- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
มอญกับพม่า แม้ภูมิฐานบ้านเมืองอยู่ติดต่อกันก็จริง แต่ชาติแลภาษาตลอดจนความนิยมแตกต่างกันมาแต่โบราณ ด้วยพวกมอญนั้นว่า โดยชาติเปนเชื้อสายของชนชาวตวันออกคือขอมแลไทยที่แผ่อาณาจักรออกไปแต่ก่อน ฝ่ายช้างพวกพม่าเปนชนชาติซึ่งอพยพลงมาจากประเทศธิเบตมาตั้งอยู่ในดินแดนข้างเหนือเขตรมอญ มามีกำลังขึ้นจึงได้เมืองมอญแลไทยใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดด้วยต่อสู้ต้านทานกำลังพม่าไม่ได้ ทั้งมอญแลไทยใหญ่อยู่ในอำนาจพม่าแต่ด้วยความกลัว ถ้าพม่าหย่อนอำนาจลงเวลาใด มอญแลไทยใหญ่ก็กลับตั้งตัวเปนอิศร พม่ากลับมีกำลังเมื่อใดก็ต้องปราบปรามอิก ถ้ามอญมีกำลังพอต่อสู้พม่าได้ มอญก็ตั้งอยู่เปนอิศร ถ้าทานกำลังพม่าไม่ได้ หรือเปนเวลาที่ไทยมีอำนาจมาก มอญก็หันมาพึ่งไทย เปนดังนี้มาแต่ครั้งพ่อขุนรามคำแหงครองพระนครศุโขไทยตลอดมาจนครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชครองกรุงศรีอยุทธยา ด้วยเหตุที่มอญไม่มีความนิยมต่อพม่า คอยหาโอกาศที่จะเอาใจออกหากอยู่เสมอดังแสดงมานี้ เมื่อพระเจ้าอลองพญาทำสงครามชนะมอญได้เปนใหญ่ในแผ่นดินพม่า จึงมีความขัดเคืองคิดจะทำลายล้างพวกมอญให้หมดแผ่นดินพม่า เมื่อมอญถูกพม่ากดขี่ข่มเหงต่าง ๆ แลไม่มีกำลังพอจะต่อสู้พม่า ได้ จึงอพยพหนีเข้ามาอยู่ในเมืองไทย ดังพวกพระยาเจ่งซึ่งอพยพเข้ามาในครั้งกรุงธนบุรี เมื่อปีมเมียฉคก จุลศักราช ๑๑๓๖ พ.ศ. ๒๓๑๗ เปนต้น
ครั้นมาเมื่อรัชกาลที่ ๒ พระเจ้าปะดุงตั้งพม่าคนหนึ่งลงมาเปนเจ้าเมืองเมาะตมะ พม่าเจ้าเมืองเมาะตมะคนนั้นเบียดเบียนพวกมอญให่ได้ความเดือดร้อนต่าง ๆ พวกมอญไม่มีกำลังพอจะต่อสู้พม่าได้ มอญที่เปนเจ้าเมืองขึ้นแลกรมการหลายคน มีสมิงสอดเบาเปนหัวน่า ปฤกษาพร้อมกันว่า จะอพยพครอบครัวสมัคพรรคพวกเข้ามาพึ่งพระบารมีอยู่ในกรุงสยาม สมิงสอดเบามีหนังสือลับเข้ามาถึงพระยากาญจนบุรี เมื่อณเดือน ๑๑ ปีจอฉศก จุลศักราช ๑๑๗๖ พ.ศ. ๒๓๕๗ พระยากาญจนบุรีบอกส่งหนังสือสมิงสอดเบาเข้ามายังกรุงเทพฯ จึงโปรดให้พระยากาญจนบุรีมีหนังสือลับตอบไปถึงสมิงสอดเบาว่า ถ้ามอญเดือดร้อนก็ให้อพยพเข้ามาเถิด จะทรงพระกรุณาโปรดรับเปนที่พึ่ง ให้พวกมอญได้อยู่ในพระราชอาณาจักรโดยความผาศุก ครั้นถึงปีกุญสัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ พ.ศ. ๒๓๕๘ พวกมอญที่เมืองเมาะตมะถูกพม่ากดขี่หนักเข้า จึงพร้อมใจกันจับเจ้าเมืองกรมการพม่าฆ่าเสียแล้ว พากันอพยพครอบครัวเข้ามาในพระราชอาณาจักร เดินเข้ามาทางเมืองตากบ้าง ทางเมืองอุไทยธานีบ้าง แต่โดยมากมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์เข้าแขวงเมืองกาญจนบุรี เมื่อได้ทรงทราบข่าวว่าครัวมอญอพยพเข้ามา จึงโปรดให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคล เสด็จขึ้นไปคอยรับครัวมอญอยู่ที่เมืองนนทบุรี จัดจากแลไม้สำหรับปลูกสร้างบ้านเรือน แลเสบียงอาหารของพระราชทานขึ้นไปพร้อมเสร็จ ทางเมืองกาญจนบุรีโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎฯ คุมไพร่พลสำหรับป้องกันครัวมอญ แลเสบียงอาหารของพระราชทานออกไปรับครัวมอญทางหนึ่ง โปรดให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีเปนผู้ใหญ่เสด็จกำกับไปด้วย ทางเมืองตากนั้นโปรดให้เจ้าพระยาอภัยภูธรที่สมุหนายกเปนผู้ขึ้นไปรับ ครัวมอญมาถึงเมืองนนทบุรีเมื่อณวันพุฒเดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ ปีกุญสัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ พ.ศ. ๒๓๕๘ เปนจำนวนคน ๔๐,๐๐๐ เศษ[๑] โปรดให้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในแขวงเมืองประทุมธานีบ้าง[๒] เมืองนนทบุรีบ้าง เมืองนครเขื่อนขันธ์บ้าง สมิงสอดเบาที่เปนหัวน่านั้นทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เปนพระยารัตนจักร ตัวนายรามัญที่เปนผู้ใหญ่มียศอยู่ในเมืองเดิม ก็ทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เปนพระยาทุกคน
[๑] มอญพวกนี้ที่เรียกกันว่ามอญใหม่ มอญที่มาครั้งพระยาเจ่งเรียกกันว่ามอญเก่า
[๒] เข้าใจว่าเมืองประทุมธานีตั้งคราวนี้เอง