เรียนหมกมุ่นมาในทางนั้นจนอินทรีย์แก่กล้าก็ถึงเขียนหน้าภาพตัดเส้นให้เห็นเป็นไปได้ต่างๆ เป็นเสียใจ เป็นดีใจ เป็นคนแก่ เป็นคนหนุ่มสาว เป็นเด็ก ที่ทูลนี้หมายถึงหน้าพระนางตัวดีมิได้หมายถึงเขียนหน้าคนสามัญซึ่งภาษาช่างเขาเรียกว่าภาพกาก แต่รูปภาพยักษ์ลิงยังเขียนให้เป็นเช่นนั้นไปไม่ได้ แต่ได้ฟังนิทานเขาเล่า ว่าช่างเขียนพระระเบียงวัดพระแก้วห้องทศกัณฐ์โศก ครั้งรัชกาลที่ ๓ เสด็จออกทอดพระเนตร ตรัสติว่าไม่โศก ช่างจึงลบเขียนแก้ตัวใหม่ เสด็จออกทอดพระเนตรคราวหลัง ตรัสว่าดี ทีนี้โศกจริงแล้ว ช่างได้รับพระราชทาน ๕ ตำลึง เกล้ากระหม่อมไม่เชื่อ ซ้ำบ่นว่าก็มันเป็นกนกไปทั้งนั้น จะเขียนให้เห็นโศกไปอย่างไรได้ ต่อมาเกล้ากระหม่อมไปสนทนาเล่นกับกรมหมื่นวรวัฒน์ที่ตำหนักท่าน ท่านเอาหนังต่างๆ ที่ดีออกให้ดู มีหนังหลายตัวที่ถ่ายออกจากหนังพระนครไหวฝีมือหลวงพรหมพิจิตร (ใจ) เขียน เห็นดีเหลือเกิน แม้กระนั้นกรมหมื่นวรวัฒน์ท่านยังว่าคลายเสียแล้ว เพราะฉลักไม่ดี ตัวเดิมดีกว่านั้นมาก จึ่งจับใจไปเฝ้าเจ้าพระยาเทเวศร์ขอดูหนังพระนครไหว ท่านว่าดูเปล่าๆ ไม่เห็นดีดอก ต้องตั้งจอเชิดจึ่งจะเห็นชัด ท่านว่าหนังเดี๋ยวนี้ใส่ไฟด้วยใต้ สีไฟไม่งามแต่ก่อนเขาใส่ไฟด้วยกะลาสีไฟงามกว่า แล้วท่านจะจัดการให้ดู
วันหนึ่งท่านตั้งจอขึ้นที่หน้าท้องพระโรง สุมไฟด้วยกะลา มาได้ความรู้ขึ้นอีกว่าใส่ไฟด้วยกะลานั้นสีไฟงามเต็มที่ ไม่มีควันจอขาวสะอาดเหมือนที่ฝรั่งเขาเล่นหนังเงาคน นั่นเขาจะใช้ไฟอะไรไม่ทราบ คงเป็นฟ๊อดแฟ๊ดฟอไฟอะไรอย่างหนึ่ง แล้วท่านก็ให้เอาหนังขึ้นเชิดตามเรื่องในชุดนาคบาศ มีตัวภิเภกไปร้องไห้ทูลพระราม เห็นเข้าขนหัวลุก ร้องไห้จริงๆ เชื่อทันทีว่านิทานทศกัณฐ์โศกที่ได้ฟังมานั้นเป็นความจริง ได้สังเกตเค้าของท่านจำมา ทีหลังจะเขียนพระนางยักษ์ลิงอะไร ก็ตัดให้เป็นโศกเป็นเริงอะไรไปได้ทั้งนั้น
คราวนี้เจ้าพระยาเทเวศร์เล่นละครดึกดำบรรพ์ กรมหมื่นมหิศรหนุนให้เขียนแต่งหน้าตัวละครก็ลองดู ด้วยรู้ทางเขียนหน้าในกระดาษอยู่แล้วว่าอย่างไรจะงาม เมื่อมาเขียนแต่งหน้าคนเข้าก็แก้ไขไปหางามสำเร็จ สวยๆ ไปหมดด้วยกันทั้งนั้น จนกรมหมื่นมหิศรออกปากว่า ดูตัวละครเหมือนเป็นพี่น้องกันทั้งโรง ทั้งนั้นก็เป็นด้วยแต่งเข้าหาหลักที่งามอย่างเดียวกัน คุณหญิงนัฏกานุรักษ์คนหนึ่ง จะต้องถูกเขม่าป้ายขอบตา เพราะว่าตาแกเล็กกว่าคนปกติมาก ใครก็ไม่ยากเท่าเด็กหญิงจีบ นั่นตาแหกไปข้างหนึ่ง เพราะออกฝีดาษแล้วจะต้องเป็นตัวสังข์ตกเหวที่สำคัญด้วย เพราะเป็นเด็กกล้าสามารถกระโดดจากที่สูงลงร่างแหได้ไม่กลัวเลย จะหาตัวแทนไม่ได้ จึงต้องพยายามเขียนแก้ตาแหกให้เห็นเป็นตาดี ก็ได้สำเร็จ
ตามที่กราบทูลมานี้ คงจะเข้าพระทัยได้ ว่าศิลปะแต่งหน้านั้นเป็นทางดำเนินของเกล้ากระหม่อมมาทีเดียว แต่เมื่อมาเห็นผู้หญิงเขาแต่งหน้ากันเข้าก็ให้นึกสังเวช เป็นต้นว่าได้สีที่สำหรับทาปากมาก็ทาไปตามปากเดิมของตัว ถ้าคนปากบาง ดูก็มีสีสดงามขึ้น ถ้าคนปากหนาแล้วดูหน้าเกลียดหน้ากลัวพิลึก จะกราบทูลให้เข้าพระทัยก็คือคนที่ปากงามอยู่แล้วทาตามปากเดิมได้ ที่ปากไม่งามต้องทาแก้ คือทาจำเพาะแต่ที่จะเห็นงาม เหลือกว่านั้นไม่ทา ไม่มีสีก็ไม่ค่อยเห็น ทากันไปตามบุญตามกรรมนั้นจะหางามหาได้ไม่เลย ตามที่มีครูหัดให้คนรู้จักงามในการแต่งหน้านั้น เกล้ากระหม่อมโมทนาในใจด้วยเป็นอย่างยิ่ง
วิชาแต่งหน้าให้สวยนั้น ฝรั่งจะเรียกว่ากระไรก็ช่าง เกล้ากระหม่อมอยากจะเรียกว่าวิชา “สรีสำรวย” คำนี้เอาอย่างมาจากคำ “สรีสำราญ” ในภาษาเขมร “สรี” แปลว่า หญิง อักษรเคลื่อนตกมาจากคำ “สตรี” แห่งภาษาสํสกฤต “สำรวย” แปลว่าทำให้สวย “สวย” ว่างามเองโดยธรรมชาติ “สำรวย” ว่าแกล้งทำสวย “สรีสำราญ” ความว่าทำให้ผู้หญิงเบา
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด