- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
มีความยินดีที่จะเขียนหนังสือเวร อันได้หยุดมาตั้ง ๕ สัปดาห์ถวายต่อไปอีกตามเคย ในหนังสือเวรซึ่งเขียนส่งมาถวายเมื่อวันที่ ๑๑ เดือนก่อนนั้น ลืมกราบทูลเรื่องสมุดภาพพอคเดมีปี ๑๙๓๗ ซึ่งทรงพระเมตตาโปรดประทานเข้าไปนั้นเสียเรื่องหนึ่ง เป็นพระเดชพระคุณหาที่สุดมิได้ที่ทรงระลึกถึง เมื่อได้ตรวจดูรูปในสมุดนั้น รูปเขียนข้างต้นดูไม่สู้จะพึงใจนัก ด้วยมันขาดสี ธรรมดารูปเขียนก็ย่อมดีอยู่ที่สี เป็นต้นว่ารูปพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตก รูปเดือนหงาย รูปโรงนา อะไรเหล่านั้น เมื่อขาดสีมีแต่หมึกดำๆ ก็หมดดีกันเท่านั้น ไปรื่นรมย์เอาตอนท้ายในพวกรูปปั้น นั่นไม่เกี่ยวแก่สี ดูท่วงทีเขาคิดทำแผลงๆ เพลิดเพลินดี
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ได้รับประทานแล้ว แต่ได้ขยักไว้ ไม่เขียนสนองลายพระหัตถ์ฉบับนั้นตามถวายไปถึงชวาประเทศ ด้วยรู้สึกว่าเป็นอกาโล มาเขียนทูลสนองความถวายเอาในบัดนี้
เรื่องจับช้างนั้นฟังเขาเล่ามาหนักต่อหนัก แต่ที่ได้ฟังมาก็เป็นท่อนเป็นตอนต่อกันไม่ติด เมื่อได้มาเห็นเรื่องโพนช้าง ซึ่งพระยาเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ แต่งลงพิมพ์หนังสือรื่นระลึกเข้าก็พอใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้เรื่องที่เคยได้ฟังมาเป็นท่อนๆ ติดต่อกันเข้าได้เป็นอันมาก
ภาษาโพน ได้ยินคำเล่าว่ามีภาษาป่า ใช้พูดกันในเวลาไปโพนช้าง แต่คำภาษาป่าจะมีว่ากระไรไม่มีใครเล่าให้ฟังถึง เพิ่งมาทราบในหนังสือซึ่งพระยาเพชรพิไสยแต่งขึ้นนี้ มีตัวอย่างให้ไว้หลายคำ พิจารณาดูเป็นคำเขมรโดยมาก เห็นได้ว่าการโพนช้างของเรานั้นเขมรเป็นครู เห็นได้ไปจนสดุดีพระไพรก็เป็นภาษาเขมร อันภาษาป่านั้นที่นอกจากภาษาเขมรไปก็เป็นภาษาไทยถิ่นอื่น อาจเห็นข่าละว้าอะไรพวกนั้น นอกจากสองอย่างนี้ก็มีคำซึ่งคิดแถมขึ้น ดูเป็นทีจะเป็นการเล่นตลก เพราะคำที่ใช้ไม่เป็นภาษาซึ่งเราจะเข้าใจกัน
ขอบพระเดชพระคุณที่ทรงอธิบายคำ วังช้างประทาน ทำให้เข้าใจคำในหลักศิลาครั้งพระเจ้ารามคำแหงต่อไปอีกคำหนึ่ง ที่ว่า “ไปตีหนังวังช้างได้” นั้น หมายถึงไปตีเชือกหนัง คือเชือกบาศคล้องช้างในวังช้างได้ โปร่งใจขึ้นเป็นกอง
ข้อที่ตรัสบอกถึงวิธีจับช้างอีกอย่างหนึ่ง ด้วยวิธีล่อเข้าขังในวงพาดไม่คล้องนั้น เป็นความรู้ใหม่ซึ่งไม่เคยได้ยินใครเล่ามาเลย เมื่อได้ฟังพระดำรัสแล้วก็ได้อ่านพบอีกในคำเล่าของ ลับเบ เดอะ ชัวสี ซึ่งหม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์แปล เล่าถึงได้ตามเสด็จสมเด็จพระนารายณ์ไปดูจับช้างที่เพนียดลพบุรี กล่าวความไว้เป็นสองตอน ตอนหนึ่งกล่าวถึงวิธีเอาช้างตัวเมียไปล่อช้างป่า (ตัวสำคัญ) ให้ติดตามมาเข้าเพนียดแล้วขังไว้ (ไม่คล้อง) ค่อยปลอบโยนไปไม่ช้าก็เชื่อง อีกตอนหนึ่งกล่าวถึงวิธีจับซอง ว่าต้อนช้างโขลงเข้าไว้ในเพนียดแล้วเปิดระบายให้ออกลอดซอง ช้างชะนวนลอดออกไปแล้ว แต่ช่างป่าก็หาตามออกไปไม่ ต้องเอาคนผัดลอดซองน่ากลัวเต็มที พอช้างป่าลอดออกซองก็ปิดซองเอาไว้ แล้วคนหลายสิบคนก็เข้าผูกมัดด้วยความชำนาญน่าดูเต็มที เสร็จแล้วเปิดซองช้างก็แล่นออกไป ด้วยคิดว่าจะไปได้ แต่ติดเชือก ขณะนั้นช้างอันได้ฝึกหัดแล้วสองตัวก็เข้าผนึกลากเอาไปที่ผูก ถ้าไม่ไปเอาช้างอีกตัวหนึ่งรุนก้นก็ต้องไป ที่ผูกนั้นใช้เชือกผูกติดกับคอคร่อมเสาเป็นห่วง ช้างจะหมุนไปทางไหนเชือกก็หมุนตามไป ถ้าไม่ทำดังนั้นเชือกจะต้องขาดหรือมิฉะนั้นเสาจะต้องโค่นเป็นแน่ ตามที่เล่าตอนหลังนี้ฟังซึมซาบดี ถูกต้องเหมือนที่เคยเห็น ทำให้เชื่อได้ว่าตามที่กล่าวตอนถึงที่ว่าล่อเอาช้างสำคัญเข้ามาขังไว้ในเพนียด ปลอบโยนให้เชื่องโดยไม่ต้องคล้องนั้นก็จะถูกต้องเหมือนกัน ข้อความตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ถึงจะถ่ายทอดมาแล้วถึงสามตก คือ เดอะ ชัวสี เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสตกหนึ่ง หม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์แปลออกเป็นภาษาไทยอีกตกหนึ่ง แล้วเกล้ากระหม่อมเก็บใจความมากราบทูลอีกตกหนึ่ง แม้จะมีผิดพลาดไปบ้างก็ดี คงจะผิดแต่ถ้อยคำ ส่วนข้อความเห็นจะไม่ผิด ควรฟังได้
คราวนี้จะกราบทูลถึงข้อสงสัย อันชื่อว่า เพนียด กับ วงพาดนั้น จะเป็นของสิ่งเดียวกันหรือเป็นคนละอย่าง ในลายพระหัตถ์ซึ่งโปรดคัดความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถ์เลขาประทานไป มีคำซ้อนกันอยู่ในนั้นทั้งเพนียดและวงพาด และมีความในทางกระทำ ว่าต้อนช้างโขลงมาเข้าเพนียด โปรดให้กันช้างสำคัญซึ่งติดโขลงมาเข้าไว้ในวงพาด พิเคราะห์ดูคำนี้ก็เล็งเห็นว่าจะต้องเป็นของสองอย่างต่างกัน เพนียดสำหรับขังช้างทั้งโขลง วงพาดสำหรับขังช้างสำคัญตัวเดียว เพนียดเป็นคอกใหญ่ วงพาดเป็นคอกเล็ก และทั้งสองคอกจะต้องอยู่ติดต่อกัน จึ่งทำการคัดช้างสำคัญในโขลงแยกเอาขังในวงพาดได้ จะเดาแผนที่อันนี้ก็เป็นการยาก ด้วยไม่เคยได้เห็นเพนียดเก่าที่สมบูรณ์ ได้เห็นแต่เพนียดใหม่ที่ทะเลหญ้า มีคอกรูปสี่เหลี่ยมใหญ่อยู่นอก มีคอกรูปกลมอยู่กลาง ขับช้างต่อไล่ช้างโขลง เดินคนไปรอบคอกเล็กในท่ามกลางนั้น จะเป็นได้หรือไม่ ว่าคอกสี่เหลี่ยมใหญ่นั้นเป็นเพนียดสำหรับขังช้างโขลง คอกเล็กในกลางเป็นวงพาด สำหรับช้างสำคัญตัวเดียว แต่ภายหลังไม่ได้ใช้คอกเล็ก คือวงพาดนั้นแล้ว จึงปลูกศาลกำมะลอลงในกลางคอกเล็กนั้น
ในข้อที่เพนียดเก่าเล็กกว่าเพนียดที่ทะเลหญ้า อาจเป็นว่าแต่ก่อนไม่ได้ต้อนช้างป่ามาเข้าเพนียดมากมาย อย่างชั้นเพนียดทะเลหญ้านี้กระมัง จะต้อนมาจำเพาะหมู่ที่มีช้างสำคัญอันต้องการติดมา เพนียดที่ทะเลหญ้าจะทำสำหรับให้จุช้างมากเพื่อจับดูเล่นมากกว่าจับเอาช้างใช้การจริง ย่อมเห็นได้อยู่ที่พลับพลาข้างหน้าข้างในและที่สำหรับคนทั่วไปขึ้นดู
คราวนี้จะลองเดาคำเพนียด เห็นจะหมายว่าที่ดัก เครื่องดักนกเขาก็เรียกว่า เพนียด เพนียดช้างก็มีซองที่ปิดเปิดเพื่อดักจับเอาช้าง นับว่าเป็นเครื่องดักได้เหมือนกัน วงพาดนั้นเห็นจะหมายเอาว่าเหมือนร้านฆ้องวงคือ วงพาทย์ ข้อเดาคำนี้เป็นความเห็นเตร็จเพิ่มเติมเท่านั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญ
หลักแห่งการจับช้าง ถ้าจะว่าก็มีแต่สองอย่างเท่านั้น คือต้อนเอาเข้าคอกจับอย่างหนึ่ง กับไล่ตะลุยจับในที่แจ้งอีกอย่างหนึ่ง อะไรๆ ก็รวมอยู่ในสองอย่างนั้นสิ้น
ในหนังสือเรื่องของช้าง ซึ่งกรมรถไฟแจกเมื่อคราวทหารจัดการจับช้างที่ลพบุรี มีกล่าววิธีจับแปลกออกไปอีกสองอย่าง คือจับด้วยขุดหลุมพรางอย่างหนึ่ง ข้อนี้ไม่เชื่อเห็นว่าช้างตกหลุมขาจะหักหมด ถ้าตั้งใจจะจับตายเพื่อเอางาประสาว่าไม่มีปืนแล้วก็เชื่อได้อีกอย่างหนึ่ง จับในน้ำลึกด้วยเรือข้อนี้เชื่อ เป็นชนิดที่ชาวบ้านจับ เข้ารุมมัดเอาดื้อๆ ด้วยช้างลงไปลอยน้ำอยู่สิ้นฤทธิ์ที่จะทำอะไรแก่ใครได้ อีกวิธีหนึ่งเล่าเป็นเทพนิยาย ว่าแต่งช้างพังนำเอาเชือกบาศเข้าป่าไปโดยลำพังตัว ล่อโลมช้างพลายป่าให้หลงรัก แล้วคล้องเอามาให้คน ข้อนี้ทีจะหลงจากวิธีเช่นที่ เดอะ ชัวสี เล่าว่า เอาช้างตัวเมียไปล่อเอาช้างสำคัญในป่ามาเข้าคอกนั้นเอง
ในหนังสือ เดอะ ชัวสี มีกล่าวข้อหนึ่งถึงวิธีการครองแผ่นดินว่ามีที่ประชุมปรึกษาจำเพาะหน้าพระที่นั่ง ออกจะเป็นอภิรัฐมนตรี ผู้ซึ่งเป็นที่ปรึกษาในที่ประชุมนั้น คนหนึ่งเป็นครูสมเด็จพระนารายณ์ อายุ ๘๐ ปี หูตึง แต่สมองยังดี เป็นหน้าที่ชายหนุ่มคนโปรดจะต้องพูดตรอกเข้าไปในหู อ่านแล้วเห็นขัน ที่ปรึกษาอายุสูงนั้นเห็นจะเป็นพระโหรา ชายหนุ่มคนโปรดคิดว่าจะเป็นพระปีย์ กล่าวถึงพระลักษณะสมเด็จพระนารายณ์ว่าตรัสติดอ่าง แต่ทรงพระปัญญาล้ำเลิศ
ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด