- เมษายน
- วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ทูลถามข้อความที่สงสัย จาก จ.ท. ประชุม มินประพาฬ
- —วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ สนิท สุมิตร
- วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เรื่องสร้อยพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- วันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —สำเนาพวกมิชชันนารีทูลถามปัญหาโบราณคดี
- —วันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ พระยาอนุมานราชธน
- วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤษภาคม
- วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวิสาขบูชา
- วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —สำเนาลายพระหัตถ์ทูลกระหม่อมชาย
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มิถุนายน
- กรกฎาคม
- สิงหาคม
- กันยายน
- ตุลาคม
- วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
- —ที่ ๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทำขวัญขึ้นระวางเรือหลวง
- —ที่ ๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระกฐินหลวง
- วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๘/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลวันที่ระลึกรัชกาลที่ ๕
- —ย่อเรื่อง ปันหยี สะมิรัง
- วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —คำถามที่ ๓ ว่ายศเจ้าพระยามีมาแต่เมื่อใด
- วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- พฤศจิกายน
- วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —(สำเนาคำตอบปัญหาพระยาอินทรมนตรี)
- วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน
- —ที่ ๑๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีสมโภชสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- —ที่ ๑๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ
- —ที่ ๑๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน
- —ที่ ๙/๓ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เปลี่ยนแปลง)
- วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๙/๒ ๒๔๘๑ หมายกำหนดการรับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน (เพิ่มเติม)
- วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- ธันวาคม
- วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —เครื่องตั้งพระแท่นมณฑล
- วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีเปิดประชุมสมัยสามัญสภาผู้แทนราษฎร
- —ที่ ๑๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีฉลองรัฐธรรมนูญ
- วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยเรื่องพระเชตวัน
- วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- —วินิจฉัยชื่อลำน้ำแม่กลอง
- วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- มกราคม
- วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๕/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศล ๗ วัน ศพเจ้าพระยายมราช
- วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๑๖/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีพระราชทานธงประจำกอง
- —ที่ ๑๗/๒๔๘๑ หมายกำหนดการสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยุโรป
- วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- กุมภาพันธ์
- วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๐/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า
- —ริ้วขบวนแห่พระศพ
- —ที่ ๒๑/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิศมัยพิมลสัตย์
- วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๒/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระศพสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
- —ที่ ๒๓/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชกุศลทักษิณานุปทาน และพระราชพิธีรัชมงคล
- มีนาคม
- วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
- วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ น
- —ที่ ๒๔/๒๔๘๑ หมายกำหนดการพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์
- วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ดร
วันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๑ น
ตำหนักปลายเนิน คลองเตย
วันที่ ๙ เมษายน ๒๔๘๑
กราบทูล สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทราบฝ่าพระบาท
ลายพระหัตถ์ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ได้รับประทานทราบแล้ว
ไม่ว่าสิ่งใด ในการดูแคตตาล้อก ดูประกาศขาย ย่อมไม่ได้ความจริงเสียทั้งนั้น อะไรมันก็ดีไปหมด ในเรื่องช่วยหูหนวกจึงจำเป็นต้องคอยฟังแต่ฝ่าพระบาทจะตรัสบอก นั่นเหละจึงจะเป็นอันเชื่อแน่ได้
เป็นพระเดชพระคุณล้นเกล้า ที่ทรงพระเมตตาโปรดอธิบายตำแหน่งคุณปลัดน้อยให้เข้าใจ ไม่เคยทราบและก็สงสัยอยู่เหมือนกันว่าเป็นปลัดของใคร ความจริงการตั้งปลัดนั้นควรแก่ที่หัวหน้าจะมีหน้าที่ทำการสิ่งใดอยู่ ปลัดจึงจะได้ช่วยทำการ ถ้าไม่มีหน้าที่ ตั้งปลัดแต่โดยยศเพื่อให้มีเท่านั้นก็เสียประโยชน์เปล่า
ชื่อกรมอาทมาฎ ได้ลองคิดลากเอาเข้าภาษาบาลีสํสกฤตดู เห็นทางจะเป็นได้อยู่ก็คือ อมตฺม+อฎฎฺ อตฺต อตฺถ ทางบาลีเขียนลักลั่นอยู่เป็นสามอย่าง อย่างไรก็ได้ ได้ลองเปิดพจนานุกรมภาษาสํสกฤตดู พบคำมีสำเร็จอยู่พร้อมทีเดียวเป็น อาตฺ มาตฺถ (อาตฺม + อรฺถ) แปลให้ไว้ว่า for one s’ own sake คำ อรฺถ ในภาษาสํสกฤตก็ตรงกับคำ อตฺถ ในภาษาบาลีนั้นทีเดียว หากเขียนเคล้าไปตามอักษรเดิม ตัดตัวสกดซ้อนแบบบุราณจะเป็นอาตมาฏ ก็ผิดไปตัวเดียวแต่ ท เป็น ต เท่านั้น ออกจะเข้าทีมาก ส่วนทางลากเอาไปเข้าภาษามอญเท่านั้น ได้วานพระยาอนุมานเขาช่วยตรวจพจนานุกรมภาษามอญในหอสมุด ยังไม่ได้ความบอกมาว่ากะไร เมื่อได้ความประการใด จะกราบทูลมาให้ทราบฝ่าพระบาทในภายหน้า
การถามโบราณคดี เกรงว่าต่อไปในวันหน้าฝ่าพระบาทจะต้องตอบไม่หยุด ด้วยสังเกตเห็นเหมือนหนึ่งว่าการถามโบราณคดีจะเป็นแฟเช่นที่นิยมกันว่าเป็นทางประพฤติดีอย่างหนึ่ง ย่อมจะมีผู้ถามเพื่อดีมากมาย แต่ข้อถามนั้นก็ย่อมเป็นไปตามน้ำเนื้อของผู้ถาม ปัญหาของบาดหลวงประชุมกับนายสนิท ซึ่งทรงพระเมตตาโปรดประทานไปนั้น คำถามเป็นต้นหนังสือ+คำที่ทรงพยากรณ์เป็นสำเนา เกล้ากระหม่อมได้คัดคำถามเป็นสำเนา เก็บไว้กับคำพยากรณ์ ส่วนต้นหนังสือถามสองฉบับได้ส่งกลับคืนมาถวายนี้แล้ว
เรื่องขโมยลักพระพุทธรูปราคา ๓,๐๐๐ บาท ไปจากวัดสระเกศนั้น เกล้ากระหม่อมก็ได้เห็นข่าวซึ่งลงในหนังสือพิมพ์เหมือนกัน แต่หาได้เอาใจใส่ไม่ ครั้นตรัสถามไปจึ่งแต่งคนให้ไปสืบที่วัดสระเกศ ได้ความว่าไม่ใช่เรื่องของวัด เป็นเรื่องของบุคคล และเป็นเรื่องเล่นของเก่า ราวเรื่องว่ายังมีภิกษุรูปหนึ่งอยู่ในวัดสระเกศ ชื่อพระเจิ่นได้พระพุทธรูปมาองค์หนึ่งเป็นชนิดที่เรียกกันว่าพระเชียงแสน ขนาดหน้าตัก ๑๔ นิ้วครึ่ง พวกเล่นของเก่าฮือกันว่าดีวิเศษหนัก ต่างพากันไปล้อมตอมชมและคิดใคร่จะได้ไปเป็นของตน ต่างประมูลให้ราคาว่าซื้อกัน นัยว่ามีผู้ให้ราคาสูงถึง ๓,๐๐๐ บาท เจ้าของก็ยังไม่ยอมขาย อยู่มาในกาลหนึ่งภิกษุเจิ่นมีกิจจำต้องไปจากวัด ใส่ประแจกุฏิทิ้งไว้ ในกาลนั้นก็มีผู้ร้ายขึ้นงัดกุฏิเต๋งเอาพระรูปองค์สำคัญนั้นไป ภิกษุเจิ่นไปแจ้งความแก่ตำรวจ เขาก็ถามว่าพระพุทธรูปนั้นราคาเท่าไร ตามแนวของซึ่งเป็นทองรูปพรรณหาย ภิกษุเจิ่นจึงเอาราคาซึ่งว่ามีผู้ขอซื้ออย่างสูงสุด ตั้งเป็นค่าตัวพระพุทธรูป บอกเขาว่า ๓,๐๐๐ บาท นัยว่าเดี๋ยวนี้เขาจับตัวผู้ร้ายได้แล้ว
เรื่องพระนามพระเจ้าแผ่นดิน ตามที่ทรงพระเมตตาโปรดจดบันทึกประทานไปนั้น พิจารณาดูเห็นเป็นว่า คติครั้งกระโน้นเมื่อต้องการจะออกพระนามพระเจ้าแผ่นดินแต่ละแห่ง จนแม้ในหนังสือเรื่องเดียวกัน ก็ต้องแต่งพระนามให้ไพเราะและผิดกันทุกคราวทุกแห่งที่ต้องการจะออกพระนาม ไม่ว่าจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวกันหรือต่างพระองค์
ได้เห็นหนังสือพิมพ์บางกอกไตมส์ เขาลงเรื่องไฟไหม้เรือ “ตองกิง” ของบริษัทอิสตเอเซียติก น่ากลัวเต็มที หวังว่าคงจะได้เสด็จไปทอดพระเนตรเห็น เพราะเขาลากเอามาไว้ใกล้เกาะปีนัง ดูเป็นเคราะห์ดีเต็มที ที่เกิดเหตุขึ้นเมื่อออกจากปีนังไปแล้วไม่ไกลนัก พอช่วยกันทัน จึงไม่มีคนเป็นอันตราย ถ้าไปเกิดเหตุขึ้นในกลางมหาสมุทรอินเดียแล้ว เห็นข่าวหนังสือพิมพ์ทีหลังว่าเรือนั้นจมแล้ว ก็ไม่ประหลาดอะไร
เมื่อวันที่ ๑ ขึ้นปีใหม่ ลูกหลานเด็กๆ พากันมาลาไปดูงานมหรสพที่ท้องสนามหลวง มีชายงั่วเป็นผู้นำ กลับมาบอกว่าไม่สนุก
ได้ไปเผาศพพระยานครพระรามเมื่อวันที่ ๕ แต่ไปทีหลัง เพราะว่ามีคนมารดน้ำสงกรานต์ถอนตัวไม่ออก (ได้รับหนังสือแจกมา ๒ เล่ม หนังสือสำหรับศพพระยานครพระรามเป็นเรื่องเครื่องสังกโลกไทย ยังไม่ได้อ่านได้อ่านแต่คำนำของฝ่าพระบาท ในนั้นมีเรื่องอันเป็นแก่นสารอยู่ที่ประวัติโรงเรียนมหาดเล็ก
เมื่อวานนี้ หญิงมารยาตรเธอมาให้รดน้ำผูกมือให้แก่เธอ ในกาลที่เธอมีอายุเจริญมาได้สามรอบขวบ ๑๒ ปี ได้ทำให้เธอตามประสงค์ด้วยความยินดีเต็มใจ
จะมีพระราชวงศ์มาปีนัง กับรถไฟด่วนวันที่ ๑๖ สามคน ๑. องค์ทศศิริวงศ์จะไปยุโรปเพื่อรักษาตัว ว่าเป็นโรคนิ่วในไต หมอในกรุงเทพฯ รักษาไม่ได้ ๒. องค์ชายเฉลิมพล จะไปยุโรปด้วยราชการในกรมตำรวจภูรร ๓. หม่อมเจ้าหญิงสุวรรณากุมารี สุริยง จะมาตากอากาศที่ปีนังกับครู