- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์เวรลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ได้รับประทานแล้ว
พระพุทธรูปที่พระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งเรียกกันว่ารูปพระเจ้าอู่ทองนั้น เกล้ากระหม่อมก็เคยเห็น และพระยาโบราณก็ได้บอกเหมือนกัน ว่ากรมหลวงเทพทรงสร้างไว้เป็นของแทน องค์เดิมนั้นเชิญลงไปกรุงเทพฯ เมื่อเกล้ากระหม่อมได้ทราบว่าเป็นของแทนทั้งเห็นเป็นพระพุทธรูปต้นๆ ก็ไม่ได้ใส่ใจอะไรอีก
ตามลายพระหัตถ์ตรัสอ้างถึงร่างจารึก เรื่อง“ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามเมื่อรัชกาลที่ ๓ เกล้ากระหม่อมจะได้เคยอ่านหรือไม่ก็สงสัย กรรมการพุทธรัตนสภาเคยตีพิมพ์แจกคราวหนึ่ง ฉบับนั้นได้อ่าน แต่จะตีพิมพ์ออกจากต้นฉบับอันเดียวกันหรือมิใช่ก็ไม่ทราบ แต่ถึงจะได้อ่านแล้วก็ลืมหมด เพราะกาลนานมาแล้ว จึ่งได้ไปขอยืมฉบับก็ตรัสอ้างถึงนั้นจากหอสมุดมาอ่านดู แต่ก็ได้เรื่องพระเทพบิดรน้อยไปกว่าพระดำรัสเล่าในลายพระหัตถ์นั้นเสียอีก
เรื่องพระเทพบิดร หรือพระเชษฐบิดรนั้น ได้เคยพบในพระราชกำหนดใหม่แห่งกฎหมายซึ่งหมอปลัดเลตีพิมพ์ ได้เปิดขึ้นตรวจดูครั้งนี้อีก อยู่เล่ม ๒ หน้า ๕๐๒ บทที่ ๔๐ กล่าวเลเพลาดพาดเป็นใจความว่าคนแต่ก่อนเมื่อครั้งกรุงเก่า เวลาถือน้ำตรุษสารทก็ไปไหว้พระเชษฐบิดรก่อนคนเดี๋ยวนี้ก็ทำตาม เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง ทั้งนี้เป็นด้วยพระเจ้าแผ่นดินหลงมัวเมายกพระองค์ ทำให้คนขาดพระไตรสรณาคม แต่นี้ต่อไปถึงเพลาถือน้ำตรุษสารท ให้นมัสการพระรัตนตรัยแล้วแผ่เมตตาจิต พระราชกำหนดนี้ตราไว้ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๒๘ (เสวยราชย์ได้ ๔ ปี)
พระราชกำหนดนี้ “อิน” มากเต็มที่ แปลว่าท่านผู้แก่วัดแต่งไปเที่ยวเมืองเขมรดูปราสาทหินต่างๆ สังเกตเห็นเป็นเทวสถานโดยมาก ที่เป็นพุทธสถานมีน้อย ซ้ำถูกแกล้งแปลงเป็นเทวสถานเสียก็มี เห็นได้ว่าเวลาโน้นพุทธศาสนกับไสยศาสตร์แข่งแย่งกัน พระพุทธศาสนาออกจะแพ้ พระเจ้าอู่ทองอยู่ในยุคที่ศาสนาแข่งแย่งกัน คนครั้งนั้นแม้ไหว้รูปเทวดาอารักษ์ก็ควรจะอภัย จะปรับว่าขาดพระไตรสรณาคมและมหากษัตริย์มัวเมาเห็นจะหนักมือเกินไป
ตามพระราชกำหนดใหม่บทที่ ๔๐ นั้น เป็นอันฟังได้ว่ารูปพระเจ้าอู่ทองนั้นเดิมเป็นเทวรูป ใน พ.ศ. ๒๓๒๘ ได้เชิญลงมาไว้ในกรุงเทพฯ แล้ว เพราะเห็นว่าไหว้ขาดพระไตรสรณาคมจึงได้แก้เป็นพระพุทธรูป ข้อนี้เป็นหลักอันหนึ่งแน่ และในการแก้นั้นต้องว่าหล่อใหม่ ถ้าบวชเทวรูปเป็นพระพุทธรูปก็คงเห็นปรากฏอยู่
คำว่า “พระนาก” นั้น เอาเป็นแน่ความหมายว่าหล่อด้วยทองแดง ในตำนานสร้างวัดพระเชตุพนมีกล่าวว่า พระพุทธรูปเขาอินเมืองสวรรคโลกหล่อด้วยนาก เชิญมาตั้งในวิหารตะวันออกองค์ใหญ่มากจะต้องเป็นว่าทองคำเปล่าๆ ที่เข้าทองผสมนั้นเป็นการพิเศษเพื่อจะทำให้สีงามขึ้น จำจะต้องเป็นของเล็กๆ เพราะเหตุดังนั้นที่ได้ชื่อว่า “พระนาก” จึงมีมากองค์ คำโบราณก็มีปรากฏอยู่ว่า “ขอแหวนทองแดงผูกมือน้องข้า” คำนี้ยอมปรากฏว่า เครื่องอาภรณ์คนสามัญแต่ก่อนใช้ทองแดง ซ้ำไปได้ยินเขาเล่นเพลงกันที่เขตปักษ์ใต้ กล่าวว่า “พี่จะให้แหวนฮั่ง” ฟังไม่เข้าใจ เจ้าพระยาศิริธรรม (พระยาละคร) อธิบายว่า แหวนฮั่งคือแหวนงั่ง คำนี้ควรจะเข้าใจด้วยเหมือนกับ เฮิน ว่า เงิน แต่ญาณไม่แล่น และว่างั่งนั้นคือทองแดง คำบอกอันนี้ทำให้เข้าใจต่อไปอีกว่างั่งนั้นแปลว่าทองแดง อันนี้ก็ตรงกับคำร้องของเราชาวบ้านที่ใส่กำไลนากนั้น ก็ทำให้แปลออกขึ้นว่าเดิมใส่กำไลทองแดงแล้วมาเจือทองขึ้นภายหลังเพื่อให้มีสีงาม พานพระศรีและอื่นๆ อันเป็นเครื่องราชูปโภคซึ่งตั้งถวายในวันพระนั้นก็แปลว่าทำด้วยทองแดง เพราะปรารถนาจะหนีไม่ใช้เครื่องทองในเวลาทรงศีล แต่ก็กลับเอาทองเจือเข้า เหตุด้วยลืมหลักเดิม ที่จริงเอาทองเข้าเจือนั้นออกจะเสียทองไปด้วยไม่จำเป็น คำพระศรีของเราเห็นจะมาแต่คำมลายูซึ่งเขาเรียกว่าสิริ หมายความว่าพลู เขาเรียกกินพลู เราเรียกกินหมาก
นึกฉุนจะต้องทูลบ่นด้วยเรื่องเย็บหนังสือ กฎหมายฉบับหมอปลัดเล ซึ่งเอามาค้นดูพระราชกำหนดอันอ้างถวายมานี้เอง ได้ส่งไปเย็บหลังใหม่ เพราะหลังกระดาษเก่าเกิดเป็นตัวกินหนังสือทะลุไปด้วย ได้มาเมื่อเย็บหลังใหม่แล้วถูกตัดใบกระดาษเข้าไปเสียเกือบถึงตัวหนังสือ จดอะไรไว้ที่หัวกระดาษก็ขาดหายไปหมด กฎหมายสองเล่มนี้ได้เย็บใบปกใหม่ ๓ ครั้งแล้ว ถูกตัดอย่างโนคอมมันเซนส์เข้าไปทุกที ถ้าเย็บ ๑๐ ครั้งหนังสือจะต้องเป็นอ้ายหวือ ออกจะเข็ด คราวหลังถ้าใบปกเสียก็จะไม่เย็บใหม่ จะฉีกใบปกทิ้งเสียเท่านั้น หนังสือจะได้ไม่สูญ ฯ
ข้อต่อไปนี้จะทูลถามเพื่อเป็นการเรียนรู้ บุษบกไม้จันทน์ซึ่งสมเด็จกรมพระสวัสดิ์เอาไปตั้งไว้ที่ตำหนักนั้น ทราบแต่ว่าทูลกระหม่อมทรงทำ แต่จะทำสำหรับอะไรและตั้งที่ไหนก็หาทราบไม่ เคยเห็นพระพุทธสิหิงค์ (จำลององค์เล็ก) ตั้งในบุษบกที่พุทธมณเฑียร แต่จะเป็นบุษบกไม้จันทน์นี้หรือมิใช่ แมวเต็มทีจำไม่ได้ ฝ่าพระบาททรงทราบอย่างไรบ้างโปรดตรัสบอกให้ได้ทราบไว้ด้วย จะเป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า
คราวนี้จะทูลถวายของแห้ง อันความเป็นไปในเกาะบาหลีนั้นชีวิตอยู่ที่กำแพงและประตู ตะเกียกตะกายทำอวดอยู่เท่านั้น ส่วนเรือนที่อยู่นั้นอย่างไรก็ได้ นี้ก็เห็นได้ว่าต้องไม่มีงานรับแขกในเรือน มีงานจะโอ่อวดกันก็ไปอวดกันที่เทวาลัย เหมือนกับไทยเราที่มีงานก็ไปวัดดุจไหว้พระตรุษสงกรานต์และงานกฐินเป็นต้น กำแพงและประตูนั้นทำด้วยของสองอย่าง คือดินดานและอิฐ ของทั้งสองอย่างที่ใช้นั้นไม่ใช่ของดี เห็นมีที่ผุกร่อนเพราะน้ำฝนกัดไปได้ กำแพงบ้านโดยมากต้องเอาฟางโปะไว้ข้างบนเพื่อกันฝนชนิดที่เอามาก่อกำแพง ทั้งนี้ก็เป็นแนวเดียวกันกับตึกดินโคราช แต่เสียใจที่ตึกดินโคราชของเราคนภายหลังจะไม่ได้เห็น เพราะจะเปลี่ยนเป็นไม้กระยาเลยมุงสังกะสีอย่างกรุงเทพฯ ไปเสียหมด นี่แสดงว่าไทยเราแพ้ชาวบาหลี ไม่มีใจที่จะรักษาประเพณีเก่าของตน มีแต่เปลี่ยนแปลงไปตามความตื่นเต้นแห่งกาละ อันไม้กระยาเลย มุงสังกะสีนั้น มันเลวกว่าตึกดินเป็นไหนๆ ก็ยังทำที่เลวกว่า แล้วใช่ว่าราคาจะถูก และจะทำได้ง่ายเหมือนกรุงเทพฯ ก็หาไม่ ต้องประทุกไม้กระยาเลยกับสังกะสีขึ้นไป ต้องเสียราคาเป็นอันมาก ได้ไปเห็นสโมสรเสือป่าหรืออะไรเข้าที่นางรองก็ลืมเสียแล้ว เรือนนั้นมุงด้วยสังกะสี แปลว่าต้องบรรทุกสังกะสีโดยทางรถไฟขึ้นไปโคราช แล้วถ่ายบรรทุกเกวียนไปนางรอง จะเสียค่าบรรทุกแพงขึ้นสักเท่าไร เห็นเข้าก็อ่อนใจ ถ้าจะมุงคาอย่างปกติบ้าน หรือจะมุงกระเบื้องไม้เต็งรังอย่างโบสถ์วัดที่นั่น ก็จะดีกว่าถูกกว่าขนสังกะสีขึ้นไปเป็นไหนๆ ทั้งนี้เป็นด้วยเข้าใจผิดว่า มุงสังกะสีนั้นเป็นของประเสริฐเลิศแล้วเหมือนอย่างกรุงเทพฯ ไม่เข้าใจว่าที่กรุงเทพฯ ต้องมุงสังกะสีเพราะถูกห้ามไม่ให้มุงจาก ในเมืองชวาเกือบจะหาหลังคามุงสังกะสีไม่ได้เลยแม้แต่เพิงที่เลี้ยงแพะก็มุงกระเบื้อง การมุงกระเบื้องนั้นไม่ยาก ไม่จำเป็นจะต้องทำโครงด้วยไม้จริง ไม้ไผ่เครื่องผูกก็มุงได้ไม่ขัดข้องเลย เมื่อไปเที่ยวเมืองเขมรศาสตราจารย์เซเดส์พูดว่า เห็นหลังคาสังกะสีก็รู้ได้ว่าเข้าเขตเมืองไทยแล้ว เกล้ากระหม่อมนึกอายเต็มที แต่ก็จริงดังนั้น
(จะมีต่อไป)
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด