- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
เมื่อวันที่ ๒ นี้ ได้รับลายพระหัตถ์ประทานแต่บันดุง ลงวันที่ ๒๘ มิถุนายน ฉบับ ๑ พร้อมทั้งรูปหญิงศิลปชาวบาหลี ๒ รูป แล้วซ้ำวันที่ ๖ นี้ก็ได้รับไปรษณียบัตรรูปประตู ซึ่งประทานไปแต่เกาะบาหลีอีกแผ่นหนึ่ง ไปรษณียบัตรแผ่นนี้ส่งประทานก่อนลายพระหัตถ์แต่ได้รับทีหลัง ไขว้กันไปด้วยไปทางอากาศกับทางปกติ เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า
เกาะบาหลีเป็นที่ขึ้นชื่อลือนามด้วยหญิงศิลป แต่เกล้ากระหม่อมไม่ได้นึกถึงสิ่งนั้นแม้แต่น้อยเดียว ถ้าอยากดูสิ่งนั้นก็ไม่จำต้องไปถึงบาหลี ขึ้นรถไฟไปอุตรดิตถ์แล้วบุกเข้าไปในลับแลก็ได้เห็นถมไป การห่มผ้านั้นเป็นของใหม่ รูปเขียนรูปปั้นที่เราทำๆ กันก็ไม่มีผ้าห่มทั้งนั้น เกล้ากระหม่อมใฝ่ฝันถึงเกาะบาหลีอยู่ก็ที่สิ่งก่อสร้าง แม้จะเป็นของใหม่ก็ดีเท่าที่ได้เห็นรูปฉาย เช่นซุ้มประตูอันปรากฏอยู่ในไปรณียบัตรซึ่งประทานไปนั้นเป็นต้น มีลักษณะห่างไกลกันมากกับสิ่งก่อสร้างซึ่งมีในเกาะชวา ดูปนเข้าไปข้างจีนนิดๆ ใกล้มาทางข้างไทยหน่อยๆ ชอบกลหนักหนาอยู่ แต่ก็รู้ตัวอยู่ว่าเกล้ากระหม่อมหมกมุ่นอยู่ในทางก่อสร้าง จึ่งได้มุ่งหมายหนักไปทางก่อสร้าง แท้จริงธรรมดาว่าบ้านเมืองก็จะต้องมีอะไรดูทุกอย่าง แล้วแต่ใครถนัดจะดูอะไรก็ดูสิ่งนั้น ที่มุ่งหมายไปดูหญิงศิลปนั้นเลวเต็มที จะหาประโยชน์อันยาวไปจนถึงพรุ่งนี้ก็มิได้มีเลย
การเปลี่ยนแปลงไม่ว่าสิ่งใดหมด ย่อมเกิดแต่ชนหมู่อื่นเข้าไปแทรกแซง ว่าโดยจำเพาะ ฝรั่งเข้าไปแทรกแซงสิ่งทั้งปวงก็ผันแปรไปทางฝรั่ง เกล้ากระหม่อมไปเกาะชวาหาของหาอะไรเพื่อเป็นความรู้ก็ให้นึกฉุนไปหมด มันผันแปรไปตามที่ฝรั่งชอบใจเกือบหมดทุกอย่าง เช่นละครก็เหลว หนุมานในเรื่องรามเกียรติ์รบกับอรชุนในเรื่องมหาภารตะก็ได้ ของขายก็เป็นชนิดที่เกล้ากระหม่อมเรียกว่าของครูกราเลิต อย่างกรวยปักดอกไม้ ของฝรั่งฉลักลายเทพประนมฉะนั้น จะหาซื้อของพื้นเมืองได้เป็นอันยากยิ่งนัก
เมื่อวันที่ ๓ ได้ไปช่วยการบวชหลานชายตรีอนุวัฒน์ ที่วัดประยุรวงศ์ เป็นงานคึกคักมีญาติมิตรไปช่วยกันมากอย่างน่าปลื้มใจ เกล้ากระหม่อมได้ทำหน้าที่จูงนาคเข้าโบสถ์ พระโพธิวงศ์ เป็นอุปัชฌาย์ พระธรรมปหังสนาจารย์เป็นกรรมวาจาจารย์ พระธรรมเจดีเป็นอนุศาสนาจารย์ การบวชได้สำเร็จไปแล้วด้วยดี ขอถวายพระกุศล
วานนี้ไปช่วยบวชดุษฎีดิศที่วัดเทพศิรินทร์ ลงจากรถเข้าวัดไม่ได้ ด้วยฝนตกพรำๆ ถ้าขืนเข้าไปก็เจ็บ จึ่งปล่อยชายงั่วเข้าไปแทนตัว
พรุ่งนี้พระยาฤทธิไกร (สาย) จะบวชที่วัดสระบัว ออกจะดีๆ ยังไม่เคยเข้าไปเที่ยวในวัดนั้นเลย ถ้าฝนไม่ตกก็จะไปช่วยเขา