- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
ปีจอฉศก จุล ๑๑๗๖ พ.ศ. ๒๓๕๗ เมื่อเดือน ๕ ปีจอฉศกจุลศักราช ๑๑๗๖ ทรงพระราชดำริห์ว่า ที่ลัดต้นโพธิ์นั้นเมื่อในรัชกาลที่ ๑ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้โปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จลงไปกะการที่จะสร้างเมืองขึ้นไว้ป้องกันข้าศึกที่จะมาทางทะเลอิกแห่ง ๑ การยังค้างอยู่เพียงได้ลงมือทำป้อมยังไม่ทันแล้ว จะไว้ใจแก่การศึกสงครามทางทะเลมิได้ ควรจะต้องทำขึ้นให้สำเร็จ จึงโปรดให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เปนแม่กอง เสด็จลงไปทำเมืองขึ้นที่ปากลัด ตัดเอาท้องที่แขวงกรุงเทพมหานครบ้างแลแขวงเมืองสมุทรปราการบ้าง รวมกันตั้งขึ้นเปนเมืองใหม่อิกเมือง ๑ พระราชทานชื่อว่าเมืองนครเขื่อนขันธ์[๑] ให้ย้ายครัวมอญเมืองประทุมธานีพวกพระยาเจ่งมีจำนวนชายฉกรรจ์สามร้อยคนลงไปอยู่ณเมืองนครเขื่อนขันธ์ แล้วทำป้อมขึ้นข้างฝั่งตวันออกสามป้อมให้ชื่อป้อมปู่เจ้าสมิงพราย ๑ ป้อมปีศาจสิง ๑ ป้อมราหูจร ๑ รวมทั้งป้อมเก่าชื่อป้อมวิทยาคมซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๑ ด้วยเปน ๔ ป้อม สร้างข้างฝั่งตวันตกอิก ๕ ป้อม ชื่อป้อมแผลงไฟฟ้า ๑ ป้อมมหาสังหาร ๑ ป้อมศัตรูพินาศ ๑ ป้อมจักรกรด ๑ ป็อมพระจันทร์พระอาทิตย์ ๑ ป้อมเหล่านี้ชักกำแพงถึงกัน ข้างหลังเมืองก็ทำกำแพงล้อมรอบ ตั้งยุ้งฉางตึกดินแลศาลาไว้เครื่องสาตราวุธพร้อมทุกประการ ที่ริมลำแม่น้ำทำลูกทุ่นสายโซ่สำหรับขึงกั้นแม่น้ำ หลักผูกทุ่นก่อด้วยอิฐใช้ไม่ได้ จึงคิดเอาซุงมาทำเปนต้นโกลน ร้อยเกี่ยวคาบกระหนาบกันเปนตอน ๆ เข้าไปปักหลักหว่างต้นโกลนทุกช่อง ร้อยโซ่ผูกทุ่นได้มั่นคงดี การสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์สำเร็จ ได้ตั้งพิธีฝังอาถรรภ์ปักหลักเมืองเมือณวันศุกร เดือน ๗ แรม ๑๐ ค่ำ ปีกุนสัปตศก จุลศักราช ๑๑๗๗ พ.ศ. ๒๓๕๘ ครั้งนั้นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลทรงสร้างพระอารามขึ้นไว้ในเมือง พระราชทานนามว่าวัดทรงธรรมพระอาราม ๑ พระอุโบสถเปนแต่เครื่องไม้ฝากระดาน แล้วจึงโปรดตั้งสมิงทอมาบุตรพระยาเจ่ง[๒] ซึ่งเปนพระยาพระรามน้องเจ้าพระยามหาโยธาเปนพระยานครเขื่อนชันธ์ รามัญราชชาติเสนาบดี ศรีสิทธิสงคราม ผู้รักษาเมือง แลตั้งกรมการพร้อมทุกตำแหน่ง
[๑] ที่เมืองนครเขื่อนขันธ์นี้ แต่โบราณมาก็เปนเมืองเรียกว่าเมืองพระประแดง ตั้งอยู่ที่ตำบลราชบุรณะฝั่งแม่น้ำข้างตวันออก เปนเมืองปากน้ำอย่างเมืองสมุทปราการทุกวันนี้ ด้วยครั้งนั้นทเลยังเข้ามาฦก ครั้นแผ่นดินงอกออกไป เมืองพระประแดงห่างทเลนัก จึงย้ายเมืองลงไปตั้งที่บางเจ้าพระยา เรียกว่าเมืองสมุทปราการ ที่เมืองพระประแดงเก่ายังเปนเมืองอยู่จนแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
[๒] พระยาเจ่งคนนี้ เปนหัวน่าพวกมอญที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทยเมื่อครั้งกรุงธนบุรี แลเปนต้นสกูลคชเสนี