- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
๑คำถามที่ ๕ ว่าคำ “กลาโหม” กับคำ “พลัมภัง” ที่เรียกเป็นชื่อกรมนั้น มาแต่อะไร
ตอบคำถามที่ ๕ ต้องเพิ่มคำ “มหาดไทย” เข้าอีกคำ ๑ เพราะใช้เป็นชื่อกรมคู่กับกลาโหม อันคำกลาโหม มหาดไทย และพลัมภังทั้ง ๓ คำนี้มิใช่ภาษาไทย คงเป็นคำมาแต่ภาษาสันสกฤตหรือภาษามคธ (ฝรั่งเรียกว่าภาษา “บาลี”) ได้ลองค้นดูในหนังสือพจนานุกรมภาษาบาลีของอาจารย์ชิลเดอร์ พบคำ “กลโห” Kalaho มีอยู่ในนั้น แปลความว่า “วิวาท” Quarrel อย่าง ๑ ว่า “วุ่นวาย” Strife อย่าง ๑ ว่า “รบประจันบาน” Battle อย่าง ๑ ดูสมกับที่เอามาใช้เป็น ชื่อกรมฝ่ายทหาร ในพจนานุกรมนั้นมีอีกคำหนึ่งว่า “มหทย” Mahadaya แปลความว่า “เมตตายิ่ง” Very Compassionateอย่าง ๑ “กรุณายิ่ง” Very Merciful อย่าง ๑ ดูก็สมกับที่เอามาใช้เป็นชื่อกรมฝ่ายพลเรือน แต่คำพลัมภังมีเพียงเค้าเงื่อนในพจนานุกรมเป็น ๒ ศัพท์ คือว่า “พลัม” แปลว่า Strength, Power, Force ล้วนหมายความว่า กำลังอย่าง ๑ อีกนัยหนึ่งแปลว่า “ทหารบก” Army หรือ “กองทหาร” Troop และในพจนานุกรมมีอีกคำหนึ่งว่า “อัมโภ” Ambho แปลว่า “ก้อนกรวด” Pebble ถ้าเอา ๒ คำนี้เข้าสนธิกันเป็น “พลัมโภ” ดูใกล้กับคำพลัมภัง ประหลาดอยู่ที่ตามกฎหมายทำเนียบศักดินา มีกรมพลัมภังอยู่ทั้งในกระทรวงมหาดไทยและในกระทรวงกลาโหม เจ้ากรมพลัมภังมหาดไทย เป็นที่พระยาจ่าแสนบดีและเจ้ากรมพลัมภังกลาโหมเป็นที่พระยาศรีเสาวราชภักดี ฉันได้เคยสืบถามพวกข้าราชการชั้นเก่าในกระทรวงมหาดไทย ว่ากรมพลัมภังนั้นแต่เดิมมีหน้าที่อย่างไร เขาบอกว่ากรมพลัมภังนั้นกล่าวกันมาว่าแต่โบราณ เป็นเจ้าหน้าที่สำหรับคุมปืนใหญ่ ถ้าเช่นนั้นชื่อกรมพลัมภังก็อาจจะมาแต่คำ “พลัมโภ” ที่ในพจนานุกรมแปลคำ “อัมโภ” ว่า “ก้อนกรวด” อาจหมายถึงวัตถุที่ใช้เป็นกระสุนของปืนใหญ่ชั้นเดิมก็เป็นได้ ความที่สันนิษฐานมาเป็นวินิจฉัยมูลของคำ “กลาโหม” “มหาดไทย” และ “พลัมภัง” ว่ามาแต่อะไร
ยังมีวินิจฉัยที่ควรกล่าวต่อไปถึงเหตุที่เอาคำ “กลาโหม” กับ “มหาดไทย” มาใช้เป็นชื่อกรม อธิบายข้อนี้มีอยู่ในหนังสือพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยากับในกฎหมายทำเนียบศักดินาประกอบกันว่า เมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้กำหนดข้าราชการเป็น “ฝ่ายทหาร” และ “ฝ่ายพลเรือน” ทรงตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีขึ้น ๒ คน คือ เจ้าพระยามหาเสนาบดีให้เป็นหัวหน้าข้าราชการฝ่ายทหาร คน ๑ เจ้าพระยาจักรีให้เป็นหัวหน้าข้าราชการฝ่ายพลเรือน คน ๑ ผู้ช่วย Staff ของอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารรวมเข้าเป็นกรม ให้เรียกว่า “กรมกลาโหม” ผู้ช่วยของอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนก็รวมเป็นกรมเช่นเดียวกัน ให้เรียกว่ากรมมหาดไทย จึงมีกรมกลาโหมและกรมมหาดไทยเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้ เพิ่งมาบัญญัติให้เรียกกรมที่มีเสนาบดีเป็นผู้บัญชาการว่า “กระทรวง” (ตรงกับ Ministry) เมื่อรัชกาลที่ ๕
บางทีจะมีนักเรียนประวัติศาสตร์อยากรู้ ว่าเมื่อก่อนสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกำหนดข้าราชการให้เป็นฝ่ายทหารและพลเรือนนั้น ระเบียบการปกครองในกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างไร ข้อนี้มีเค้าเงื่อนอยู่ในหนังสือพงศาวดารแลกฎหมายเก่าพอจะเก็บความมาแสดงไว้ ธรรมดาการปกครองบ้านเมืองมีข้อสำคัญอันเป็นหลัก ๒ อย่าง คือเวลามีข้าศึกศัตรูมาแต่ภายนอก ชาวเมืองต้องช่วยกันรบพุ่งต่อสู้ศัตรูอย่าง ๑ เวลาบ้านเมืองเป็นปกติชาวเมืองต้องช่วยกันทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญสุขอย่าง ๑ การต่อสู้ศัตรูภายนอกตรงกับการทหาร การทำนุบำรุงบ้านเมืองตรงกับการพลเรือน การทั้ง ๒ อย่างนี้มีสำหรับบ้านเมืองมาแล้วแต่ดึกดำบรรพ์ วิธีการปกครองบ้านเมืองใหญ่น้อยถึงระเบียบจะผิดกันประการใด ก็คงอยู่ในหลัก ๒ อย่างที่ว่ามาด้วยกันทั้งหมด ว่าเฉพาะระเบียบชั้นเดิมของกรุงศรีอยุธยาในการทหารมีกฎหมายบังคับว่าบรรดาชายฉกรรจ์ (ตั้งแต่อายุ ๑๘ ปี จนถึง ๖๐ ปี) เว้นแต่พระภิกษุ มีหน้าที่ต้องช่วยกันรบศัตรูภายนอกตามความสามารถแห่งตนหมดทุกคน (เป็น Universal service) เนื่องต่อหน้าที่นั้นจึงมีกฎหมายบังคับว่า ผู้ชายทุกคนเมื่ออายุเข้าเขตฉกรรจ์ต้องไปลงชื่อในทะเบียนที่กรมสัสดีมีสังกัดในกรม Regiments ต่างๆ อันมีมูลนายสำหรับปกครองบังคับบัญชา และเรียกระดมนำไปรบพุ่งในเวลาเกิดศึกสงคราม ก็ศึกสงครามนานๆ จะมีสักครั้งหนึ่ง บ้านเมืองโดยปกติมีการส่วนทำนุบำรุง คือฝ่ายพลเรือน มากกว่าฝ่ายทหาร จึงให้กรมต่างๆ มีหน้าที่ทำการงานทางฝ่ายพลเรือนในเวลาว่างสงคราม ว่าโดยย่อคือคนพวกเดียวกันนั่นเองทั้งนายไพร่ ต้องทำราชการทั้งเป็นทหารและเป็นพลเรือน สุดแต่มีการฝ่ายไหนเป็นสำคัญ เมื่อก่อนตั้งระเบียบราชการเป็นฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนนั้น ในราชการพลเรือนมีกรมใหญ่ ๔ กรม คือ “กรมเมือง” เป็นพนักงานปกครองท้องที่และปราบโจรผู้ร้าย กรม “กรมวัง” เป็นพนักงานศาลยุติธรรม (ที่เรียกว่ากรมวังเพราะแต่โบราณพระเจ้าแผ่นดินทรงพิพากษาคดี โรงศาลอยู่ในพระราชวัง หัวหน้ากรมวังได้ว่าโรงศาล อย่างเป็น Minister of Justice) กรม ๑ “กรมพระคลัง” เป็นพนักงานเก็บทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน กรม ๑ “กรมนา” เป็นพนักงานบำรุงกสิกรรม กรม ๑ หัวหน้า ๔ กรมนี้ เห็นจะเรียกว่า “จตุสดมภ์” มาแต่เดิม มีศักดิ์เสมอกันทั้ง ๔ คน เป็นใหญ่ยิ่งกว่าข้าราชการทั้งปวง เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งกำหนดราชการให้เป็นฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนมีอัครมหาเสนาบดีเป็นหัวหน้าฝ่ายละคนนั้น ไม่ใช่แบ่งข้าราชการเป็นทหารพวก ๑ เป็นพลเรือนพวก ๑ อย่างทุกวันนี้ ข้าราชการทั้ง ๒ ฝ่ายยังมีหน้าที่ต้องทำทั้งการทหารและการพลเรือนด้วยกันอยู่อย่างเดิม ข้อนี้จะพึงเห็นได้ในหนังสือพงศาวดาร เมื่อกล่าวถึงการศึกสงครามปรากฏชื่อข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนเป็นแม่ทัพนายกองสมทบทุกคราว ตัวแม่ทัพที่ในพงศาวดารเชิดชูเกียรติคุณว่าเป็นอย่างพิเศษ เช่น เจ้าพระยาโกษา (ขุนเหล็ก) ที่ไปตีเมืองพม่าครั้งรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ดี เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ครั้งกรุงธนบุรีก็ดี เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงหเสนี) ในรัชกาลที่ ๓ ก็ดี ล้วนมีตำแหน่งเป็นข้าราชการฝ่ายพลเรือนทั้งนั้น แม้ที่สุดเมื่อยกกองทัพไปรบพวกฮ่อในรัชกาลที่ ๕ เจ้าพระยาภูธราภัยและเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรงแม่ทัพก็เป็นข้าราชการพลเรือน วิธีที่ข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนสมทบกันในการทำศึกเพิ่งเลิก เมื่อตั้งพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารใน พ.ศ.๒๔๔๘ แต่นั้นข้าราชการฝ่ายทหารกับข้าราชการฝ่ายพลเรือนจึงแยกหน้าที่ขาดจากกัน
หากจะมีใครถามว่า ถ้าข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนยังต้องสมทบรบพุ่งข้าศึกอยู่อย่างเดิมต่อมา ที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหารและอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือนขึ้นนั้นเพื่อประโยชน์อันใด ข้อนี้พิจารณาในเรื่องพงศาวดาร และในกฎหมายเก่าประกอบกับขนบธรรมเนียมที่มีสืบมาภายหลัง เห็นว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงจัดการอย่างนั้นเพื่อประโยชน์ ๒ อย่าง คือ เพื่อควบคุมการปกครองตามหัวเมือง To Control the Provincial Administrations อย่าง ๑ เพื่อประสานงานในรัฐบาลกลาง To Coordinate the Central Administrations อย่าง ๑ มีอธิบายดังจะกล่าวต่อไปนี้
การปกครองแต่โบราณถืออาณาเขต “เมือง” (ซึ่งเดี๋ยวนี้เรียกว่า “จังหวัด”) เป็น “หน่วย” Unit และถือเอาการฝ่ายทหาร คือที่จะต้องรบพุ่งป้องกันบ้านเมืองเป็นใหญ่ แต่ละเมืองกำหนดเหมือนกับเป็นที่ตั้งกองพลอันหนึ่ง เกิดศึกเมื่อใดเจ้าเมืองก็เป็นนายพลนำทหารออกรบพุ่ง ข้อนี้พึงสังเกตได้ในทำเนียบราชทินนามของเจ้าเมืองชั้นเก่า ชื่อเป็นนายทหารแทบทั้งนั้น ยกตัวอย่างดังเช่นเจ้าเมืองนครราชสีมาเป็นพระยาคำแหงสงคราม เจ้าเมืองกำแพงเพชรเป็นพระยารามรณรงค์สงคราม เจ้าเมืองราชบุรีเป็นพระอมรินทฤาชัยเป็นต้น เวลาบ้านเมืองว่างศึกสงคราม เจ้าเมืองก็เป็นหัวหน้าในการพลเรือนทำนุบำรุงบ้านเมือง ก็หัวเมืองมีมากด้วยกันและผู้เป็นเจ้าเมืองมีความสามารถต่างกัน ความเป็นไปในหัวเมืองคงเลวบ้างดีบ้างต่างๆ กัน จึงทรงตั้งอัครมหาเสนาบดีกลาโหมขึ้นสำหรับตรวจตราว่ากล่าวการฝ่ายทหาร อัครมหาเสนาบดีมหาดไทยสำหรับตรวจตราว่ากล่าวการฝ่ายพลเรือนทั่วทุกหัวเมืองในพระราชอาณาเขต ข้อนี้มีในหนังสือเรื่องเมืองไทยที่มองสิเออร์เดอลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสซึ่งเข้ามา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๓๐ พรรณนาวิธีการปกครองในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก็ว่าเสนาบดีกลาโหมว่าการฝ่ายทหารและเสนาบดีมหาดไทยว่าการพลเรือนตามหัวเมืองทั่วทั้งพระราชอาณาเขต หรือถ้าว่าอีกอย่างหนึ่ง ยังใช้แบบที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งสืบมาจนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่เมื่อสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต พระเพทราชาชิงได้ราชสมบัติ พวกข้าราชการที่รังเกียจพระเพทราชาพากันชักชวนเจ้าเมืองนครราชสีมาและเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชให้ตั้งแข็งเมือง ต้องรบพุ่งกันมากจึงปราบลงได้ แต่นั้นคงเป็นเพราะสมเด็จพระเพทราชาไม่ไว้วางพระราชหฤทัยในอัครมหาเสนาบดีเห็นว่ามีอำนาจมากนัก จึงเปลี่ยนประเพณีเดิมแบ่งหัวเมืองออกเป็น ๒ ภาค บรรดาหัวเมืองข้างฝ่ายเหนือให้มหาดไทยบังคับบัญชา ทั้งในการฝ่ายทหารและพลเรือน หัวเมืองฝ่ายใต้ก็ให้กรมกลาโหมบังคับบัญชาทั้งการฝ่ายทหารและพลเรือนเช่นเดียวกัน การบังคับบัญชาหัวเมืองจึงแยกกันโดยเอาท้องที่เป็นหลักแต่นั้นมา ถึง พ.ศ. ๒๒๗๖ เมื่อพระเจ้าบรมโกศจะได้ราชสมบัติต้องรบกับเจ้าอภัยเจ้าฟ้าปรเมศวร์เป็นศึกกลางเมืองดังกล่าวมาแล้วในคำตอบตอนอื่น ในพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ อ้างว่าครั้งนั้นเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีกลาโหมมีความผิด (จะผิดอย่างไรหาปรากฏไม่) พระเจ้าบรมโกศจึงตรัสสั่งให้ย้ายการบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้จากกรมกลาโหมไปขึ้นในเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ แต่นั้นหัวเมืองฝ่ายใต้ก็ไปขึ้นอยู่ในกรมพระคลังมาจนตลอดสมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรี ครั้นถึงรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้ย้ายการบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้กลับไปขึ้นกรมกลาโหมตามเดิม แต่ให้หัวเมืองท่าคงขึ้นอยู่ในกรมพระคลัง (ถึงชั้นนี้มักเรียกกันว่า “กรมท่า”) หัวเมืองทั้งปวงก็แยกกันขึ้นอยู่ใน ๓ กรมสืบมาจนในรัชกาลที่ ๔ จึงเปลี่ยนลักษณะการบังคับบัญชาหัวเมือง ให้กลาโหมบังคับบัญชาฝ่ายทหาร และให้มหาดไทยบังคับบัญชาฝ่ายพลเรือนทุกหัวเมืองทั่วทั้งพระราชอาณาเขต ถ้าว่าอีกนัยหนึ่งก็คือกลับไปใช้แบบเดิมซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงตั้งไว้นั่นเอง
ส่วนที่ว่าเพื่อประโยชน์ประสานงานในรัฐบาลกลางนั้น เดิมมีจตุสดมภ์กรมเมือง วัง คลัง นา เป็นหัวหน้า ราชการในกรมใดจตุสดมภ์กรมนั้นก็กราบบังคมทูล พระเจ้าแผ่นดินต้องทรงพระราชดำริประสานงานกรมต่างๆ ให้เข้านโยบายอันเดียวกันคงเป็นการลำบากแก่พระองค์มาก เมื่อตั้งตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีจึงตั้งคณะราชการผู้ใหญ่ “ลูกขุน ณ ศาลา” (ทำนอง Cabinet Council) ขึ้นด้วยพร้อมกัน อัครมหาเสนาบดีมหาดไทยเป็นนายกคณะลูกขุนฝ่ายพลเรือน อัครมหาเสนาบดีกลาโหมเป็นนายกคณะลูกขุนฝ่ายทหาร เวลาที่มีราชการที่ต้องคิดวินิจฉัยเกิดขึ้น ให้คณะลูกขุนประชุมปรึกษากันก่อน อัครมหาเสนาบดีนำความเห็นตามที่ได้ปรึกษากันนั้นขึ้นกราบบังคมทูล การที่จัดนี้ถ้าว่าอีกนัยหนึ่งคือพระเจ้าแผ่นดินทรงเปลื้องพระราชภาระ ส่วนการชั้นต้องคิดประสานวินิจฉัยต่างๆ ไปให้เป็นหน้าที่ของคณะลูกขุน ณ ศาลาปรึกษากันก่อนแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อจะได้ทรงพระราชวิจารณ์และดำรัสสั่งสะดวกขึ้น ความที่กล่าวมานี้มีหลักฐานพึงเห็นได้ด้วยมีศาลาลูกขุนฝ่ายขวาสำหรับประชุมลูกขุนทหารหลัง ๑ ศาลาลูกขุนฝ่ายซ้ายสำหรับประชุมลูกขุนพลเรือนหลัง ๑ ที่ในพระราชวังทั้งที่พระนครศรีอยุธยาและในกรุงเทพฯ นี้และยังมีหลักฐานอีกอย่างหนึ่งที่แบบจดหมายใบบอกหัวเมืองแต่ก่อน ขึ้นต้นว่า “ขอให้นำความขึ้นเสนอต่อพณะหัวเจ้าท่านลูกขุนศาลา” ดังนี้ทุกฉบับยังใช้แบบนั้นอยู่จนเวลาแรกฉันเข้าบัญชาการกระทรวงมหาดไทย
ว่าต่อไปถึงอำนาจอัครมหาเสนาบดึกลาโหม มหาดไทยที่มีในราชธานี พิจารณาดูตามหลักฐานที่ปรากฏ ดูเป็นแต่นายกคณะลูกขุนดังอธิบายที่กล่าวมาแล้ว ไม่มีอำนาจที่จะบังคับบัญชากรมอื่นๆ นอกจากในกรมกลาโหมหรือมหาดไทย “แต่มีหน้าที่หมายสั่งราชการ” ต่างๆ เป็นต้นว่าพระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไปไหนก็ดี หรือจะทำการพระราชพิธีอย่างใดๆ ก็ดีกรมวังเป็นต้นรับสั่งเขียน “หมายรับสั่ง” ส่งไปยังมหาดไทยและกลาโหม มหาดไทยก็ “ตัดหมาย” คือคัดแยกเฉพาะการอย่างใดอันเป็นหน้าที่ของกรมฝ่ายพลเรือนกรมใด สั่งไปยังกรมนั้นๆ กลาโหมก็ตัดหมายสั่งกรมฝ่ายทหารเช่นเดียวกันแล้วคอยตรวจให้รู้ว่ากรมนั้นๆ ได้กระทำตามสั่ง หน้าที่หมายสั่งราชการทำมาจนจัดแก้ไขวิธีการปกครองเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ฉันเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงได้ส่งไปยังกระทรวงวังให้สั่งแต่กระทรวงเดียว
-
๑. ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ พระยาอินทรมนตรีฯ สนใจในโบราณคดี ได้มีจดหมายทูลถามสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ณ ที่ประทับเมืองปีนัง เมื่อทรงมีลายพระหัตถ์ตอบไปเมื่อใด ก็ถวายสำเนานั้นมาแนบมากับลายพระหัตถ์ ถึงสมเด็จกรมพระยานริศฯ เป็นระยะๆ สำเนานี้ทรงแนบมาพร้อมกับลายพระหัตถ์ ลงวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ อันจัดพิมพ์อยู่ในสาส์นสมเด็จ ภาคที่ ๒๗ แล้ว ↩