- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ได้รับประทานด้วยดีแล้ว
เรื่องข้ามรับข้ามส่งผู้ที่ไปปีนังและกลับจากปีนัง ตามที่ตรัสเล่าถึงเรือของรถไฟซึ่งรับข้ามส่งขลุกขลักประดักประเดิดนั้น เป็นเหตุอันไม่สมควรที่จะเสด็จข้ามไปรับไปส่งใครถึงรถไฟอีกแล้ว แม้ทรงพระเมตตาเสด็จไปรับไปส่งเพียงท่าเรือ ดูก็พออย่างยิ่งอยู่แล้ว คนเราจะทำอะไรก็ต้องถือเอาความสะดวกเป็นประมาณ แม้สิ่งใดไม่สะดวกก็เป็นสิ่งอันไม่ควรทำ
เรื่องนายเฟโรจี เกล้ากระหม่อมก็ยังสงสัยอยู่เหมือนกัน แกได้บอกเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าจะมาเฝ้า แต่ไม่ได้รับข่าวในลายพระหัตถ์ ทำให้เข้าใจว่าไม่ได้มาเฝ้า นึกว่าคงเป็นด้วยเหตุอย่างใดที่ทำให้มาเฝ้าไม่ได้ แต่ก็ยังทราบอะไรไม่ได้ด้วยไม่ได้รับหนังสืออะไรจากตัวแก นอกจากมีหนังสือให้พรวันเกิดมาแต่ลังกาเท่านั้น
มีความในที่จะกราบทูลให้ทรงทราบว่า เด็กลูกชายที่แกพามาเฝ้านั้น เกล้ากระหม่อมขอสมมุติชื่อว่า น้อย เป็นอันเข้าใจกันดีทั้งตัวและพ่อแม่ แม้พ่อแม่ก็เรียกว่า น้อย พ่อแม่จะพาไปปล่อยเพื่อการเล่าเรียนที่เมืองอิตาลี ขากลับจะพาเอาพี่สาวซึ่งเรียนสำเร็จแล้วกลับเข้ามาเมืองไทย เด็กหญิงคนนั้นเกล้ากระหม่อมสมมุติชื่อเรียกว่า หนู เป็นอันเข้าใจตลอดกันเหมือนกัน ขากลับแกคงจะพามาเฝ้า ถ้าตรัสเรียกว่า หนู ตามเกล้ากระหม่อมเรียก ทั้งตัวและพ่อแม่จะยินดี เป็นทางทรงแสดงว่าทรงพระเมตตาสนิทในครอบครัวเขา
พระพุทธรูปพระสังฆราชเจ้านั้น ได้ยินว่าที่หล่อในเกณฑ์เป็นของกลางชั่วแต่ ๒ องค์ เป็นพระพุทธรูปเท่าพระองค์ ว่าจะเอาไปไว้ที่วัดราชบพิธองค์หนึ่ง จะเอาขึ้นไปไว้วัดมะขามใต้ซึ่งได้ทรงปฏิสังขรณ์นั้นองค์หนึ่ง นอกจากนั้นก็ได้หล่อเสมากับแหวนนวอรหาธิคุณ เช่นที่พระยาศรีสุรสงครามส่งมาถวาย นั่นเป็นของส่วนตัวพระยาศรีสุรสงคราม ไม่ใช่ของในเกณฑ์ แล้วยังมีพระพุทธรูปขนาดเล็ก เป็นถ่ายอย่างจากพระพุทธรูปใหญ่อีกอย่างหนึ่ง มีขนาดหน้าตักประมาณ ๑๕ เซ็นติเมตร แต่ไม่ได้หล่อด้วยทอง เป็นแต่อัดพิมพ์ด้วยปูนขาวทาทองบรอนซ์ปลอมเป็นทองหล่อ พระพุทธรูปชนิดนี้ดูเหมือนว่าถ้าใครต้องการก็ต้องสั่งจึงทำให้
ช่างปั้นพระรูปชื่อนายสาย มิใช่ใครหาไหนมา เป็นลูกพระเทพรจนา (สิน) พ่อเขาเอาตัวมาฝากเป็นนักเรียนศิลปากร เป็นลูกศิษย์นายเฟโรจี พ่อเขาฝึกหัดเป็นมาบ้างแล้ว ฉลาดว่องไวเรียนได้ดีสมด้วยเทือกเถา เมื่อครั้งซ่อมพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และทำปฐมบรมราชานุสรณ์ก็ได้อาศัยเด็กคนนี้มาก เมื่อจัดการเปลี่ยนแปลงกรมศิลปากรจึงออกไปช่วยพ่อทำมาหากิน
งานหล่อพระพุทธรูปเป็นงานคึกคักผู้คนมากจริงอยู่ แต่ลูกชายงั่วซึ่งเข้ามาเกณฑ์ไปเป็นกรรมการ มีหน้าที่รับแขกฝ่ายคฤหัสถ์ มาแจ้งรายงานว่าแน่นหนาไปด้วยกรรมการกับยายชี ในการนับถือปฐมังอิทธิเจดูเหมือนจะเป็นแต่พระยาศรีสุรสงครามผู้เดียว ซึ่งเป็นเลขานุการแห่งกรรมการ และเป็นตัวตั้งตัวตีอำนวยการ เห็นจะไม่ใช่กรรมการมากด้วยกันนับถือวิทยาคม เป็นแต่เห็นว่าไม่มีทางเสียหายอะไรก็ไม่คัดค้านเท่านั้น
ยังมีข้อที่จะกราบทูลต่อไป ได้ความจากปากพระยาศรีสุรสงครามคิดจะหล่อพระรูปพระองค์เจ้าอรุณนิภาคุณากรขึ้นเป็นคู่กันในภายหน้าด้วย เห็นจะนึกเทียบจากที่วัดบวรนิเวศ เมื่อคิดถึงพระอุโบสถวัดราชบพิธเห็นว่าเล็กยัดเยียดเต็มที หาเหมือนเช่นพระอุโบสถวัดบวรนิเวศไม่
ชื่อ nanodaya เป็นอักษรที่ขลุกขลัก ยากที่จะหาตัวพิมพ์โรมันที่สมบูรณ์มาใช้ได้ อยู่ข้างป่วย แรกจะตั้งชื่อถ้าได้คิดถึงข้อขัดข้องอันจะมีนี้เสียก่อนก็พอจะหลบหลีกได้ เพราะคำมีอยู่ถมไปที่จะให้ได้ความอย่างนั้น พระโอวาทอันประทานแก่ภิกษุธรรมยุติสององค์นั้นดีมาก ถ้าหากเธอประพฤติตามก็จะได้ความเรียบร้อยปราศจากภัย
เรื่องจับช้างที่ลพบุรี เขาลงพิมพ์มากแล้ว หวังว่าป่านนี้คงจะได้ทรงทราบความพอแล้ว ผิดกันมากกว่าที่เคยทอดพระเนตรเห็นมาแต่ก่อน สังเกตตามคำประกาศเหมือนหนึ่งมีประสงค์จะเก็บเงินบำรุงทหาร แต่สงสัยอยู่มากที่ว่าเป็นงานใหญ่ต้องลงทุนมาก เกรงจะเก็บเงินได้ใช้ทุนไม่ท่วมถึงกำไรใช้เป็นการบำรุง
ข้อที่ทรงพระดำริว่าควรวิจารณ์ในการจับช้างอย่างโบราณนั้นชอบนัก เมื่อไม่ช้ามานี้ชายขาวเธอก็เอาสมุด “เรื่องของช้าง” มาฝากให้ไว้ เป็นการวิจารณ์อยู่เหมือนกัน หวังว่าเธอคงจะได้ส่งมาถวาย หรือมิฉะนั้นก็ใครผู้อื่นคงจะได้ส่งมา เป็นหนังสือทำขึ้นในกรมรถไฟเพื่อแจกจ่ายให้คนรู้เรื่องช้างประกอบกับการจับช้าง อ่านดูในนั้นมีข้อความแปลกๆ
หนังสือ “อัญขยมบังคมภูวสวะ” กราบทูลเท่านี้ก็ทรงทราบแล้ว เป็นภาษาเขมรทั้งดุ้น เราเห็นจะได้ฉบับมาแต่เมืองเขมร ได้พิจารณาดูแล้ว เห็นเป็นสดุดีสังเวยแก่พระไพร ไม่ใช่กล่อมช้าง ชะรอยจะเป็นของใช้ในพิธีกรรมอันเริ่มตั้งขึ้นเมื่อจะทำการจับช้าง
กรมขุนชัยนาทกลับเข้าไปกรุงเทพฯ แล้ว กับรถไฟซึ่งถึงเมื่อวันอังคาร ได้พบกันแล้ว ว่าวันจันทร์จะต้องไปชวาอีก โดยทางเครื่องบิน เพราะสมเด็จพระพันวัสสาไปประชวรอยู่ที่สุรบายา ทูลกระหม่อมชายอึดอัดพระทัย ต้องการปรึกษาด้วยกรมขุนชัยนาท
ได้ส่งสมุดตีพิมพ์ในวิสาขะบูชาปีนี้มาถวายเล่มหนึ่ง เห็นจะออกจะลึกเกินกำลังเด็กไปมาก