- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
บ้านซินนามอน ปีนัง
วันที่ ๒๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๘๑
ทูล สมเด็จกรมพระนริศฯ
ลายพระหัตถ์ฉบับลงวันที่ ๑๖ เมษายน มาถึงด้วยดีทุกประการ
เรื่องน้ำไหลจากปากสัตว์ทั้ง ๔ นั้น พอหม่อมฉันอ่านลายพระหัตถ์ก็นึกได้ว่ามีอยู่ในหนังสือ “ไตรภูมิ” จริง หนังสือไตรภูมินั้นหม่อมฉันเข้าใจว่าเป็นหนังสือไทยแต่งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย และเป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชา (พระยาลิทัย) ซึ่งเป็นราชนัดดาของพระเจ้ารามคำแหงมหาราช หอพระสมุดได้สำเนาหนังสือนั้นพิมพ์แล้ว หม่อมฉันให้ชื่อว่า “ไตรภูมิพระร่วง” ในบานแพนกมีว่าพระมหาธรรมราชาทรงคัดความจากคัมภีร์ต่างๆในพระไตรปิฎกจาระไนชื่อคัมภีร์บอกไว้ ว่าเอาความในคัมภีร์นั้นๆ มารวบรวมแต่งหนังสือไตรภูมิ จึงเห็นควรถือเป็นหลักได้ว่าหนังสือเรื่องไตรภูมิเป็นหนังสือไทยแต่งขึ้น ข้อนี้มีหลักฐานอื่นประกอบคือที่ชอบเขียนภาพเรื่องไตรภูมิไว้ตามวัด แต่ว่าเขียนเฉพาะวัดไทยเท่านั้น วัดในประเทศอื่นหามีที่เขียนเรื่องไตรภูมิไม่ ทูลได้อีกสถานหนึ่งว่า หนังสือไตรภูมิพระร่วงนั้นฉบับพิมพ์จำหน่ายเห็นจะยังมีในหอพระสมุด เป็นหนังสือซึ่งสมควรท่านจะทรงพิจารณาด้วย เพราะนอกจากศิลาจารึกแล้วเป็นหนังสือภาษาไทยเก่าที่สุด ทั้งถ้อยคำและประโยค เชื่อได้ว่าเป็นภาษาไทยที่ใช้กันในสมัยสุโขทัยเป็นแน่ สมเด็จพระมหาสมณฯ ทรงแคลงพระหฤทัยแต่คาถาข้างต้น ตรัสว่าดูเป็นสำนวนใหม่แต่งเพิ่มขึ้นสมัยภายหลัง หนังสือไตรภูมิต่อฉบับพระร่วงลงมามีหนังสือไตรภูมิครั้งกรุงธนบุรีฉบับ ๑ กับไตรภูมิเชียงใหม่ฉบับ ๑ แต่เขียนเป็นรูปภาพเต็มทั้งเล่ม ต่อนั้นจึงถึงหนังสือไตรภูมิแต่งครั้งรัชกาลที่ ๑ เรียกว่า “ไตรภูมิโลกสัณฐาน” เรื่อง ๑ แล้วแต่งย่อลงมาเรียกว่า “ไตรโลกวินิจฉัย” เรื่อง มีอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณทั้งนั้น
เรื่องทำท่อน้ำมนต์ออกจากปาก ๔ สัตว์ หม่อมฉันนึกขึ้นได้ถึงที่ “สระสรง” หรือ “สระอโนดาษ” ณ เมืองนครธมอีกแห่ง ๑ ท่านคงได้ทอดพระเนตรแล้ว มีกุฏิสำหรับคนอาบน้ำมนต์ที่ขอบสระทั้ง ๔ ด้าน ทางช่องน้ำมนต์ออกนั้นเขาทำเป็นหัวสัตว์อย่างเดียวกับเขาไกรลาส ผิดกัน (ดูเหมือน) แต่ตรงที่เราทำเป็นราชสีห์ เขาทำเป็นหัวคนใส่เทริดน้ำไหลออกจากปาก เหตุใดจึงผิดกันตรงนั้นหาทราบไม่
ในลายพระหัตถ์ฉบับก่อน ท่านตรัสว่าถึงจะมีเจ้ามาปีนังในเดือนเมษายนนี้หลายองค์ หม่อมฉันจะทูลรายงานในเรื่องนั้น
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ เมษายน หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรมาถึงโดยทางรถ มาพักอยู่ที่สถานกงซุลสยาม แต่เธอไม่ได้มาหาหม่อมฉันเธอมาเป็นผู้แทนสมาคมโรตะรีในกรุงเทพฯ เพื่อเข้าการประชุมสาขาของสโมสรนั้น ซึ่งตั้งในแหลมมลายูของอังกฤษ ในแดนฝรั่งเศสทางอินโดจีนกับในฮอลันดาในเมืองชวา และที่ตั้งในแดนสยามรวมกัน สมาชิกที่มาจากเมืองไทยมีหม่อมเจ้าวรรณไวทยากรองค์ ๑ หลวงสิทธิสยามการ (น้องพระยาศรีวิสารวาจา) คน ๑ มิสเตอร ซิมเมอร์แมน อเมริกัน คน ๑ ทั้ง ๒ คนข้างหลังเขามาหาหม่อมฉัน ๆ ตรวจดูในหนังสือพิมพ์ลงข่าวการประชุม เห็นมิสเตอร์ ซิมเมอร์แมน เป็นผู้พูดแทนสมาคมไทยแต่คนเดียวแต่ไทยทั้ง ๒ คนเป็นแต่นั่งฟัง หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรมาอยู่ ๔ วัน กลับไปเมื่อวันที่ ๑๘
หม่อมเจ้าหญิงสุวรรณากุมารีในกรมหมื่นไชยานั้นดูเหมือนมาถึงเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ แรกหม่อมฉันออกจะวิตก ด้วยเธอเป็นหลานสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงและรุ่นสาว ว่ามาเที่ยวกับครู ครูจะเป็นใครและพาไปพักที่ไหนก็ไม่รู้ จึงเงี่ยหูฟัง ครั้นทราบว่าเธอมาพักที่สถานกงซุลสยามก็หายห่วง ครั้นวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ นี้เธอมาหาหม่อมฉันด้วยกันกับกงซุลและพวกที่มากับเธออีกหลายคน ที่เป็นผู้หญิงล้วนเป็นครูโรงเรียนราชินีทั้งนั้น คน ๑ เป็นน้องสาวของกงซุลจึงมาพักที่สถานกงซุลด้วยกันทั้งหมด ผู้ชายที่เป็นผู้ใหญ่มาด้วย คือพระภาษาโกศล ซึ่งเคยเป็นองครักษ์ของกรมกำแพงเพชร ว่าจะกลับพรุ่งนี้
พระองค์ทศศิริวงศ์กับหม่อมเลื่อน และหม่อมราชวงศ์พงศ์พรหมลูกชาย มาถึงเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ พอถึงเธอก็มาหาและมารดน้ำปีใหม่ให้หม่อมฉันในค่ำวันนั้น เธอพักอยู่ปีนัง ๓ วัน แล้วขึ้นรถไฟไปลงเรือเมล์ที่สิงคโปร์วันพุธที่ ๒๐ หม่อมราชวงศ์พงศ์พรหมนั้นว่าจะไปส่งที่สิงคโปร์แล้วจะกลับกรุงเทพฯ หม่อมฉันได้พบพระองค์ทศศิริวงศ์รู้สึกยินดีมาก ฝ่ายข้างเธอก็เห็นจะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะไม่ได้เห็นหน้ากันมาสัก ๕ ปีแล้ว หม่อมฉันได้เชิญเสด็จมาเสวยเวลาค่ำที่ซินนามอนฮอลนี้ด้วย ฟังเธอเล่าถึงอาการประชวรของเธอแล้ว หม่อมฉันเห็นชอบด้วยที่เธอไปรักษาพระองค์ในยุโรป เพราะโรคเช่นนั้นจะรักษาในกรุงเทพฯ ไม่ไหวและนึกชมหม่อมเลื่อนที่เขาอุตส่าห์ติดตามไปด้วยรักผัว
ได้ยินว่าพระองค์เฉลิมพลทิฆัมพร มารถไฟคราวเดียวกับพระองค์ทศศิริวงศ์ นัยว่ากรมตำรวจจะให้ไปตรวจการตำรวจรอบโลก แต่ลงจากรถไฟที่หาดใหญ่ หม่อมฉันเข้าใจว่าคงมารถยนต์จากหาดใหญ่ให้ถึงไปรในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ นี้ ให้พอเหมาะเวลาที่ลงเรือกำปั่นยนต์ “อัลเซีย” ด้วยไม่ประสงค์จะมาพักอยู่เมืองปีนัง
หม่อมเจ้าสกลวรรณากรก็จะมารถไฟถึงพอทันลงเรืออัลเซียเช่นเดียวกัน
หม่อมเจ้าหญิงสิบพัน ของกรมขุนพิทยลาภก็บอกมาถึงหญิงพูนว่าจะออกมาถึงปีนังในวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ นี้ เพื่อแปรสถานมาบำรุงกำลัง เธอจะมาพักที่ซินนามอนฮอลเหมือนเมื่อมาคราวก่อน หม่อมฉันก็ยินดี
มีกรณีแปลกอีกเรื่อง ๑ ในสัปดาหะนี้ เมื่อวันที่ ๑๙ นี้มีพระเปรียญวัดราชประดิษฐ์ ๒ องค์ ชื่อพระมหาภุชงค์ ๗ ประโยค องค์ ๑ พระมหามุกด์ ๑ ประโยค องค์ ๑ มาหาหม่อมฉันเชิญลิขิตของสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์มาให้ด้วย ความในลิขิตว่าญาโณทยพุทธศาสนิกสมาคม (ตั้งสำนักอยู่ที่ King’s Street ในเมืองปีนัง) มีหนังสือเข้าไปขอพระสงฆ์ธรรมยุติออกมาสอนพระพุทธศาสนาที่เมืองปีนัง พระเถรานุเถระธรรมยุติปรึกษากันเห็นควรส่งพระธรรมยุติออกมา เพราะเหตุเห็นว่ามีผู้ขอและสัญญารับจะเกื้อหนุน และหม่อมฉันอยู่ที่ปีนังพอจะเป็นที่พึ่งได้ จึงให้เปรียญ ๒ องค์นั้นออกมาคิดประดิษฐานพระสงฆ์ธรรมยุติให้มีขึ้นในต่างประเทศ ณ เมืองปีนังอีกแห่ง ๑ เหมือนที่กรุงกัมพูชา สมเด็จพระวชิรญาณจึงขอให้หม่อมฉันช่วยแนะนำและอนุเคราะห์ด้วย เปรียญ ๒ องค์นั้นมีนายยอชคนอังกฤษที่เคยบวชเป็นพระภิกษุอยู่วัดราชประดิษฐ์แต่ก่อนมาด้วย ว่าจะอยู่ช่วยเป็นล่ามสัก ๓ สัปดาหะ นอกจากนั้นจีนผู้ใหญ่ในสมาคมญาโณทย ว่าเป็นครูใหญ่ในโรงเรียนอันหนึ่งมาหาหม่อมฉันด้วย บอกว่าสมาคมเขาจัดวัด “ศรีสว่างอารมณ์” ที่ถนนแปะระไม่ห่างกับบ้านหม่อมฉันนักให้เป็นที่พระธรรมยุติอยู่ และรับส่งอาหารบิณฑบาตมิให้อัตคัด หม่อมฉันถามเขาว่าประสงค์จะให้พระสั่งสอนพระธรรมด้วยภาษาใด เขาตอบว่าถ้าใช้ภาษาอังกฤษได้จะดี ข้อนี้ทำให้หม่อมฉันเข้าใจว่า พวกสมาชิกเห็นจะเป็นพวกจีนชั้นกลางและชั้นสูงที่ได้ศึกษาอังกฤษโดยมากก็ดีอยู่ หม่อมฉันว่าถ้าเช่นนั้นสมาคมจะต้องหาครูมาสอนภาษาอังกฤษให้เปรียญทั้ง ๒ เขาก็รับ ฝ่ายหม่อมฉันเองคิดจะชักชวนพวกราษฎรไทยที่อยู่ในปีนังให้ไปฟังธรรมและทำบุญ หม่อมฉันวิตกอยู่อย่างเดียว แต่เปรียญที่มาจะมุ่งเอานิกายธรรมยุติขึ้นตั้งหน้า ถ้าเช่นนั้นก็น่าจะตั้งต้นด้วยกรณีเรื่องรังเกียจกันกับพระมหานิกายที่อยู่ก่อนและพาให้พวกสัปปุรุษแตกกันเป็นหลายพวก ลงปลายก็จะไม่สำเร็จประโยชน์ดังประสงค์ เมื่อวันพุธที่ ๒๐ หม่อมฉันไปเยี่ยมเปรียญ ๒ องค์นั้นที่วัดศรีสว่างอารมณ์ ได้พบกับจีนพวกกรรมการสมาคมหลายคนสังเกตดูเขาก็ศรัทธาเลื่อมใสอยู่ หม่อมฉันได้แนะนำแก่มหาภุชงค์ว่าในตอนต้นนี้หม่อมฉันเห็นมีกิจข้อสำคัญที่เธอจะต้องพยายามอยู่ ๒ อย่าง คือ หาความรู้ขนบธรรมเนียมเมืองปีนัง โดยเฉพาะวิธีทำบุญของพระพุทธศาสนิกชนในเมืองปีนังนี้อย่าง ๑ กับพยายามให้คนชาวปีนังเลื่อมใสด้วยเทศนาก็ตาม หรือด้วยสังคหกิจก็ตาม ยกตัวอย่างดังตั้งวันธรรมสวนะนัดสัปปุรุษไหว้พระและฟังเทศน์เป็นต้น เมื่อได้ความเลื่อมใสของคนทั้งหลายแล้ว การที่จะตั้งคณะธรรมยุติก็จะสำเร็จได้ไม่ยากในภายหน้า
สัปดาหะนี้รับแขกมากไม่ใคร่มีเวลาสมาธิ เขียนจดหมายเวรมาเพียงนี้ถึงวันส่งทางไปรษณีย์แล้ว ต้องงดเพียงนี้ที.