- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
เมื่อเดือน ๔ ปีมแมเบญจศก จุลศักราช ๑๑๘๕ พ.ศ. ๒๓๖๖ นั้น อังกฤษกับพม่าเกิดรบกันขึ้น ด้วยมีสาเหตุกันมาช้านาน มูลเหตุแห่งการสงครามนั้น เปนด้วยเรื่องแย่งอำนาจกันในประเทศน้อย ๆ ที่ตั้งอยู่ระหว่างเมืองพม่ากับเมืองอินเดียของอังกฤษ ประเทศน้อย ๆ เหล่านั้น ที่เขตรแดนต่อติดกับพม่า แต่ใต้ขึ้นไปเหนือ คือ เมืองยะไข่ ๑ เมืองจิตตกอง ๑ เมืองมณีบุระ ๑ ต่อนั้นออกไป ยังมีเมืองอัสสัม แลเมืองกระแซอิก ๒ เมือง รวมเปน ๕ เมือง ในเวลาเมื่ออังกฤษแรกออกมาตั้งในอินเดีย ยังไม่ทันที่จะมีอำนาจ แลข้างฝ่ายเมืองพม่าก็ยังแยกตอนใต้เปนเมืองรามัญ ตอนเหนือเปนเมืองพม่าเปนอิศรแก่กันอยู่นั้น เมืองทั้ง ๕ ที่กล่าวมา ต่างก็อยู่เปนอิศร เว้นแต่เวลาใดพม่าเอาเมืองมอญไว้ใด้ในอำนาจ เช่นครั้งพระเจ้าหงษาวดีบุเรงนองเปนต้น เมืองเล็ก ๆ เมืองใดที่อยู่ติดต่อกับแดนพม่า เกรงพม่าจะยกไปรบ ก็ยอมเปนประเทศราชขึ้นต่อเมืองพม่า เวลาใดพม่าอ่อนอำนาจลง เมืองเหล่านั้นก็กลับตั้งตัวเปนอิศรอิก เปนดังนี้มาจนถึงราชวงษ์พระเจ้าอลองพญาได้ครองเมืองพม่า ปราบปรามหัวเมืองมอญฝ่ายใต้ไว้ได้ในอำนาจสิทธิขาด ถึงแผ่นดินพระเจ้าปะดุง พม่าตีได้เมืองยะไข่ เมืองจิตตกอง เมืองมณีบุระ แลจะขยายราชอาณาจักรออกไปถึงเมืองกระแซ, เมืองอัสลัม จึงเริ่มเกิดเหตุเปนอริกับอังกฤษแต่นั้นมา แต่เปนเวลาที่อังกฤษยังมีกำลังไม่มากนัก ซ้ำประจวบเวลาที่กำลังทำศึกกับฝรั่งด้วยกันเอง อังกฤษจึงต้องเอาใจดีต่อพม่า จนกองทัพพม่าล่วงเลยเข้าไปในเขตรแดนอังกฤษ แลว่ากล่าวข่มขู่ต่าง ๆ อังกฤษก็ผ่อนผันพูดจาแต่โดยดี ครั้นต่อมาถึงแผ่นดินพระเจ้าจักกายแมง พม่ามีความประมาทหมายว่าจะทำได้อย่างครั้งพระเจ้าปะดุงผู้เปนไอยกา จึงตีเมืองน้อยที่ต่อเขตรแดนออกไปทางข้างอินเดียของอังกฤษ จนเมืองกระแซแลเมืองอัสลัม เวลานั้นอังกฤษเสร็จการสงครามแล้ว แลเชื่อว่ามีกำลังพอที่จะรบพม่าได้ จึงประกาศทำสงครามกับพม่า ชั้นแรกอังกฤษส่งทหารมาทางบก รบกองทัพพม่าที่ออกไปตั้งอยู่ณเมืองจิตตกอง เมืองยะไข่ แต่ครั้นพม่าถอยกลับเข้ามาในเขตรพม่า อังกฤษจะยกติดตามเข้ามาทางบก เห็นทางที่จะข้ามเขาบันทัดกันดารนัก จึงเปลี่ยนเปนยกกองทัพเรือเข้ามาตีทางปากน้ำ ตีได้เมืองร่างกุ้งแล้ว พอเข้าฤดูฝน จะยกกองทัพต่อขึ้นไปอิก ขัดสนด้วยกำลังพาหนะเสบียงอาหารแลไพร่พลก็เกิดไข้เจ็บ อังกฤษจึงต้องทำศึกกับพม่าอยู่คราวนั้นหลายปี
เมื่อก่อนอังกฤษจะรบพม่านั้น เรือเหราข้ามสมุทบรรทุกสินค้าไปขายที่เมืองสิงคโปร์ เมื่อปลายปีมแมเบญจศก ครอเฟิดผู้รักษาเมืองสิงคโปร์บอกขุนสุรภาษานายเรือให้เข้ามาเรียนต่อเสนาบดีไทยว่า อังกฤษเห็นจะเกิดรบกับพม่าเปนแน่แล้ว เพราะพม่าดูหมิ่นอังกฤษมาช้านาน จนอังกฤษทนไม่ได้จึงต้องรบ ครอเฟิดคัดหนังสือจดหมายเหตุ ซึ่งเลขานุการของผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ ได้เรียบเรียงชี้แจงเหตุการณ์ที่ได้มีมาในระหว่างอังกฤษกับพม่า จนถึงเกิดเหตุที่จะต้องรบกัน มอบให้ขุนสุรภาษาถือเข้ามาให้เสนาบดีไทยด้วยฉบับ ๑ ด้วยในเวลานั้นอังกฤษก็เข้าใจอยู่ว่า ไทยเปนศัตรูกับพม่ามาแต่เดิม คงจะไม่ช่วยพม่ารบ แต่ก็ไม่ไว้ใจไทยทีเดียว ด้วยฝ่ายไทยลงไปตีได้เมืองไทรบุรี ตั้งปกครองอยู่ใกล้ชิดติดแดนทางเกาะหมาก เกรงจะเอาเปรียบในเวลาอังกฤษติดการสงครามประการ ๑ อิกประการ ๑ อังกฤษรู้อยู่ว่ามอญเข้าข้างไทย แลมีมอญที่อพยพหลบหนีพม่าเข้ามาอยู่เมืองไทยมาก อังกฤษตีเมืองพม่าจำต้องตีขึ้นไปทางข้างฝ่ายใต้ ซึ่งเปนเมืองมอญอยู่ก่อน อังกฤษอยากจะได้กำลังมอญทั้งที่อยู่ในเมืองไทยแลที่อยู่ในเมืองมอญช่วยอังกฤษรบพม่าด้วย จึงได้คิดอ่านผูกพันทาบทามไว้โดยทางไมตรี[๑]
ปีวอกฉศก จุล ๑๑๘๖ พ.ศ. ๒๓๖๗ เมื่อเดือน ๕ ปีวอกฉศก กองอาทมาตออกไปสืบราชการทางแดนพม่า ได้ความมาว่าอังกฤษกับพม่าเกิดรบกันขึ้นแล้ว ทรงพระราชดำริห์ว่า การศึกที่เกิดขึ้นใกล้ชิดติดต่อกับพระราชอาณาเขตร ไม่ควรจะไว้ใจแก่เหตุการณ์ จึงมีท้องตราสั่งหัวเมืองชายแดนให้จัดการรักษาด่านทาง แลสืบสวนเหตุการณ์ให้ถ้วนถี่ขึ้น แลทรงพระราชดำริห์ให้เตรียมกองทัพที่จะยกออกไปตั้งฟังเหตุการณ์ที่ปลายแดน แต่ยังหาได้ยกไม่
[๑] ความที่กล่าวมานี้ จะปรากฎต่อไปในพระราชพงษาวดารรัชกาลที่ ๓ อนึ่งบันทึกจดหมายเหตุซึ่งครอเฟิดคัดสำเนาส่งมานั้นได้แปลออกเปนภาษาไทย แลลงไว้ในหนังสือพระราชพงษาวดาร ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงษ์เต็มสำเนา เปนหนังสือกว่าเล่มสมุดไทย ๑ ข้าพเจ้าได้อ่านตรวจแลสอบดูกับหนังสือพงษาวดารพม่า ซึ่งเซออาเทอแฟรอังกฤษเปนผู้แต่ง ตัวเรื่องพงษาวดารที่กล่าวทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ตรงกันทีเดียว เพราะหนังสือบันทึกจดหมายเหตุแต่งขึ้นสำหรับแต่จะกล่าวโทษพม่า ประสงค์จะให้ผู้อ่านเห็นว่าเปนการสมควรที่อังกฤษจะรบ ไม่เปนประโยชน์ในทางพงษาวดาร ข้าพเจ้าจึงคัดออกเสีย ไม่เอามาลงไว้ในพระราชพงษาวดารฉบับนี้