- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
ปีมโรงโทศก จุล ๑๑๘๒ พ.ศ. ๒๓๖๓ เมื่อณเดือน ๕ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมโรงโทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พ.ศ. ๒๓๖๓ พระเจ้าแผ่นดินโปตุเกตให้เจ้าเมืองโค[1]โครงข้อสัญญาทางพระราชไมตรีจะขอทำกับกรุงสยาม เปนสัญญา ๒๓ ข้อ มอบให้กาลสเดอสิลไวราเข้ามาอิก ขอให้กาลสเปนกงสุลเยเนราลแลขอพระราชทานที่ตั้งบ้านเรือนให้กาลสอยู่ แลให้ได้ปักเสาธงด้วย ข้อสัญญาที่โครงมานั้นขอให้ท่านเสนาบดีพิจารณาดูทุก ๆ ข้อ ข้อไรที่ไม่ชอบใจไทยก็ให้แก้ไขตามเห็นสมควร ในเวลานั้นไทยกำลังต้องการเครื่องสาตรารุธจากต่างประเทศ โปตุเกคได้รับเปนธุระในเรื่องนี้สำเร็จได้เมื่อกาลสเข้ามาคราวก่อน แลตัวกาลสเองก็ได้เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ช้านาน เห็นจะได้ประพฤติตัวถูกอัธยาไศรยกับไทยไม่มีข้อรังเกียจ จึงโปรดพระราชทานที่ให้กาลสอยู่ที่บ้านองเชียงสืออยู่แต่ก่อน[2] แล้วทรงตั้งให้กาลสเปนที่หลวงอภัยพานิช พระราชทานเครื่องยศเหมือนขุนนางในกรุง[3] แต่หนังสือสัญญานั้นยังหาได้ตรวจไม่ เพราะประจวบเวลาเกิดอหิวาตกะโรคจึงงดอยู่ จนเดือน ๑๒ ปีนั้นความไข้สงบแล้ว จึงได้โปรดให้เสนาบดีประชุมกันตรวจดูข้อสัญญา ข้อใดไม่ชอบใจก็แก้ไขเสียบ้าง แล้วจึงเขียนเปนอักษรไทยฉบับหนึ่ง อักษรโปตุเกตฉบับหนึ่ง เรื่องความต้องกัน ประทับตราส่งออกไปเมื่อณเดือน ๑๒ ขึ้น ๙ ค่ำ
หนังสือที่เสนาบดีทำให้โปตุเกตออกไปครั้งนี้ ฉบับภาษาโปตุเกต เห็นจะเปนแต่คำแปล ไม่ได้ประทับตรา แม้ตราที่ประทับฉบับภาษาไทยนั้น เข้าใจว่าจะเปนตราบัวแก้ว ไม่ใช่พระราชลัญจกร หนังสือที่ทำให้โปตุเกตไปนี้ ที่จริงเปนหนังสืออนุญาตให้โปตุเกตมาค้าขาย ไม่ใช่หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรี เพราะเปนหนังสือไทยทำให้ฝ่ายเดียว ไม่ใช่เปนหนังสือซึ่งผู้แทนรัฐบาลทั้ง ๒ ฝ่ายได้ลงชื่อ แลพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ ได้พระราชทานอนุมัติตามประเพณีการทำหนังสือสัญญา การทำหนังสืออนุญาตให้ต่างประเทศไปมาค้าขายเช่นนี้ เปนประเพณีมีมาแต่โบราณ มีสำเนาศุภอักษรซึ่งออกญาไชยาธิบดีผู้สำเร็จราชการเมืองตนาวศรี อนุญาตให้ชาวเดนมาร์กไปมาค้าขายแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ได้มาจากเมืองเดนมาร์ก เปนตัวอย่างอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ ส่วนหนังสือสัญญานั้น แม้ประเพณีแต่โบราณก็ต้องทำพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ข้าพเจ้าได้เห็นในหนังสือรายงานของข้าราชการอังกฤษ ชื่อแดนเวอส์ ซึ่งรัฐบาลแต่งให้ไปค้นหนังสือเก่าที่เมืองโปตุเกต ปรากฎว่าเมื่อโปตุเกตแรกออกมาค้าขายถึงประเทศทางตวันออก เมื่อทำหนังสือสัญญากับเจ้าที่ครองเมืองทางตวันออกนี้ หนังสือสัญญาจาฤกลงในแผ่นทอง แลทั้ง ๒ ฝ่ายเอาหัวแหวนประทับแทนตราดังนี้ ก็เข้าใจได้ว่าประเพณีทำสัญญาระหว่างพระนครในมัชฌิมประเทศแต่โบราณมา คงจะจาฤกลงในแผ่นทองจึงเปนศัพท์ที่ใช้กันในหนังสือที่แต่งต่อมา ว่าสองพระนครเปนทองแผ่นเดียวกัน หรือใช้เปนอุประมาว่า สองพระนครเปนสุวรรณปถพีอันเดียวกัน ทั้ง ๒ คำนี้เห็นจะเกิดจากประเพณี ที่จาฤกหนังสือสัญญาระหว่างประเทศลงในแผ่นทองนั้นเอง ข้อที่ว่าใช้หัวแหวนประทับแทนตรานั้นก็เข้าใจได้ชัดเจน คือกดหัวแหวนลงบนแผ่นทองห้เปนรอยตามรูปหัวแหวน ก็เปนสำคัญได้เหมือนตรา ประเพณีที่แกะตราบนหัวแหวนสำหรับประทับดินประทับครั่ง จะเนื่องมาแต่ประทับหัวแหวนที่แผ่นทองนี้
หนังสือที่ไทยทำให้โปตุเกตไปครั้งนั้น ไม่ปราฎข้อความว่ามีอย่างไรบ้าง มีเรื่องราวปรากฎต่อมาแต่ว่า เมื่อเดือน ๔ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีมโรงโทศกนั้น เจ้าเมืองหมาเก๊ามีหนังสือให้แงนเดรันโยยิกาบิดามัศลินโน[4] เข้ามาขอต่อกำปั่น ด้วยหาซื้อไม้ในกรุงเทพฯ นี้ได้สดวก ก็โปรดให้ตั้งโรงต่อที่น่าบ้านกงสุลเยเนราลโปตุเกต เรือลำนั้นปากกว้าง ๔ วา ๓ ศอก ครั้นเรือกำปั่นแล้วโปตุเกตไม่มีทุนจะซื้อสินค้าจึงถวายระวางให้บรรทุกสินค้าของหลวงออกไปจำหน่าย แลขอพระราชทานยืมเงินหลวง ๑๒๐ ชั่งใช้ในการต่อเรือ ก็โปรดพระราชทานให้ตามความปราถนา แลยกค่าธรรมเนียมต่อเรือพระราชทานให้ด้วย
[1] ที่เรียกว่าเมืองโคหรือเมืองคัว อยู่ชายแหลมอินเดียข้างตวันตก เปนเมืองที่ตั้งอุปราชบังคับบัญชาหัวเมืองขึ้นของโปตุเกตทางประเทศตวันออกนี้ทั่วไป เจ้าเมืองโค คือตัวอุปราชของพระเจ้าแผ่นดินโปตุเกต
[2] คือ ที่สถานทูตโปตุเกตทุกวันนี้
[3] ได้เห็นหนังสือยอนครอเฟิดทูตอังกฤษที่เข้ามาในรัชกาลที่ ๒ แต่งไว้ กล่าวว่ากงสุลเยเนราลโปตุเกตที่อยู่ในกรุงเทพฯ เวลาเมื่อเขาเข้ามานั้น ดูอาการเปนข้าราชการไทยมากกว่าเปนกงสุลโปตุเกต
[4] ชื่อโปตุเกตที่เข้ามาต่อเรือนี้ ดูทำนองจะเปน ๒ คน ไม่มีอะไรจะสอบ