- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
พระพุทธบุษยรัตน์[๑]พระองค์นี้ เปนพระแก้วผลึกอย่างที่ช่างเรียกว่าเพ็ชรน้ำค้าง หรือบุษย์น้ำขาว เนื้อแก้วสนิทแลเปนแท่งขนาดใหญ่ยังไม่เคยมีเหมือน ทรวดทรงพระพุทธปฏิมาทำงามยิ่งกว่าพระแก้วอย่างเดียวกัน แม้ขนาดย่อมๆ ซึ่งได้เคยมีมา วัดขนาดมีประมาณสูงแต่ที่สุดทับเกษตรขึ้นไปจนสุดปลายพระจุฬาธาตุ ๑๒ นิ้ว ๒ กระเบียดอัษฎางค์ น่าตักวัดแต่พระชาณุทั้ง ๒ เก้านิ้ว กับ ๔ กระเบียดอัษฎางค์ ระหว่างพระกรรปุระทั้งสอง ๖ นิ้ว ๔ กระเบียดอัษฎางค์ ระหว่างพระอังสกูฏ ๔ นิ้วกับ ๗ กระเบียดอัษฎางค์ ประมาณพระเศียรแต่ปลายพระหณุขึ้นไปถึงที่สุดพระจุฬาธาตุ ๔ นิ้วกึ่งกับ ๒ กระเบียดอัษฎางค์ กว้างพระภักตร์วัดในระหว่างพระกรรณทั้ง ๒ ข้าง ๒ นิ้วกับ ๗ กระเบียดอัษฎางค์ ก้อนแก้วเดิมจะได้มาแต่ที่ใด ผู้ใดจะเปนผู้สร้าง แลจะสร้างที่ไหนไม่ปรากฎ ตำนานที่สืบรู้ต้นเรื่องได้เพียงว่า พระพุทธปฏิมาแก้วผลึกพระองค์นี้ มีผู้พาหนีภยันตรายไปซ่อนไว้ในถ้ำเขาส้มป่อยนายอน แขวงเมืองนครจำปาศักดิ ข้างฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีพราน ๒ คน ชื่อพรานทึง พรานเทิง ไปเที่ยวยิงสัตว์ป่า ไปพบพระแก้วนี้อยู่ในถ้ำ ในตอนปลายสมัยเมื่อกรุงเก่าเปนราชธานี พรานทึง พรานเทิงรู้ว่าเปนของวิเศษ แต่สำคัญว่าเปนเทวรูป จึงไปเส้นสรวงบวงบนตามวิไสยพรานมาเนืองๆ ภายหลังพรานทั้ง ๒ นั้นเห็นว่าพระแก้วอยู่ในที่เปลี่ยว เกรงว่าใครมาพบเข้าก็จะลักไปเสีย คิดกันจะเชิญมารักษาไว้เส้นสรวงที่บ้านเรือนตน จึงเอาเชือกผูกพระแก้วแขวนห้อยมากับคันน่าไม้ ในเวลาที่เดินมานั้น แก้วตรงพระกรรณเบื้องขวากระทบคันน่าไม้ลิไปน่อย ๑ พรานทึงพรานเทิงรักษาพระแก้วไว้ที่บ้านต่อมา เวลาไปยิงได้สัตว์ป่าสำคัญว่าได้ด้วยอำนาจที่บนบานพระแก้ว จึงเอาโลหิตแต้มเส้นเปนนิจมา
ต่อมาในสมัยเมื่อกรุงธนบุรีเปนราชธานี[๒] เจ้าไชยกุมารเปนเจ้านครจำปาศักดิ ได้ทราบความจากพ่อค้าที่ไปเที่ยวซื้อหนังซื้อเขาสัตวป่าตามบ้านพราน ว่าพรานทึงพรานเทิงมีพระแก้วเปนของวิเศษอยู่องค์ ๑ เจ้าไชยกุมารจึงให้ไปว่ากล่าวแก่พรานทึงพรานเทิงได้พระแก้วผลึกมา เห็นว่าเปนพระพุทธปฏิมาอันวิเศษจริง จึงให้สร้างวิหารประดิษฐานไว้เปนที่สักการบูชาในเมืองนครจำปาศักดิ ข่าวที่เจ้านครจำปาศักดิมีพระแก้วผลึกวิเศษองค์นี้ ไม่ได้ทราบเข้ามาถึงกรุงธนบุรี แม้เมื่อกองทัพไทยยกไปถึงเมืองนครจำปาศักดิ เมื่อครั้งตีกรุงศรีสัตนาคนหุต คราวได้พระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกฏ ก็มิได้ทราบความเรื่องพระแก้วผลึกพระองค์นี้ ด้วยพวกเมืองนครจำปาศักดิพากันซ่อนเร้นปิดบังเสีย เจ้าไชยกุมารพิราไลย เจ้าน่าได้เปนเจ้านครจำปาศักดิ ตรงสมัยในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร ย้ายเมืองนครจำปาศักดิมาตั้งฝั่งตวันตกแม่น้ำโขง ก็สร้างวิหารเปนที่ประดิษฐานพระแก้วผลึกในเมืองใหม่ แต่ความก็ไม่ทราบเข้ามาถึงกรุงเทพฯ ตลอดรัชกาลที่ ๑ จนเจ้าน่าพิราไลยในรัชกาลที่ ๒ โปรดให้ข้าหลวงออกไปปลงศพเจ้าน่าเมื่อปีมแมตรีศกจุลศักราช ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔ ข้าหลวงไปเห็นพระแก้วผลึกองค์นี้เข้า จึงบอกแก่พวกท้าวพระยาเมืองนครจำปาศักดิว่า พระแก้วผลึกนี้เปนของวิเศษ ไม่ควรจะเอาไว้ที่เมืองนครจำปาศักดิ ซึ่งอยู่ชายเขตรแดนพระราชอาณาจักร แลเคยมีเหตุโจรผู้ร้ายเข้าปล้นเมือง ถ้ามีเหตุเช่นนั้นอิกของวิเศษอาจจะเปนอันตรายหายสูยไปเสีย พวกท้าวพระยาเมืองนครจำปาศักดิเห็นชอบด้วย จึงมีใบบอกเข้ามาให้กราบบังคมทูลฯ ถวายพระพุทธปฏิมาแก้วผลึกนั้น จึงโปรดให้ข้าหลวงออกไปรับแห่พระแก้วผลึก แลมีการสมโภชตามหัวเมืองรายทางตลอดมาจนถึงกรุงเทพฯ
เมื่อมีงานสมโภชที่ในกรุงเทพฯ เสร็จแล้ว จึงโปรดให้เชิญพระพุทธปฏิมาแก้วผลึกนั้นไปไว้ที่โรงที่ประชุมช่างข้างพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ให้ช่างจัดเนื้อแก้วผนึกที่เหมือนกับเนื้อแก้วในพระองค์พระพุทธรูป มาเจียนจรในเปนรูปปลายพระกรรณที่ลิอยู่นั้นต่อติดให้บริบูรณ์แล้ว ให้ขัดเกลาชักเงาชำระพระพุทธปฏิมาแก้วผลึกให้เกลี้ยงเกลามีเงาขึ้นสนิทเสมอกัน แล้วทรงพระราชดำริห์พระราชทานอย่างให้ช่างปั้นฐาน มีน่ากระดานชั้นสิงห์บัวหงาย แลน่ากระดานบนลวดทับหลัง ย่อเก็จเปนหลั่น แลมีน่ากระดานท้องไม้ชั้นรองรับบัวกลุ่มหุ้มรับทับเกษตรแก้วต่อองค์พระปฏิมา โดยทรวดทรงสัณฐานที่พึงพอพระราชหฤไทยแล้ว ให้หล่อด้วยทองสัมริด แต่งให้เกลี้ยงเกลาสนิทแล้วหุ้มด้วยทองคำ ทำให้เกลี้ยงกวดขึ้นเงางาม ด้วยชอบพระราชหฤไทยว่าเนื้อแก้วเกลี้ยงใสบริสุทธิ ติดต่อกับเครื่องทองอันเกลี้ยงนั้นงามยิ่งนัก แต่ยอดพระรัศมีพระศกยังไม่มีต้องอย่างแบบแผนพระพุทธรูป จึงมีรับสั่งให้ช่างแผ่ทองคำหุ้มส่วนพระเศียรที่มีพระศกแล้วดุนเปนเม็ดพระศกเต็มตามที่ แล้วต่อกับพระรัศมีลงยาราชาวดีมีเพ็ชรประดับใจกลางน่าหลังแลกลีบต้นพระรัศมี เมื่อเครื่องทองพระศกพระรัศมีเสร็จแล้วถวายสวมลง พื้นทองแลช่องดุนพระศกก็มาปรากฎข้างพระภักตร์เปนรวงผึ้งไป พระพักตร์ก็เห็นพรรณเหลืองคล้ำไม่ผ่องใสเหมือนสีพระองค์ จึงมีรับสั่งให้ประชุมนายช่างที่มีสติปัญญาปฤกษากันคิดแก้ไข จึงปฤกษาตกลงกันเอาเนื้อเงินไล่ขาวบริสุทธิแผ่หุ้มเสียชั้นหนึ่งก่อน ขัดเงินข้างในให้เกลี้ยงชักเงางามแล้ว จึงสวมพระศกทองคำลงชั้นนอกแผ่นเงิน ก็เห็นพระภักตร์ใสสอาดขาวนวลดีเสมอกับพระองค์ แล้วมีรับสั่งให้ทำพระสุวรรณกรัณฑ์น้อยพอจะสอดลงในช่องบนพระจุฬาธาตุ เปนที่บรรจุพระบรมธาตุไว้ให้สมควรเปนอุดมปูชนียวัตถุ แลให้ทำตัวทองน้อยเท่ากับช่องพระเนตร แล้วลงยาราชาวดีขาวดำตามที่พระเนตรขาวดำ แล้วฝังให้แนบพระเนตรให้งามดีขึ้น เพราะแต่ก่อนนั้นช่องพระเนตรเปนแต่ขุม แล้วแลแต้มหมึกแลฝุ่นเปนขาวดำเท่านั้น ไม่มีผิวเปนมันมั่นคงเหมือนผิวยาราชาวดี แลมีรับสั่งให้ช่างทองทำฉัตรทองคำ ๕ ชั้น ๆ ต้นเท่าส่วนพระอังษา ลงยาราชาวดีประดับพลอยมีใบโพธิ์แก้วห้อยเปนเครื่องประดับ ปลายคันฉัตรปักลงกับฐานข้างเบื้องพระปฤษฎางค์พระพุทธปฏิมา แลให้ทำสันถัตห้อยน่าฐานพระพุทธปฏิมาด้วยทองคำจำหลักลายลงยาราชาวดีประดับเพ็ชรแลพลอย ครั้นการสำเร็จจึงให้เชิญไปประดิษฐานไว้ในหอพระสุราไลยพิมาน ซึ่งประดิษฐานอยู่บ้างบุรพทิศพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เปนที่ทรงสักการบูชาวันละสองเวลาเช้าค่ำมิได้ขาด
ต่อมาโปรดให้ตกแต่งหอพระสุราไลยพิมานด้วยเครื่องแก้ว ล้วนแต่ของอย่างดีที่มีเข้ามาจากต่างประเทศ ยังปรากฎอยู่จนทุกวันนี้
[๑] หนังสือตำนานพระพุทธบุษยรัตน์ ข้าพเจ้าได้พบ ๒ ฉบับ เปนพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฉบับ ๑ ทรงเริ่มต้นขึ้นไว้แต่ไม่จบ อิกฉบับ ๑ ว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก สาลักษณ์) พร้อมด้วยเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงษ์ เจ้าเมืองอุบลราชธานี แลเจ้าราชวงษ์เมืองนครจำปาศักดิคนเก่าเรียบเรียงขึ้น เมื่อณวันพุฒเดือน ๖ ขึ้นค่ำ ๑ ปีรกาตรีศก จุลศักราช ๑๒๒๓ พ.ศ. ๒๔๐๔
[๒] ความที่กล่าวมา กล่าวตามพระราชนิพนธ์ ต่อนี้ไปจะกล่าวตามตำนานฉบับหลัง แต่ข้าพเจ้าสงไสยว่าจะได้มีใครแทรกแซงเพิ่มเติมเสียบ้างแล้ว จึงจะคัดแต่เนื้อความลงไว้ในหนังสือนี้