- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเวลาแรกประดิษฐานกรงรัตนโกสินทรนั้น โปรดให้สร้างวังเจ้านาย แลให้เสนาบดีสร้างบ้านเรือนอยู่รักษาการรายรอบพระราชวัง ฝ่ายข้างด้านใต้ระหว่างกำแพงพระบรมมหาราชวังไปจนจดเขตรวัดพระเชตุพน เมื่อในรัชกาลที่ ๑ นั้นโปรดให้เสนาบดีสร้างบ้านเรือนอยู่ ครั้นต่อมาเมื่อสร้างพระนครสำเร็จ มีผู้คนพลเมืองมาตั้งบ้านเรือนบริบูรณ์มั่งคั่งขึ้น เสนาบดีชุดเก่าถึงอสัญกรรมล่วงไป เสนาบดีที่เปนขึ้นใหม่ ก็อยู่บ้านเรือนห่างพระราชวังออกไป บ้านเสนาบดีที่อยู่ริมกำแพงพระราชวังครั้งรัชกาลที่ ๑ คงมีแต่บุตรหลานเชื้อวงษ์ของเสนาบดีนั้น ๆ อาไศรยอยู่ มาถึงรัชกาลที่ ๒ พระราชวงษ์แลข้าราชการฝ่ายใน ที่ต้องอยู่ในพระบรมมหาราชวัง รวมเปน ๒ รัชกาล จำนวนคนมากขึ้น ที่ภายในพระบรมมหาราชวังคับแคบ ที่สร้างตำหนักแลเรือนข้าราชการฝ่ายในไม่พอ ในปีขาลสัมฤทธิศกนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้จัดหาที่พระราชทานแลกที่บ้านเสนาบดี แล้วสร้างกำแพงขยายเขตรพระราชวังออกไปข้างด้านใต้ ให้ทำถนนสาย ๑ ขึ้นในระหว่างเขตรพระราชวังกับวัดพระเชตุพน (ซึ่งเรียกว่าถนนท้ายวังบัดนี้) แลสร้างประตูสกัดใต้สกัดเหนือ ชื่อว่าประตูทักษิณบวร ประตูสุนทรพิศาล (ซึ่งปากตลาดเรียกกันว่า ประตูแดง ในครั้งนั้นด้วย)
ที่พระบรมมหาราชวังซึ่งขยายออกไปข้างด้านใต้ในครั้งรัชกาลที่ ๒ จะพึงสังเกตได้ในเวลานี้ คือ ข้างด้านตวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ป้อมอนันตคิรีลงไปจนป้อมมณีปราการ ที่อยู่มุมกำแพงพระบรมมหาราชวัง ส่วนด้านตวันตกเฉียงใต้นั้น ตั้งแต่ป้อมสัตตบรรพตลงไปจนป้อมภูผาสุทัศน์ ที่ประตูทักษิณบวรสกัดใต้
อนึ่ง เมื่อมาสอบแผนที่แลชื่อป้อมรอบพระบรมมหาราชวังพิเคราะห์ดู เข้าใจว่าเมื่อแรกสร้างพระบรมมหาราชวังในรัชกาลที่ ๑ เห็นจะมีป้อมรอบพระบรมมหาราชวังแต่ ๘ ป้อม เปนป้อมมุม ๔ ป้อมกลางย่าน ๔ แต่ข้างด้านตวันตกป้อมเหล่านี้อยู่กับกำแพงเมือง ด้วยด้านนั้นกำแพงเมืองอยู่ชิดกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง รูปป้อมที่สร้างในรัชกาลที่ ๑ เปนแปดเหลี่ยม แลมีชื่อคล้องกันทั้ง ๘ ป้อม คือ ป้อมอินทรังสรรค์ ๑ ป้อมขันธ์เขื่อนเพ็ชร 9 ป้อมเผด็จดัษกร ๑ ป้อมสิงขรขัณฑ์ ๑ ป้อมอนันตคิรี ๑ ป้อมมณีปราการ ๑ ป้อมพิศาลสีมา ๑ ป้อมมหาโลหะ ๑ เมื่อขยายเขตรพระราชวังในรัชกาลที่ ๒ เข้าใจว่ารื้อป้อมมณีปราการเดิม ซึ่งอยู่ย่านกลางข้างด้านใต้ออกมาสร้างตามแนวกำแพงที่ขยายใหม่ แลสร้างป้อมมุมพระบรมมหาราชวังด้านใต้ขึ้น แล้วจึงจัดรเบียบชื่อป้อมเสียใหม่ เอาชื่อป้อมมณีปราการเดิมมาเปนชื่อป้อมมุม ป้อมย่านกลางด้านใต้ซึ่งสร้างใหม่ใช้ชื่อว่า ป้อมพิศาลสีมา เอาชื่อป้อมภูผาสุทัศน์มาใช้เปนชื่อป้อมมุมด้านตวันตกเฉียงใต้ที่สร้างใหม่ เปลี่ยนชื่อป้อมพิศาลสีมาเดิมเปนป้อมสัตตบรรพต แก้ไขป้อมย่านกลางด้านตวันตกเปน ๒ ป้อม อยู่ ๒ ข้างประตูฉนวน ชื่อป้อมโสฬศศิลาป้อม ๑ ป้อมมหาโลหะป้อม ๑ รูปป้อมที่สร้างในรัชกาลที่ ๒ ทำเปนรูปหอรบ ไม่ใช้รูปแปดเหลี่ยมอย่างรัชกาลที่ ๑ ดังจะเห็นได้จนทุกวันนี้[๑]
[๑] ที่กล่าวมาด้วยเรื่องชื่อป้อมนี้ กล่าวตามความสันนิฐานของข้าพเจ้าเอง ถ้าหากว่าชื่อป้อมรอบพระบรมมหาราชวังอย่างเรียกกันทุกวันนี้ มาขนานใหม่ในรัชกาลที่ ๒ หรือรัชกาลที่ ๓ ทั้งนั้น ความสันนิฐานก็อาจจะผิดได้ ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้สร้างป้อมรอบพระบรมมหาราชวังเติมขึ้นอิก ๓ ป้อม พระราชทานชื่อแทรกให้คล้องกับของเดิม คือ ป้อมสัญจรใจวิง ตรงถนนบำรุงเมือง อยู่ระหว่างป้อมเผด็จดัษกร กับ ป้อมสิงขรขัณฑ์ป้อม ๑ ป้อมขยันยิงยุทธ อยู่ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ข้างด้านเหนือ ต่อป้อมสิงขรขัณฑ์ป้อม ๑ ป้อมฤทธิรุดโรมรัน อยู่ริมพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ข้างด้านใต้ ต่อป้อมอนันตคิรี ป้อม ๑ ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ แต่แรกจะสร้างปราสาทบนกำแพงพระนครข้างด้านตวันตก ตรงประตูรัตนพิศาล อย่างพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ สำหรับทอดพระเนตรพยุหเสนากระบวนเรือ เรียกว่าพระที่นั่งทัศนานิกร พอยกโครงปราสาทขึ้นแล้ว การค้างอยู่ ภายหลังเลิกการที่จะสร้างปราสาท จึงแก้เปนป้อม เรียกว่าป้อมทัศนานิกร มีอยู่จนทุกวันนี้ ต่อมาเมื่อทำถนนใหญ่นอกกำแพงด้านตวันตก ในรัชกาลปัจจุบันนี้ ป้อมอินทรังสรรค์ ที่มุมกำแพงด้านตวันตกเฉียงเหนือป้อม ๑ ป้อมสัตตบรรพต อยู่ท้ายสนมด้านตวันตกป้อม ๑ กีดขวางแนวถนน จึงรื้อเสีย ๒ ป้อม