- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
[๑]ในปีจอฉศก จุลศักราช ๑๑๗๖ พ.ศ. ๒๓๕๗ นี้ โปรดให้ตั้งเมืองลำพูนไชย ซึ่งร้างมาแต่ครั้งพม่ามาได้เมืองเชียงใหม่นั้น กลับขึ้นเปนบ้านเมืองตามเดิม แลโปรดให้เมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองลำพูนไชย เปนเมืองประเทศราชขึ้นกรุงเทพฯ แต่นั้นมา
เหตุที่จะตั้งเมืองทั้ง ๓ ให้เปนเมืองประเทศราชมีศักดิเสมอกันเกี่ยวด้วยเจ้า ๗ ตน ซึ่งเปนต้นวงษ์สกูลของเจ้านายทั้ง ๓ เมืองสืบมาจนทุกวันนี้ จำต้องอธิบายความในเรื่องพระราชพงษาวดารย้อนถอยหลังขึ้นไปสักน่อย จึงจะเข้าใจได้ชัดเจน คือ เมื่อครั้งกรุงเก่าเสียแก่พม่าข้าศึก เมืองเชียงใหม่ เมืองลำพูนไชย แลเมืองนครลำปาง ก็ตกอยู่ในอำนาจพม่า ในสมัยนั้นในพวกชาวเมืองเชียงใหม่มีหัวน่า ๒ คน เรียกว่าพระยาจ่าบ้านคน ๑ เรียกว่าฟ้าชายแก้วเปนหลานพระยาจ่าบ้านคน ๑ ทั้ง ๒ คนนี้ต้องจำใจอยู่ในอำนาจพม่า ๆ ตั้งพระยาจ่าบ้านเปนเจ้าเมืองเชียงใหม่ ตั้งฟ้าชายแก้วเปนอุปราช ฟ้าชายแก้วถึงแก่กรรม มีบุตร ๗ คน คือ ๑ ชื่อกาวิละ, ๒ ชื่อคำโสม, ๓ ชื่อน้อย[๒]ธรรม, ๔ ชื่อดวงทิพ, ๕ ชื่อหมูล่า, ๖ ชื่อคำฟั่น, ๗ชื่อบุญมา, ธิดามี ๓ คน ๑ ชื่อนางศิริรดจา,[๓] ๒ ชื่อนางศิริวรรณา, ๓ ชื่อศิริบุญธรรม, เมื่อพระยาอุปราช (ฟ้าชายแก้ว) ถึงแก่กรรมแล้ว พม่าจึงตั้งนายกาวิละบุตรใหญ่ให้เปนพระยาอุปราชต่อมา ครั้นเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เปนใหญ่ ยกกองทัพหลวงขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ พม่าแต่งให้พระยาเชียงใหม่ (จ่าบ้าน) พระยาอุปราช (กาวิละ) คุมกองทัพชาวเชียงใหม่มาต่อสู้ไทย พระยาจ่าบ้านพระยากาวิละไม่เต็มใจอยู่ในบังคับพม่าอยู่แล้ว เมื่อเห็นไทยด้วยกันกลับมีกำลังขึ้นไปปราบปรามพม่า ก็พาพรรคพวกมาสวามิภักดิต่อพระเจ้ากรุงธนบุรีช่วยรบพุ่งพม่าแตกไปจากเมืองเชียงใหม่ในครั้งนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงตั้งพระยาจ่าบ้านเปนพระยาวิเชียรปราการเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้พระยากาวิละเปนพระยานครลำปาง ต่อมาในครั้งกรุงธนบุรีนั้นเองพม่ากลับมาตีเมืองเชียงใหม่ เมืองนครลำปางอิก พระยาจ่าบ้านที่เปนพระยาวิเชียรปราการรักษาเมืองเชียงใหม่ไว้ไม่ได้ ต้องอพยพหนีเข้ามาอยู่หัวเมืองชั้นใน แต่พระยากาวิละเปนคนเข้มแขงในการศึกสงคราม รักษาเมืองนครลำปางไว้ได้ พวกตระกูลเจ้า ๗ ตนจึงตั้งอยู่เมืองนครลำปางต่อมา แต่เมืองเชียงใหม่นั้นต้องทิ้งร้างอยู่จนรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีมแมนพศก จุลศักราช ๑๑๔๙ พ.ศ. ๒๓๓๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทเสด็จขึ้นไปตั้งเมืองเชียงใหม่ให้เปนเมืองใหญ่ สำหรับรักษาราชการข้างปลายแดนพระราชอาณาจักร โปรดให้ย้ายพระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปางไปเปนพระยาเชียงใหม่ ให้นายคำโสมผู้น้องรองลงมาเปนพระยานครลำปาง แบ่งเจ้านาย ๗ ตนไปช่วยราชการเมืองเชียงใหม่บ้าง เอาไว้เมืองนครลำปางบ้าง แต่เมืองลำพูนไชยนั้นยังต้องทิ้งให้ร้างอยู่ ด้วยยังรวบรวมราษฎรไม่ได้พอจะตั้งเปนบ้านเปนเมือง มาจนถึงรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีจอฉศก จุลศักราช ๑๑๗๖ พ.ศ. ๒๓๕๗ ทรงพระราชดำริห์ว่าเมืองนครเชียงใหม่แลเมืองนครลำปาง ก็ได้ตั้งมั่นคง ผู้คนพลเมืองค่อยบริบูรณ์แล้ว สมควรจะตั้งเมืองลำพูนไชยที่ยังร้างอยู่กลับเปนบ้านเมืองตามเดิมได้ แลในเวลานั้นพระยานครลำปาง (คำโสม) ซึ่งเปนน้องรองแต่พระยากาวิละถึงอนิจกรรมลง ตำแหน่งพระยาว่าราชการเมืองนครลำปางว่างอยู่ จึงทรงตั้งให้พระยาอุปราช ดวงทิพซึ่งเปนน้องที่ ๔ เปนพระยานครลำปาง ตั้งนายคำฟั่นน้องที่ ๖ เปนพระยานครลำพูน ส่วนพระยากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่นั้นทรงพระราชดำริห์ว่าเปนผู้ใหญ่ แลมีบำเหน็จความชอบมามาก จึงทรงพระกรุณาโปรดยกเกียรติยศขึ้นเปนพระเจ้าเชียงใหม่ ให้พระเจ้าเชียงใหม่แลพระยานครลำปางแบ่งราษฎรมาตั้งภูมิลำเนาที่เมืองนครลำพูน แลยกทั้ง ๓ เมืองนั้นเปนประเทศราชขึ้นกรุงเทพฯ เหมือนอย่างเมืองน่านแต่นั้นมา
[๑] ความตอนนี้ กล่าวตามเนื้อความในหนังสือพงษาวดารเชียงใหม่ เมืองนครลำปาง เมืองนครลำพูน ที่พระยามหาอำมาตย์(หรุ่น) เรียบเรียงไว้
[๒] ตามประเพณีถือกันในมณฑลพายัพ ใครได้บวชเปนสามเณรแล้ว ใช้คำว่า น้อย เติมเข้าน่าชื่อ ถ้าได้บวชเปนพระภิกษุ ใช้คำว่าหนาน เติมเข้าน่าชื่อ
[๓] นางศิริรดจานี้ คือเจ้าจอมมารดาเจ้าฟ้าพิกุลทอง ในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท