- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ได้รับประทานทราบความแล้ว
ในการที่ฝ่าพระบาท จะเสด็จไปเยี่ยมประชวรสมเด็จพระพันวัสสาที่สิงคโปร์นั้น เป็นการที่ทรงพระดำริชอบอย่างยิ่งแล้ว เห็นหนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์เขาลงข่าว ซึ่งสืบมาได้จากกระทรวงการต่างประเทศว่า สมเด็จพระพันวัสสามาถึงสิงคโปร์แต่เช้าวันที่ ๓๐ พฤษภาคมแล้ว และได้ถ่ายลำเสด็จลงเรือ ลาลันเดีย โดยเรียบร้อยแล้ว และเรือลาลันเดียได้ออกจากสิงคโปร์แล้วแต่เวลาเย็น หวังว่าฝ่าพระบาทคงจะได้เฝ้าเยี่ยมประชวรแล้ว แล้วต่อมาได้เห็นหนังสือชายดิศบอกท่านหญิงอามว่า เรือลาลันเดียจะมาถึงเกาะสีชังวันที่ ๑ เดือนนี้เวลาค่ำ บริษัทอีสตเอเซียติคในกรุงเทพฯ มีโทรเลขถามออกไปว่า ต้องการจะให้จัดเรือไปรับเสด็จเข้ากรุงเทพฯ หรือไม่ ได้ตอบมาว่าหมอไม่มีประสงค์จะให้เสด็จถ่ายลำ เต็มใจจะให้เสด็จเข้าไปกับเรือลาลันเดีย เมื่อเป็นดังนั้นก็เป็นอันจะเสด็จถึงกรุงเทพฯ ในเช้าวันที่ ๔ มิถุนายน แล้วที่สำนักงานราชเลขานุการในพระองค์ก็มีหนังสือบอกซ้ำมาว่า เสด็จมาถึงกรุงเทพฯ วันที่ ๔ เรือจอดที่ท่าของบริษัท ณ วัดพระยาไกร เกล้ากระหม่อมก็เตรียมตัวจะไปรับเสด็จ แต่จะกราบทูลข่าวอะไรมาคราวนี้หาทันไม่ ต้องเอาไว้กราบทูลในเวรอันจะได้ถวายมาคราวหน้า
ในการที่ฝ่าพระบาททรงพระดำริ เลื่อนกำหนดเสด็จไปชวาช้าไปอีกสัปดาห์หนึ่งนั้น จะคอยฟังพระดำรัสต่อไปว่าจะเป็นประการใดแน่เกี่ยวอยู่แก่การที่จะส่งหนังสือเวรมาถวาย
เรื่องหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้านั้น จะต้องกราบทูลต่อไปอีก เพราะที่ทูลมาก่อนไม่ถี่ถ้วนทำให้ฝ่าพระบาทเข้าพระทัยผิดไปเสียบ้าง ในการที่ได้นายสายเข้าไปปั้นพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้านั้น นายสายวิ่งเข้าไปเองไม่ใช่กรรมการเลือกฟั้นเชื้อเชิญไปทำ กรรมการเห็นว่าช่างไทยในกรุงสยามมีมากมาย เดินทางประกาศให้เข้าแข่งขันชิงรางวัลอันเล็กน้อยก็เป็นทางที่จะได้ช่างฝีมือดี การนั้นก็สมคะเนที่นายสายอยากมีชื่อเสียงก็วิ่งเข้าไปแข่งขันชิงรางวัลชนะ เมื่อกรรมการจ่ายเงินรางวัล เขาก็บอกกรรมการว่าเขาไม่ต้องการเงินรางวัล เขาต้องการจะทำเพื่อให้เกิดผลมีชื่อเสียง พระรูปซึ่งหล่อขึ้นทั้งสององค์ องค์ที่จะเอาไว้ ณ วัดราชบพิธนั้น ได้ยินว่าจะประดิษฐานไว้ที่หน้าโรงเรียน ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงสร้างไว้ อันตั้งอยู่ในลานวัดเยื้องข้างพระเจดีย์ทางด้านทิศตะวันออก แต่กรรมการคิดกันจะทำที่ตั้งเป็นอย่างไรยังหาทราบชัดไม่ ที่คิดจะสร้างพระรูปพระองค์เจ้าพระอรุณขึ้นเป็นคู่กันนั้น ดูเหมือนจะเป็นความคิดของพระยาศรีสุรสงครามคนเดียว ไม่ใช่เป็นความตกลงของคณะกรรมการ ในการคิดสร้างพระรูปคู่นั้น เกล้ากระหม่อมเห็นว่าคิดเอาอย่างจากวัดบวรนิเวศ จึงเดาส่งไปให้ว่าคิดจะตั้งในพระอุโบสถอย่างวัดบวรนิเวศ แต่ที่แท้พระยาศรีสุรสงครามจะคิดอย่างไร เกล้ากระหม่อมหาทราบไม่เลย
เรื่องจับช้างนั้นหญิงไอมาเล่าว่า เด็กที่โรงเรียนมาแตร์ขึ้นไปดูกลับมาได้ไล่เลียงว่า จับกันอย่างไรไม่ได้เรื่อง เด็กบอกว่าไม่เห็น ด้วยช้างต่อมากล้วนแต่ตัวโตๆ ทั้งนั้น ช้างป่านั้นน้อยและตัวเล็กๆ ช้างต่อเข้ากลุ้มรุมล้อมแล้วจะจับกันอย่างไรเห็นไม่ได้เลย ได้ฟังคำเล่าอย่างนี้ รู้สึกว่าวิธีทำเป็นคนละอย่างกับที่กรมช้างทำที่เพนียดกรุงเก่าทีเดียว ที่กรมช้างทำอย่างที่เพนียดกรุงเก่านั้น เอาช้างต่อซึ่งจะคล้องเข้าไปในเพนียดแต่สองสามตัวไล่คนไปรอบๆ เพนียด ตัวไหนที่ต้องการล้าหลังลงมาก็คล้องเอาแล้วก็ปล่อยให้ลากบาศไป แล้วเข้าคล้องซ้ำอีกจนเห็นพอแล้ว ช้างต่อก็ออกจากเพนียด เอาคนวัดเชือกบาศแล้วต้อนช้างที่ไม่คล้องออกจากเพนียด เหลือแต่ช้างที่ติดบาศอยู่ในเพนียด ต่อนั้นไปก็มีช้างต่ออีกสองสามตัวเข้าไปโยนทามและผนึกออกไป คนซึ่งดูอยู่รอบเพนียดก็เห็นหมดว่าเขาทำอย่างไรกัน ส่วนการจับที่ลพบุรีนั้นทำเป็นอย่างโพน คือไล่ตัวที่ต้องการจับให้แตกฝูงไปตัวเดียว แล้วช้างต่อหลายตัวก็เข้าห้อมล้อม รุมจับกันจนคนดูเห็นไม่ได้ว่าจับกันอย่างไร จะเอาดูสนุกมาแต่ไหน เพียงแต่จะได้ความรู้ว่าจับกันอย่างไรก็ไม่ได้เสียแล้ว หลวงราชมุนีนั้นเดี๋ยวนี้เป็นพระราชครูพิธีแล้ว พราหมณ์พฤฒิบาศเดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว จึงเอาพระราชครูพิธีขึ้นถูไถตามมีตามได้ พูดถึงหลวงราชมุนี นึกขึ้นมาได้ ด้วยหลวงราชมุนีเรียกกันว่าหลวงศรีวาจารย์ แล้วก็เห็นว่าผิดแก้เป็นหลวงศิวาจารย์ ที่แก้เช่นนั้นตีสัมผัสแตก เกล้ากระหม่อมจึงนึกให้ว่าที่จะเป็นหลวงศรีศิวาจารย์เห็นจะไม่ผิด
อ่านฉันท์สดุดีลาไพรของเก่า ข้างท้ายมีคำกล่าวในท้ายประวัติอยู่ดั่งนี้
“๏ ส่วนพระภูธรผู้ไกร | ขอลาพระไพร |
ไปยังอโยธยาศรี | |
๏ จงสถาพรศุขมากมี | ยศล้ำโลกี |
หฤทัยมีหฤหรรษ์ | |
ทั้งนี้โสดองค์พระสรร | เพชญ์ไท้ทรงธรร- |
มเลิศนิล้ำไตรตรา | |
๏ แก้กลอนกัมพุชภาษา | แจงแจ้งเอามา |
เป็นสยามพากยพิไสย | |
๏ ฝ่ายข้างไสยสาตรนี้ใคร | ฤาจะเปรียบปูนใน |
พระองค์ไท้ทรงธรรม์ | |
๏ เมื่อเสร็จการอุ (ด) ดมกรรม์ | ได้ช้างเผือกอัน |
วิสุทธิสารบวร” |
ข้อความทั้งนี้ เห็นสมรอบตัวที่จะเป็นพระนารายณ์