- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
เรียงตามลำดับพระชัณษา
๑ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาสำลี ๆ เปนธิดาพระเจ้ากรุงธนบุรี สิ้นพระชนม์ในรรัชกาลที่ ๑
๒ พระองค์เจ้าชายประยงค์ ประสูตรปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาน่วม
ในรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นธิเบศร์บวร
ในรัชกาลที่ ๔ เลื่อนกรม เปนกรมขุนธิเบศร์บวร
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
๓ พระองค์เจ้าหญิงประชุมวงษ์ ประสูตรปีขาลฉศก จุลศักราช ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาสำลี
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
๔. พระองค์เจ้าชายปาน ประสูตรปีขาลฉศก จุลศักราช ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาน่วม
ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระราชทานสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นอมรมนตรี สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
๕ พระองค์เจ้าหญิงนัดดา ประสูตรปีมโรงอัฐศก จุลศักราช ๑๑๕๘ พ.ศ. ๒๓๓๙
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาสำลี
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
๖ พระองค์เจ้าหญิงขนิษฐา ประสูตรปีมเมียสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๖๐ พ.ศ. ๒๓๔๑
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาน่วม
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๒ แรม ๕ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ พ.ศ. ๒๔๑๙
พระชัณษา ๗๙ ปี
๗ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีมแมเอกศก จุลศักราช ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒
ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาน่วม
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
๘ พระองค์เจ้าชายพงษ์อิศเรศ ประสูตรปีวอกโทศก จุลศักราช ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๓
ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาสำลี
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นกระษัตริย์ศรีศักดิเดช เมื่อณวันจันทร์ เดือน ๖ แรม ๑๓ ค่ำ ปีจอจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๒๔ พ.ศ. ๒๔๐๕
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕
เปนต้นสกุลอิศรเสนา ณกรุงเทพ
๙ พระองค์เจ้าหญิงสุวรรณ ประสูตรปีรกาตรีศก จุลศักราช ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๓
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาก้อนทอง
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
๑๐ พระองค์เจ้าชายไม้เทศ ประสูตรปีจอจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๖๔ พ.ศ. ๒๓๔๕
ในเจ้าจอมมารดาเหมใหญ่
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
๑๑ พระองค์เจ้าชายภุมริน ประสูตรปีจอจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๖๔ พ.ศ. ๒๓๔๕
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
๑๒ พระองค์เจ้าหญิงพัน ประสูตรปีกุญเบญจศก จุลศักราช ๑๑๖๕ พ.ศ. ๒๓๔๖
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาปิ่น
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันพุฒ เดือน ๓ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมเสงตรีศก จุลศักราช ๑๒๔๓ พ.ศ. ๒๔๒๔
พระชัณษา ๗๙ ปี
๑๓ พระองค์เจ้าภุมเรศ ประสูตรปีกุญเบญจศก จุลศักราช ๑๑๖๕ พ.ศ. ๒๓๔๖
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นอมเรศรัศมี
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕
๑๔ พระองค์เจ้าหญิงนฤมล ประสูตรปีชวดฉศก จุลศักราช ๑๑๖๖ พ.ศ. ๒๓๔๗
ที่ ๕ ในเจ้าจอมมารดาสำลี
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
๑๕ พระองค์เจ้าหญิงงาม ประสูตรปีขาลอัฐศก จุลศักราช ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๔๙
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาก้อนทอง
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
๑๖ พระองค์เจ้าชายเสือ ประสูตรปีขาลอัฐศก จุลศักราช ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๔๙
ที่ ๕ ในเจ้าจอมมารดาน่วม
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
เปนต้นสกุลพยัคฆเสนา ณกรุงเทพ
๑๗ พระองค์เจ้าชายไย ประสูตรปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๑๖๙ พ.ศ. ๒๓๕๐
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาศิลา
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
๑๘ พระองค์เจ้าชายกระต่าย ประสูตรปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๑๖๙ พ.ศ. ๒๓๕๐
ที่ ๖ ในเจ้าจอมมารดาน่วม
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
๑๙ พระองค์เจ้าชายทับทิม ประสูตรปีมโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๗ฤ พ.ศ. ๒๓๕๑
ในเจ้าจอมมารดาน้อยใหญ่
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
๒๐ พระองค์เจ้าหญิงมณฑา ประสูตรปีมเสงเอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๕๒
ที่ ๗ ในเจ้าจอมมารดาน่วม
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
๒๑ พระองค์เจ้าชายฤกษ์ ประสูตรณวันพฤหัศบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมเสงเอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๕๒
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก
ทรงผนวชเปนสามเณรมาแต่ในรัชกาลที่ ๒
ในรัชกาลที่ ๒ ได้เปนพระราชาคณะ สถิตย์ณวัดบวรนิเวศ
ครั้นรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงรับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ปิยพรหมจรรย์ธรรมวรยุต ปฏิบัติสุทธคณนายก พุทธสาสนดิลกวรัยยบรรพชิต สรรพธรรมิกกิจโกศลสุวิมลปรีชา ปัญญาอรรคมหาสมณุดมบรมบพิตร ได้ทรงเปนพระอุปัธยาจารย์ เจ้าฟ้าแลพระองค์เจ้าในพระบรมราชวงษ์นี้มาแต่ในรัชกาลที่ ๔ ครั้นรัชกาลที่ ๕ ได้เลื่อนพระเกียรติยศ เปนพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ บวรรรังษีสุริยพันธุ์ ปิยพรหมจรรย์ธรรมวรยุต ปฏิบัติสุทธคณนายก พุทธสาสนดิลกปวรัยยบรรพชิต สรรพธรรมิกกิจโกศลสุวิมลปรีชา ปัญญาอรรคอนาคาริยรัตโนดม พุทธวราคมโหรกลากุสโลภาษ ปรมินทรมหาราชหิโตปัธยาจารย์ มโหฬารเมตยาภิธยาไศรย พุทธาทิศรีรัตนไตรยคุณารักษ์ อุกฤษฐศักดิสกลสงฆปาโมกษประธานาธิบดินทร์ มหาสมณะคณินทรวโรดม บรมบพิตร เมื่อณวันศุกร เดือน ๓ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีรกาเบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ พ.ศ. ๒๔๑๖
ต่อมาได้ทรงรับมหาสมณุตมาภิเศก เปนสมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ บวรรังษีสุริยพันธุ์ ปิยพรหมจรรย์ธรรมวรยุต ปฏิบัติสุทธคณนายก ธรรมนิติสาธกปวรัยยบรรพชิต สรรพธรรมิกกิจโกศลสุวิมลปรีชา ปัญญาอรรคมหาสมณุดม บรมพงษาธิบดี จักรกรีบรมนารถ มหาเสนานุรักษ์อนุราชวรางกูร ปรมินทรบดินทรสูรย์หิโตปัธยาจารย์ มโหฬารเมตยาภิธยาไศรย ไตรปิฎกโหรกลาโกศล เบญจปดลเสวตรฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาสมณุตมาภิเศกาภิสิต ปรมุกฤษฐสมณศักดิธำรง มหาสงฆปรินายก พุทธสาสนดิลกโลกุตมมหาบัณฑิตย์ สุนทรวิจิตรปฏิภาณ ไวยัติญาณมหากระวี พุทธาทิศรีรัตนไตรยคุณารักษ์ เอกอรรคมหาอนาคาริยรัตน สยามาธิโลกยปฏิพัทธ พุทธบริสัษยเนตร สมณคณินทราธิเบศร์สกลพุทธจักโรปการกิจ สฤษดิศุภการ มหาปาโมกษประธานวโรดมบรมนารถบพิตร เสด็จสถิตย์ณวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร พระอารามหลวง ณกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร มหินทรายุทธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน ดำรงพระเกียรติยศ เปนสมเด็จพระมหาสังฆปรินายกทั่วทั้งพระราชอาณาเขตร เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๑๐ (ตรงกับปีเถาะตรีศก จุลศักราช ๑๒๕๓ พ.ศ. ๒๔๓๔)
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันที่ ๒๘ กันยายน (ตรงกับณวัน ๔ ๗ฯ ๑๑ ค่ำปีมโรงจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๕๔) พ.ศ. ๒๔๓๕ พระชัณษาได้ ๘๓ ปี
๒๒ พระองค์เจ้าชายแฝด ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์
สิ้นพระชนม์ในวันประสูตร
๒๓ พระองค์เจ้าหญิงแฝด ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์
สิ้นพระชนม์ในวันประสูตร
๒๔ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาศิลา
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
๒๕ พระองค์เจ้าหญิงปทุเมศ ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเอี่ยม
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕
๒๖ พระองค์เจ้าหญิงเกสร ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาปิ่น
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
๒๗ พระองค์เจ้าชายชุมแสง ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓
ในเจ้าจอมมารดาเล็ก
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
เปนต้นสกุลสหาวุธ ณกรุงเทพ
๒๘ พระองค์เจ้าชายสาททิพากร ประสูตรปีมเมียโทศก จุลศักราช ๑๑๗๒ พ.ศ. ๒๓๕๓
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
๒๙ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาม่วง
๓๐ พระองค์เจ้าหญิงนุ่ม ประสูตรปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔
ในเจ้าจอมมารดานิ่ม
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕
๓๑ พระองค์เจ้าชาย ประสูตรปีวอกจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๗๔ พ.ศ. ๒๓๕๕
ในเจ้าจอมมารดานก (ซึ่งภายหลังเปนท้าวสมศักดิ)
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒
๓๒ พระองค์เจ้าชายยุคันธร ประสูตรปีวอกจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๗๔ พ.ศ. ๒๓๕๕
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นอนันตการฤทธิ เมื่อณวันจันทร์ เดือนอ้ายขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ พ.ศ. ๒๔๑๐
ได้ว่ากรมช่างทหารในญวน
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕
เปนต้นสกุลยุคันธร ณกรุงเทพ
๓๓ พระองค์เจ้าชายสีสังข์ ประสูตรปีรกาเบญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาเอี่ยม
เปนต้นสกุลสีสังข์ ณกรุงเทพ
๓๔ พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์ ประสูตรปีรกาเบญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖
ในเจ้าจอมมารดาศรี ธิดาเจ้าเวียงจันท์
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
๓๕ พระองค์เจ้าชายรัชนิกร ประสูตรปีจอฉศก จุลศักราช ๑๑๗๖ พ.ศ. ๒๓๕๗
ในเจ้าจอมมารดาพลับ (จินตหรา)
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔
เปนต้นสกุลรัชนิกร ณกรุงเทพ
๓๖ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตรปีจอฉศก จุลศักราช ๑๑๗๖ พ.ศ. ๒๓๕๗
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาม่วง
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
๓๗ พระองค์เจ้าชายทัดทรง ประสูตรปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙
ในเจ้าจอมมารดาแจ่ม
๓๘ พระองค์เจ้าชายรองทรง ประสูตรปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙
ในเจ้าจอมมารดาภู่ (อิเหนา)
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นสิทธิสุขุมการ เมื่อณวันอาทิตย์ เดือน ๖ แรม ๙ ค่ำ ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ พ.ศ. ๒๔๑๐
ได้ทรงบังคับการโรงทอง
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๒๓๘ พ.ศ. ๒๔๑๙
พระชัณษา ๖๑ ปี
เปนต้นสกุลรองทรง ณกรุงเทพ
๓๙ พระองค์เจ้าชายสุดวอน ประสูตรปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐
ในเจ้าจอมมารดามี (บุษบา)
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
๔๐ พระองค์เจ้าหญิงสุดศาลา ประสูตรปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาม่วง
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓
ประสูตรเมื่อเสด็จดำรงพระยศเปนกรมขุนเสนานุรักษ์ ๑๔ พระองค์
ประสูตรเมื่อเสด็จดำรงพระยศเปนพระบัณฑูรน้อย ๗ พระองค์
ประสูตรเมื่อเสด็จดำรงพระยศเปนกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ๑๙ พระองค์
บาญชีพระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ ๒ ทั้งวังหลวงวังน่า ฉบับที่พบผิดกันอยู่บ้าง เมื่อพิมพ์หนังสือนี้เวลาสอบมีน้อย สอบไม่ได้ถ้วนถี่ แลบางทีจะยังคลาศเคลื่อนอยู่บ้าง