- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง๑
วันที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศ ฯ
เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๗ พฤษภาคม หม่อมฉันกับหญิงพิลัย ลงเรือกำปั่นยนต์ลำชื่อลาแลนเดีย ออกจากปีนังไปเมืองสิงคโปร์เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๙ พฤษภาคม เรือ “ลาแลนเดีย” จอดเทียบท่า เขาเตรียมที่เทียบไว้สำหรับเรือ “โอเฟีย” ลำที่สมเด็จพระพันวัสสาเสด็จกลับจากชวาให้จอดต่อไปข้างท้าย เพื่อให้สะดวกในการเชิญเสด็จเปลี่ยนเรือ กำหนดจะเสด็จมาถึงสิงคโปร์วันที่ ๓๐ เรือลาแลนเดียจะรีบรับส่งสินค้าให้เสร็จในวันที่ ๒๙ พอรับเสด็จ เสด็จลงเรือแล้วเรือลาแลนเดียก็ออกจากสิงคโปร์ตรงไปกรุงเทพฯ ในเช้าวันที่ ๓๐ นั้น ในเรือไม่มีคนโดยสารพวกอื่น ได้ห้องเป็นของกระบวนสมเด็จหมดทั้งลำ
วันที่ ๒๙ นั้น หม่อมฉันขึ้นไปพักที่โอเต็ลแรฟเฟลแต่เป็นวันอาทิตย์ไม่มีอะไรจะดูในตอนเช้า ทั้งฝนสิงคโปร์ก็ตกตามเคยถึงจะไปก็ไม่สะดวก ได้แต่เดินเกร่อยู่ในบริเวณโฮเต็ลนั้นเอง แต่ก็ได้เห็นของแปลกประหลาดพอจะทูลได้บ้าง
เรื่อง ๑ มิสเตอร์ มาเกรต ในกรุงเทพฯ ตั้งบริษัททำเครื่องถมต่างๆ ส่งออกมาขายที่ปีนัง ไปฝากขายที่ห้างฝรั่งแห่ง ๑ ที่สิงคโปร์นี้ฝากขายที่โฮเต็ลแรฟเฟล มีตู้ตั้งตัวอย่างอวดที่ทางเข้าโฮเต็ลตู้ ๑ แล้วมีห้องตั้งขายเครื่องถมต่างๆ อีกห้อง ๑ พิจารณาดูฝีมือทำอยู่ข้างประณีตดี และยักเยื้องทำของต่างๆ ล่อนัยน์ตาฝรั่ง แต่ไม่เห็นบอกไว้ให้ทราบ ณ ที่ใดว่าเป็นถมสยาม จะขายดีหรืออย่างไรยังไม่พบใครที่จะถามได้
อีกเรื่อง ๑ ร้านขายไม้เท้าหวายเทศมะละกา ซึ่งเคยมีมาแต่ก่อนเดี๋ยวนี้ก็แปลก หม่อมฉันเคยเล่าเรื่องไม้เท้าถวายมานานแล้วว่า เคยถูกแขกหลอกขายไม้เท้าหวายเทศที่เมืองมะละกาว่าด้ามเป็นฝีมือทำที่เมืองไทร หม่อมฉันซื้อมาใช้ชอบใจ เที่ยวหาซื้อถวายท่านไม่ได้อยู่กว่าปี จนเมื่อหม่อมฉันไปเฝ้าสมเด็จพระพันวัสสาเสด็จมาสิงคโปร์ครั้งแรก จึงไปพบเจ๊กขายไม้เท้าอย่างนั้นอยู่ที่โฮเต็ลแรฟเฟล บอกว่าส่งหวายเทศมะละกาไปทำเป็นไม้เท้าที่เมืองญี่ปุ่น หม่อมฉันก็ซื้ออันหนึ่งหมายจะฝากไปถวาย เผอิญสมเด็จพระพันวัสสาดำรัสสั่งให้หญิงแก้วหาของสำหรับประทานฝากพระองค์ท่าน เธอไม่ทราบอะไรเหมาะมาปรึกษาหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงโอนไม้เท้าที่ซื้อไว้นั้นให้ไปเป็นของประทานฝาก เรื่องเพียงที่ทูลมานี้ท่านก็ทรงทราบอยู่แล้ว ไปคราวนี้เห็นแปลกที่คนขายไม้เท้าเปลี่ยนเป็นญี่ปุ่น มีไม้เท้ามากขึ้นและทำที่มือถือมีแปลกๆ กว่าแต่ก่อนหลายอย่าง ป้ายมีเขียนบอกไว้ที่ข้างหน้าร้านว่าไม้เท้าหวายมะละกาเหล่านี้ทำในเมืองสิงคโปร์ที่โรงงานถนน Beach Street เลขที่ (เท่าใดจำไม่ได้) พอเห็นป้ายก็เข้าใจความที่แปลกได้ตลอด เพราะตั้งแต่เกิดสงครามพวกจีนบอยค๊อตญี่ปุ่นๆ จึงต้องขายเอง จะขายเป็นของญี่ปุ่นก็เกรงจะถูกพวกจีนรังแก จึงต้องลวงว่าเป็นของทำที่เมืองสิงคโปร์ ตอนบ่ายเกิดเบื่ออยู่เปล่าๆ จึงชวนหญิงพิลัยเช่ารถแท็กซี่ไปเที่ยวดูเมืองสิงคโปร์ ได้ไปถึงสระประปาและสวนลิง แล้วขับไปตามถนนจนย่ำค่ำครึ่งกลับโฮเต็ล เมื่อกินอาหารเย็นแล้ว ชวนกันไปเที่ยวดูตามถนนตลาดขายของเวลาค่ำ ก็ไปถูกฝนแม้ไปรถเก๋งดูอะไรทางที่ท่านตรัสเรียกว่า “รูต่าง” ก็ไม่เห็นประเดี๋ยวก็ต้องกลับ
วันที่ ๑๐ เวลาโมงเช้าไปที่ท่าเรือกำปั่นพอเหมาะเวลาเรือโอฟีรมาถึง เวลานั้นสมเด็จยังบรรทมหลับ ได้พบกรมขุนชัยนาทและหญิงแก้วกับใครๆ ที่ไปตามเสด็จถามถึงอาการประชวร แต่หม่อมฉันจะไม่เล่าถวายด้วยเห็นว่า เมื่อจดหมายนี้ไปถึงท่านคงจะได้ทรงทราบแล้ว จะทูลแต่ที่หม่อมฉันเห็นว่าเป็นมูลเหตุของการประชวร เขาเล่าว่าทูลกระหม่อมท่านทรงจัดการประพาสอย่างระวังที่สุด เป็นต้นว่าเสด็จทางรถยนต์ก็ไม่ให้นานเกินไป ถ้าสมเด็จไม่ทรงสบายก็ไม่ให้ไป แต่ส่วนสมเด็จพระพันวัสสาท่านทรงรู้สึกว่าพระองค์ท่านทรงสบายดี อยากเที่ยวประพาสให้เต็มตามโปรแกรม เห็นจะเริ่มเกิดอาการประชวรเมื่อเสด็จขึ้นเขาเดียง (หม่อมฉันทราบว่าเสด็จขึ้นเขาเดียงก็ไม่ประหลาดใจอันใด) ถูกอากาศหนาวเกินกำลังพระองค์ ไหนลงจากเขาเดียงไปทางวะโนโสโบ (ที่พระองค์ท่านไปประชวร) แวะทอดพระเนตรมหาเจดีย์บุโรบุโด แล้วไปประทับแรมที่เมืองยกยา สุลต่านมีระบำรับเสด็จ ทูลกระหม่อมได้ตรัสบอกไว้แล้วว่าขอให้เล่นเพียง ๒ ชั่วโมง แต่ทำนองเขาจะอยากอวดให้เต็มฝีมือ ต้องไปประทับตรึงอยู่ถึง ๔ ชั่วโมง รุ่งขึ้นเสด็จจากเมืองยกยา พอมาถึงเมืองโสโลอาการประชวรก็ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก แล้วประชวรเป็นพักเป็นตอนๆ เรื่อยมา มาถึงสิงคโปร์ว่าพระอาการค่อยคลายขึ้นสักหน่อย พอบรรทมตื่นก็โปรดให้เบิกหม่อมฉันเข้าไปเฝ้า พิจารณาดูพระองค์ เมื่อนึกว่าเป็นเวลาแรกบรรทมตื่นยังไม่ได้สรงพระพักตร์แต่งพระองค์ ดูก็ไม่ทรุดเท่าใดนัก หม่อมฉันเพ็ดทูลก็ทรงยิ้มหัวดีเหมือนแต่ก่อน แต่หม่อมฉันเฝ้าอยู่ครู่เดียวก็กลับออกมา เพราะถึงเวลาจะรีบเชิญเสด็จย้ายมาเรือลาแลนเดีย การที่เชิญเสด็จมาเขาก็จัดดี คือรับเสด็จบรรทมเปลคนไข้หามลงจากเรือมาขึ้นรถกาชาด เพราะไม่ประสงค์จะให้คนดู ขับรถกาชาดมาถึงตรงบันไดเรือลาแลนเดียแล้วยกเปลที่บรรทมขึ้นไปส่งถึงห้องที่ประทับ หม่อมฉันคิดว่าเมื่อเสด็จกลับกรุงเทพฯ ความรู้สึกว่า “ถึงบ้าน” จะช่วยให้ทรงสบายได้เร็วขึ้น พอ ๙ นาฬิกาเรือจะออกหม่อมฉันก็กลับมาโฮเต็ล
หลวงวุฒิสาร กงซุลเยเนอราล ซึ่งรัฐบาลสั่งให้ไปตามเสด็จสมเด็จพระพันวัสสามาแต่เมืองสุรไบยา เขาคุ้นกับหม่อมฉัน เมื่อส่งเสด็จเสร็จแล้ว เขาก็มาหาและบอกปวารณา หม่อมฉันจึงวานเขาให้บอกผู้ทำเครื่องแก้หูหนวก (อย่าง Sonotone ที่หม่อมฉันเคยทูลไปแล้ว) ว่าหม่อมฉันจะไปลองเครื่องนั้น ณ ที่สำนักงานของเขาเวลาบ่าย ๔ โมง ถึงเวลาหลวงวุฒิสารกับภรรยามาพาหม่อมฉันกับหญิงพิลัยไปด้วยกัน ห้างนั้นขายเครื่องแว่นต่างๆ และรับเป็นเอเย่นต์ขายเครื่องแก้หูหนวกอย่างนี้ด้วย เขาให้หม่อมฉันนั่งเก้าอี้ที่ตั้งบนยกพื้น เอาเครื่องที่รักษาหูมาตั้งบนโต๊ะข้างตัวหม่อมฉัน มีแบตเตอรี่ไฟฟ้าสำหรับใส่กระเป๋าเสื้อชิ้น ๑ เครื่องรับเสียงรูปร่างเหมือนฝักแว่นตาสำหรับให้ห้อยที่อกเสื้อชิ้น ๑ กับเครื่องส่งเสียงเข้าหัวชิ้น ๑ ทั้ง ๓ ชิ้นนั้นสวมลวดไฟฟ้าตลอดกัน แต่ชิ้นสำหรับส่งเสียงเข้าหัวมีเป็น ๒ อย่าง อย่าง ๑ รูปเหมือนหมอนเหลี่ยม และขนาดย่อมกว่ากลักไม้ขีดไฟสำหรับส่งเสียงเข้าทางกะโหลกศีรษะไม่ใช่หูทีเดียว อีกอย่างหนึ่งทำด้วยอินเดียรับเบออ่อนๆ สำหรับจุกในรูหู เขาถามหม่อมฉันว่าหูข้างไหนตึงมาก บอกเขาว่าหูขวา เขาจึงให้หม่อมฉันลองเครื่องฟังทางกระโหลกศีรษะก่อน ให้เอามือจับแท่งนั้นแนบกับกระดูกข้างบ้องหูซ้าย แล้วให้หญิงพิลัยพูดก็ได้ยินแว่วๆ แต่ไม่ถึงเข้าใจความ ฟังด้วยหูข้างซ้ายด้วยหูเปล่า ยังได้ยินถนัดกว่าเครื่องที่ให้ลอง เครื่องอย่าง Sonotone ก็เป็นอันจำนนไป คราวนี้เอาเครื่องอย่างทำด้วยอินเดียรับเบอมาจุกหูขวาซึ่งตึงมากให้หญิงพิลัยพูด ได้ยินเสียงดังขึ้น แต่มันไม่เป็นเสียงผู้เสียงคนดูคล้ายๆ เสียงโทรศัพท์ หรืออย่างเราเคยเรียกกันว่า “อ้อแอ้” ฟังพร้อมกันทั้งหูเปล่าข้างซ้ายและหูใส่เครื่องข้างขวา รู้สึกเหมือนคนต่างเสียง ๒ คนมากระซิบพูดประชันกัน หรือจะเปรียบว่าผู้ชายพูดทางหูซ้าย ผู้หญิงพูดทางหูขวาก็ได้ ฟังกลับยุ่งสู้ได้ยินแต่หูเดียวไม่ได้ คราวนี้ตาคนขายเอาเครื่องออกจากหูแล้ว เข้ามาลองพูดกับหม่อมฉันทางหูข้างซ้ายหม่อมฉันก็ฟังได้ยินและพูดตอบถูก แกเป็นคนซื่อบอกว่าที่แกลองพูดกับหม่อมฉันนั้นใช้เสียงเพียงอย่างปรกติ หม่อมฉันยังได้ยิน หูหม่อมฉันยังหนวกไม่ถึงกับต้องใช้เครื่องที่แกขาย ใช้แต่เพียงแตรฟังจะดีกว่า ขอถวายรายงานเรื่องทดลองเครื่องแก้หูหนวก ตามได้ทูลสัญญาไว้แต่ก่อน ดังทูลมานี้ ออกจากร้านเครื่องแก้หูหนวกเดินเลยถึงห้าง Kelly and Walsh เป็นที่ขายหนังสืออยู่ใกล้ๆ กันเห็นสมุดรูปภาพ Royal Academy 1938 หม่อมฉันกับหญิงพิลัยคิดถึงพระองค์ท่าน ได้พร้อมใจกันซื้อส่งมาถวายเป็นของฝากเล่ม ๑ เวลาค่ำกินอาหารเย็นแล้วถึงเวลายาม ๑ มาลงเรือกำปั่นยนต์พิโอเนีย
วันอังคารที่ ๓๑ พฤษภาคม พอรุ่งสว่างเรือพิโอเนียออกจากสิงคโปร์มาแวะรับสินค้าที่เมืองมะละกา มีแขกมาหลอกขายไม้เท้าหวายเทศมะละกาตามเคย พวกคนโดยสารซื้อกันหลายคนและซื้อกันง่ายๆ ดูเหมือนจะไม่ได้ต่อตาม ตาแขกเห็นออกจะรวยๆ เวลา ๒ ทุ่มเรือออกจากเมืองมะละกา
วันพุธที่ ๑ มิถุนายน เช้าโมง ๑ ถึงลำน้ำสะลางอหยุดรับส่งสินค้าที่ปอตสะเวตเตนแฮมตามเคย (เมื่อขาไปก็ได้แวะ) เวลาบ่าย ๒ โมงออกเรือแล่นมาตลอดคืน
วันพฤหัสบดี ๒ มิถุนายน เวลาเช้าเรือพิโอเนียถึงปีนังเป็นอันสิ้นเรื่องไปเมืองสิงคโปร์
หม่อมฉันกลับมาถึงปีนังเห็นลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม คอยอยู่ ได้อ่านทราบแล้ว พอถึงวันกำหนดจะต้องนำจดหมายฉบับนี้ทิ้งไปรษณีย์ จึงต้องหยุดเพียงนี้ที
-
๑. จดหมายฉบับนี้ร่างตั้งแต่พักอยู่เมืองสิงคโปร์ และเวลากลับมาในเรือกำปั่นยนต์ชื่อฟิโอเนียเวลาจากเมืองสิงคโปร์จนถึงเมืองปีนัง ↩