๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย

เรียงตามลำดับพระชัณษา

พระเจ้าลูกเธอประสูตรแต่เมื่อเสด็จดำรงพระยศ เปนเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ๔๗ พระองค์

๑ พระองค์เจ้าหญิงจักรจั่น ประสูตรปีมเสงสัปตศก จุลศักราช ๑๑๔๗ พ.ศ. ๒๓๒๘
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาสี ซึ่งคนทั้งหลายเรียกกันโดยมากว่า เจ้าคุณพี
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑

๒ พระองค์เจ้าชาย ประสูติเมื่อปีมแมนพศก จุลศักราช ๑๑๔๙ พ.ศ. ๒๓๓๐
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาสวน
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑

๓ พระองค์เจ้าชายทับ (คือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ประสูตรณวันจันทร์ เดือน ๔ แรม ๑๐ ค่ำ ปีมแมนพศก จุลศักราช ๑๑๔๙ พ.ศ. ๒๓๓๐
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเรียม (สมเด็จพระศรีสุลาไลย) ในรัชกาลที่ ๒ รับพระสุพรรณบัตรเปนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อณวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๓ ค่ำ ปีรกาเบญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖
ได้ทรงกำกับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจ ว่าความฎีกา แลรับราชการต่าง ๆ ต่างพระเนตรพระกรรณ
เสด็จผ่านพิภพ เมื่อณวันพุฒ เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ ปีวอกฉศก จุลศักราช ๑๑๘๖ พ.ศ. ๒๓๖๗
สวรรคต ณวันพุฒ เดือน๕ ขึ้นค่ำ ๑ ปีกุญ จุลศักราชยังเปน ๑๒๑๒ พ.ศ. ๒๓๙๓ พระชัณษา ๖๔ พรรษา
พระราชประวัติปรากฎในหนังสือพระราชพงษาวดารรัชกาลที่ ๒ แลที่ ๓ โดยพิศดาร

๔ พระองค์เจ้าหญิงลำภู ประสูตรณวันพุฒ เดือน ๔ ปีรกาเอกศก จุลศักราช ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒
ในรัชกาลที่ ๓ รับพระสุพรรณบัตรเปนกรมขุนกัลยาสุนทร เมื่อณวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมโรงจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๙๔ พ.ศ. ๒๓๗๕ ได้ว่าราชการฝ่ายในหลายอย่าง แลได้รักษากุญแจพระราชวังชั้นใน
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อณวัน ๘ ปีมเมีย จุลศักราช ๑๒๐๘ พ.ศ. ๒๓๘๙
พระชัณษา ๕๘ ปี

๕ พระองค์เจ้าหญิงป้อม ประสูตรณวันพฤหัศบดี เดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีจอยังเปนเอกศก จุลศักราช ๑๑๕๑ พ.ศ. ๒๓๓๒
ที่ ๒ ในสมเด็จพระศรีสุลาไลย
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖
พระชัณษา ๕ ปี

๖ พระองค์เจ้าหญิงทับทิม ประสูตรณวันพฤหัศบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๓ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๕๒ พ.ศ. ๒๓๓๓
ในเจ้าจอมมารดาแจ่มใหญ่
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๗ พระองค์เจ้าหญิงยี่สุ่น ประสูตรณวันจันทร์ เดือน ๓ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีจอ จุลศักราช ๑๑๕๒ พ.ศ. ๒๓๓๓
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเหมใหญ่
ได้ว่าพนักงานพระภูษา เห็นจะในรัชกาลที่ ๓
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีมเสงเอกศก จุลศักราช ๑๒๓๑ พ.ศ. ๒๔๑๒
พระชัณษา ๘๐ ปี

๘ พระองค์เจ้าชายกล้วยไม้ ประสูตรณวันเสาร์ เดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ ปีกุญ จุลศักราช ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔
ในรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นสุนทรธิบดี
ในรัชกาลที่ ๓ เพลิงไหม้วัง สิ้นพระชนม์ในเพลิง เมื่อณวัน ๑๑ ๕ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๙๓ พ.ศ. ๒๓๗๔ พระชัณษา ๔๐ ปี
เปนต้นสกุลกล้วยไม้ ณกรุงเทพ

๙ พระองค์เจ้าหญิงบุบผา ประสูตรณวันจันทร์ เดือน ๗ ปีกุญ จุลศักราช ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาสี (เจ้าคุณพี)
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๑๐ พระองค์เจ้าหญิงวงษ์ ประสูตรวันอังคาร เดือน ๘ ปีกุญ จุลศักราช ๑๑๕๓ พ.ศ. ๒๓๓๔
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาศิลา
ในรัชกาลที่ ๓ ได้ว่าพนักงานพระสุคนธ์
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๑๑ พระองค์เจ้าหญิงปุก ประสูตรเมื่อวันพุฒ เดือน ๑๒ แรม ๒ ค่ำ ปีชวด จุลศักราช ๑๑๕๔ พ.ศ.๒๓๓๕
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาสั้น
สิ้นพระชนมในรัชกาลที่ ๕
เมื่อปีรกา จุลศักราช ๑๒๓๕ พ.ศ. ๒๔๑๔
พระชัณษา ๘๑ปี

๑๒ พระองค์เจ้าชายดำ ประสูตร เดือน ๔ ปีชวด จุลศักราช ๑๑๕๔ พ.ศ. ๒๓๓๕
ที่ ๓ ในกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖
พระชัณษา ๑ ปี

๑๓ พระองค์เจ้าชายกุสุมา ประสูตรณวันศุกร เดือน ๕ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีฉลูยังเปนจัตวาศกจุลศักราช ๑๑๕๔ พ.ศ. ๒๓๓๕
ในเจ้าจอมมารดากรุด
ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นเสพสุนทร
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่๓

๑๔ พระองค์เจ้าหญิง
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดานิ่ม
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑

๑๕ พระองค์เจ้าชายมั่ง ประสูตรณวันเสาร์ เดือน ๗ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดานิ่ม
ในรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นเดชอดิศร
ในรัชกาลที่ ๓ เลื่อนกรม เปนกรมขุนเดชอดิศร เมื่อเดือน ๖ แรม ๑๐ ค่ำ ปีมโรง จุลศักราช ๑๑๙๕ พ.ศ. ๒๓๗๕
ในรัชกาลที่ ๔ เลื่อกรม เปนกรมสมเด็จพระเดชาดิศร เทพยนิกรปิยานุรักษ์ บวรศักดิพิเศษ บรมเชฐวราธิวงษ์ พงษานุพงษ์ปดิษฐา สุนทรปรีชานุภาพ ศุภกาพยปฏิภาณ สุดไพศาลอรรถธรรมสาตร ธรรมิกนารถบพิตร เจ้ากรมเปนพระยา เมื่อณวันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ ปีกุญ จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
ได้กำกับกรมพระอาลักษณ ตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๒ จนตลอดพระชนมายุ
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อณวันจันทร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีมแม จุลศักราช ๑๒๒๑ พ.ศ. ๒๔๐๒
พระชัณษา ๖๗ ปี
เปนต้นสกุลเดชาติวงษ์ ณกรุงเทพ

๑๖ พระองค์เจ้าหญิงส้มจีน ประสูตรณวันศุกร เดือน ๘ อุตราสาธ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๕๕ พ.ศ. ๒๓๓๖
ในเจ้าจอมมารดาเกด
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔

๑๗ พระองค์เจ้าชายพนมวัน ประสูตรณวันพุฒ เดือน ๑๑ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีขาล จุลศักราช ๑๑๕๖ พ.ศ. ๒๓๓๗
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาศิลา
ในรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นพิพิธภูเบนทร์
ในรัชกาลที่ ๓ เลื่อนกรม เปนกรมขุนพิพิธภูเนนทร์ เมือเดือน ๖ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมโรง จุลศักราช ๑๑๙๔ พ.ศ. ๒๓๗๕
ในรัชกาลที่ ๔ เลื่อนกรม เปนกรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ นเรนทรสุริยวงษ์ อิศวรพงษ์พรพิพัฒน์ ศักดิรัตนธำรง คุณาลงกฎเกียรติวิบุลย์ อดุลยเดชบพิตร เจ้ากรมเป็นพระยา[๑]  เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ.๒๓๙๔
ได้ทรงกำกับกรมพระนครบาลมาแต่ในรัชกาลที่ ๒
ในรัชกาลที่ ๓ ได้ว่ากรมพระคชบาล
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อณวันจันทร์ เดือน ๕ แรม ๘ ค่ำ ปีมโรง จุลศักราช ๑๒๑๘ พ.ศ. ๒๓๙๙ พระชัณษา ๖๒ ปี
เปนต้นสกุลพนมวัน ณกรุงเทพ

๑๘ พระองค์เจ้าหญิงหรุ่น ประสูตรณวันอังคาร เดือน ๙ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๕๗ พ.ศ. ๒๓๓๘
ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาสวน
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๑๙ พระองค์เจ้าหญิงไย ประสูตรณวันอาทิตย์ เดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๕๗ พ.ศ. ๒๓๓๘
ในเจ้าจอมมารดาอิน
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๒๕ พ.ศ. ๒๔๐๖
พระชัณษา ๖๘ ปี

๒๐ พระองค์เจ้าชาย ประสูตร เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๑๕๗ พ.ศ. ๒๓๓๘
ที่ ๑ ในเจ้าจอม มารดาเหมเล็ก
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๒๑ พระองค์เจ้าหญิงพลับ ประสูตรณวันอาทิตย เดือน ๕ปีมเสง จุลศักราช ๑๑๕๙ พ.ศ. ๒๓๔๐
ที่ ๕ ในเจ้าจอมมารดาสวน
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๒๒ พระองค์เจ้าชายกุญชร ประสูตรณวันพุฒ เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมเมีย จุลศักราช ๑๑๖๐ พ.ศ. ๒๓๔๑
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาศิลา
ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นพิทักษ์เทเวศร์
ถึงรัชกาลที่ ๔ เลื่อนกรม เปนกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ นเรศรราชรวิวงษ์ อิศวรพงศพิพัฒนศักดิ อุดมอรรควรยศ วงษประนตนารถนเรนทร์ พาหเนนทรบพิตร เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
ในรัชกาลที่ ๓ ได้ว่ากรมม้า
ถึงรัชกาลที่ ๔ ได้ว่ากรมพระคชบาลอิกกรม ๑
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๕ แรม ๑๓ ค่ำ ปีกุญ จุลศักราช ๑๒๒๕ พ.ศ. ๒๔๐๖
พระชัณษา ๖๕ ปี
เปนต้นสกุลกุญชร ณกรุงเทพ

๒๓ พระองค์เจ้าหญิงสังวาล ประสูตร เดือน ๘ ปีมเมีย จุลศักราช ๑๑๖๐ พ.ศ. ๒๓๔๑
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๒๔ พระองค์เจ้าชายเนตร ประสูตร เดือน ๙ ปีมเมีย จุลศักราช ๑๑๖๐ พ.ศ. ๒๓๔๑
ในเจ้าจอมมารดาปราง (ท้าววรจันทร์)
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๒๕ พรองค์เจ้าชายโคมเพ็ชร ประสูตรเมื่อเดือน ๖ ปีมะแมเอกศก จุลศักราช ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาเหมเล็ก
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑

๒๖ พระองค์เจ้าชายเรณู ประสูตร เดือน ๘ ปีมแม จุลศักราช ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒
ในเจ้าจอมมารดาบุนนาค
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๒๗ พระองค์เจ้าชายอำไพ ประสูตร เดือน ๙ ปีมแม จุลศักราช ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒
ในเจ้าจอมมารดาทองอยู่
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๒๘ พระองค์เจ้าชายอัมพร ประสูตร เดือน ๙ ปีมแม จุลศักราช ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒
ในเจ้าจอมมารดาม่วงซอ
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๒๙ พระองค์เจ้าหญิงสุกรม ประสูตรณวันศุกร เดือน ๑๐ แรม ๑๓ ค่ำ ปีมแม จุลศักราช ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาสั้น
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๓๐ พระองค์เจ้าชายเนียม ประสูตรณวันเสาร เดือน ๕ แรม ๓ ค่ำ ปีวอกยังเปนเอกศก จุลศักราช ๑๑๖๑ พ.ศ. ๒๓๔๒
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาเหมใหญ่
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๓๑ พระองค์เจ้าชาย ประสูตร เดือน ๖ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓
เจ้าจอมมารดาอ้น
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑

๓๒ พระองค์เจ้าหญิงน้อย ประสูตร เดือน ๑๒ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓
ที่ ๖ ในเจ้าจอมมารดาสวน
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๓๓ พระองค์เจ้าหญิงประภา ประสูตร เดือนอ้ายปีวอก จุลศักราช ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓
ในเจ้าจอมมารดาบุญมา (ซึ่งต่อมาเปนท้าวทรงกันดาล)
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๓๔ พระองค์เจ้าชายขัตติยวงษ์ ประสูตร ปีวอก จุลศักราช ๑๑๖๒ พ.ศ. ๒๓๔๓
ในเจ้าจอมมารดาน้อย
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๓๕ พระองค์เจ้าชายทินกร ปร:สูตรณวันอาทิตย์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีรกา จุลศักราช ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๔
ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาศิลา
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ
ได้ว่ากรมพระนครบาลอยู่ขณะหนึ่ง
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อเดือนอ้ายขึ้นค่ำ ๑ ปีมเสง จุลศักราช ๑๒๑๙ พ.ศ. ๒๔๐๐
พระชัณษา ๕๖ ปี
เปนต้นสกุลทินกร ณกรุงเทพ

๓๖ พระองค์เจ้าหญิงรศคนธ์[๒] ประสูตรณวันอาทิตย์ เดือนอ้าย ปีรกา จุลศักราช ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๔
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาทรัพย์
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๓๗ เจ้าฟ้าชาย (ราชกุมาร) ประสูตรณวันอาทิตย์ เดือนยี่ปีรกา จุลศักราช ๑๑๖๓ พ.ศ. ๒๓๔๔
เปนเจ้าฟ้าที่ ๑ ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี
สิ้นพระชนม์ในวันประสูตร ในรัชกาลที่ ๑

๓๘ พระองค์เจ้าชายไพฑูริย์ ประสูตร ปีจอ จุลศักราช ๑๑๖๔ พ.ศ. ๒๓๔๕
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาทิม
ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นสนิทนเรนทร เมื่อณวันศุกร เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ ปีวอก จุลศักราช ๑๑๙๘ พ.ศ. ๒๓๗๙
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔

๓๙ พระองค์เจ้าชาย ประสูตร ปีจอ จุลศักราช ๑๑๖๔ พ.ศ. ๒๓๔๕
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาเหมเล็ก
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๑๖๕ พ.ศ. ๒๓๔๖

๔๐ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตร ปีจอ จุลศักราช ๑๑๖๔ พ.ศ. ๒๓๔๕
ที่๑ ในเจ้าจอมมารดาน้อยระนาด
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑

๔๑ พระองค์เจ้าชายโต ประสูตรณวันองคาร เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีกุญ จุลศักราช ๑๑๖๕ พ.ศ. ๒๓๔๖
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาเลี้ยง
ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นอินทรอมเรศ
ในรัชกาลที่ ๔ ได้เลื่อนกรม เปนกรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
ได้ว่ากรมแสงปืนต้นมาแต่ในรัชกาลที่ ๓
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เดือน ๙ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีรกา จุลศักราช ๑๒๒๓ พ.ศ. ๒๔๐๔
พระชัณษา ๕๙ ปี

๔๒ พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล ประสูตรณวันพุฒ เดือน ๑๑ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีชวด จุลศักราช ๑๑๖๖ พ.ศ. ๒๓๔๗
ที่ ๕ ในเจ้าจอมมารดาศิลา
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีวอกจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ พ.ศ. ๒๔๑๕
พระชัณษา ๖๙ ปี

๔๓ เจ้าฟ้าชายมงกุฎ สมมุติเทวาวงษ์ พงศาอิศวรกระษัตรขัติยราชกุมาร (คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ประสูตรณวันพฤหัศบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีชวด จุลศักราช ๑๑๖๖
ที่ ๒ ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี
ในรัชกาล ที่ ๒ เปนอธิบดีกรมมหาดเล็ก ทรงผนวชอยู่ ๒๗ พรรษา เปนเจ้านายพระองค์แรกที่ ปรากฎในพงษาวดารว่าได้เปนเปรียญ ในรัชกาลที่๓ เปนพระราชาคณะสมณศักดิเท่าเจ้าคณะรอง แลเปนใหญ่ในการไล่หนังสือ
เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเปนรัชกาลที่ ๔ เมื่อณวันพุฒ เดือน ๕ ขึ้นค่ำ ๑ ปีกุญ ยังเปนโทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ พ.ศ. ๒๓๙๔
พระราชประวัติแจ้งอยู่ในหนังสือพระราชพงษาวดาร สวรรคตเมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ พ.ศ. ๒๔๑๑พระชัณษา ๖๕ ปี

๔๔ พระองค์เจ้าชายกลาง ประสูตรณวันเสาร์ เดือน ๓ แรม ๑๒ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๑๖๗ พ.ศ. ๒๓๔๘
ที่๒ ในเจ้าจอมมารดาน้อยระนาด
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ เมื่อปีกุญ จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔ ในรัชกาลที่ ๕ เลื่อนกรม เปนกรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ สุรบดินทรเทวราชวิลาศธำรง บรมวงษ์สรรพเชษฐวิเศษศักดิ อเนกธัญญลักษณบุญวรฤทธิ มหิศวรพงษ์พิพัฒ สุพรรณรัตนจิตราลังการโกศล สุวิมลปรีชาคณาลงกรณ์ วรเกียรติคุณวิบุลยศักดา อดุลยเดชานุภาพบพิตร
ได้กำกับกรมช่างทองมาแต่ในรัชกาลที่ ๓
ในรัชกาลที่ ๔ ได้ว่าความศาลราชสกุลตลอดมาจนสิ้นพระชนม์
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๒๓๙ พ.ศ. ๒๔๒๐
พระชัณษา ๗๓ ปี
เปนต้นสกุลวัชรีวงศ์ ณกรุงเทพ

๔๕ พระองค์เจ้าชายชุมแสง ประสูตรณวันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีขาล ยังเปนสัปตศก จุลศักราช ๑๑๖๗ พ.ศ. ๒๓๔๘
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาทิม
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมขุนสรรพศิลป์ปรีชา เมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีกุญ จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
แล้วเลื่อนเปนกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชาในปีนั้น
ได้ทรงกำกับกรมหมอนวด
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อณวันจันทรเดือน ๘ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีรกา จุลศักราช ๑๒๒๓ พ.ศ. ๒๔๐๔
พระชัณษา ๕๖ ปี
เปนต้นสกุลชุมแสง ณกรุงเทพ

๔๖ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตร ปีขาล.จุลศักราช.๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๔๙
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาปรางใหญ่
ประสูตรได้ ๓ วัน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๑

๔๗ พระองค์เจ้าหญิง ประสูตร ปีขาล จุลศักราช ๑๑๖๘ พ.ศ. ๒๓๔๙
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาพะวา
สิ้นพระชนม์ในวันประสูตร
แต่นี้ประสูตรเมื่อเสด็จดำรงพระยศเปนกรมพระราชวังบวรฯ

๔๘ พระองค์เจ้าหญิงสายสมร ประสูตรณวันเสาร์ เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ปีมโรง จุลศักราช ๑๑๗๐ พ.ศ. ๒๓๕๑
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาเลี้ยง
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๒๓๓ พ.ศ. ๒๔๑๔
พระชัณษา ๖๔ ปี

๔๙ พระองค์เจ้าชายนวม ประสูตรณวันเสาร์ เดือน ๘ แรม ๒ ค่ำ ปีมโรง จุลศักราช ๑๑๗๐ พ.ศ. ๒๓๕๑
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาปรางใหญ่
ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นวงษาสนิท เมื่อปีขาล จุลศักราช ๑๒๐๔ พ.ศ. ๒๓๘๕
ในรัชกาลที่ ๔ เลื่อนเปนกรมหลวงวงษาธิราชสนิท เมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีกุญ จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
ในรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงกำกับกรมหมอ
ในรัชกาลที่ ๔ ได้กำกับราชการมหาดไทย ว่าพระคลังสินค้า และเปนที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๒๓๓ พ.ศ. ๒๔๑๔
พระชัณษา ๖๔ ปี
เปนต้นสกุลสนิทวงศ์ ณกรุงเทพ

๕๐ เจ้าฟ้าชายจุธามณี (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) ประสูตรณวันอาทิตย์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมโรง จุลศักราช ๑๑๗๐ พ.ศ. ๒๓๕๑
ที่ ๓ ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี
ในรัชกาลที่ ๓ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เมื่อณวันเดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีมโรง จุลศักราช ๑๑๙๔ พ.ศ. ๒๓๗๕
ในรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงรับพระบวรราชาภิเศก เปนสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว รับพระบวรราชโองการ
ในรัชกาลที่ ๓ ได้ว่ากรมทหารปืนใหญ่
พระราชประวัติปรากฎในหนังสือพระราชพงษาวดาร สวรรคตในรัชกาลที่ ๔ ณวันอาทิตย์ เดือนยี่แรม ๖ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๒๗ พ.ศ. ๒๔๐๘
พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา

๕๑ พระองค์เจ้าชายมรกฎ ประสูตรณวันพุฒ เดือนยี่ ปีมโรง จุลศักราช ๑๑๘๐ พ.ศ. ๒๓๕๑
ในเจ้าจอมมารดาทองดี
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมขุนสถิตย์สถาพร เมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๖ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีกุญ จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
ในรัชกาลที่ ๔ ได้ว่ากรมช่างทหารญวน
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔

แต่นี้ประสูตรเมื่อบรมราชาภิเศกแล้ว

๕๒ พระองค์เจ้าชายขัติยา ประสูตรณวันเสาร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๔ ค่ำ ปีมเสงเอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๕๒
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาพะวา
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นถาวรวรยศ เมื่อณวันพฤหัศบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
ในรัชกาลที่ ๔ ได้ว่ากรมฝีพายช่างราง
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีรกาเบญจศก จุลศักราช ๑๒๓๕ พ.ศ. ๒๔๑๖
พระชัณษา ๖๕ ปี

๕๓ พระองค์เจ้าหญิงดวงจันทร์ ประสูตร ปีมเสงเอกศก จุลศักราช ๑๑๗๑ พ.ศ. ๒๓๕๒
ในเจ้าจอมมารดากลํ่า
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๕๔ พระองค์เจ้าหญิงนิ่มนวล ประสูตร ปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาลูกจันทน์
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๕๕ พระองค์เจ้าหญิงแฝด ประสูตร ปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาหนูจีน
ประสูตรได้ ๖ วัน สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๕๖ พระองค์เจ้าหญิงแฝด ประสูตร ปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาหนจีน
ประสูตรได้ ๗ วัน สิ้นพระชนม์ในรัชกาล ที่ ๒

๕๗ พระองค์เจ้าชายนิลรัตน ประสูตรณวันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ ปีมแมตรีศกจุลศักราช ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔
ในเจ้าจอมมารดาพิม
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา เมื่อณวันพุฒ เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ ปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
ในรัชกาลที่ ๔ ได้ว่ากรมแสงปืนแสงหอกดาบ แลได้กำกับช่างเงินโรงกระสาปน์ทำเงินเหรียญ
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ พ.ศ. ๒๔๑๐
พระชัณษา ๕๗ ปี
เปนต้นสกุลนิลรัตน ณกรุงเทพ

๕๘ พระองค์เจ้าชายอรุณวงษ์ ประสูตรณวันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๖ ค่ำ ปีวอกจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๗๔ พ.ศ. ๒๓๕๕
ในเจ้าจอมมารดาเอม
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นวรศักดาพิศาล เมื่อณวันพุฒ เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ ปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
ในรัชกาลที่ ๕ เลื่อนกรม เปนกรมหลวงวรศักดาพิศาล สุภาธิการรังสฤษดิ เมื่อปีจอฉศก พ.ศ. ๒๔๑๗
ในรัชกาลที่ ๔ ได้ว่ากรมกองแก้วจินดา และกรมช่างหล่อ
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันศุกร เดือน ๘ แรม ๔ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๕๐ พ.ศ. ๒๔๓๑
พระชัณษา ๗๖ ปี
เปนต้นสกุลอรุณวงษ์ ณกรุงเทพ

๕๙ พระองค์เจ้าชายกปิตถา ประสูตรณวันอังคาร เดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ ปีจอยังเปนเบญจศก จุลศักราช ๑๑๗๕ พ.ศ. ๒๓๕๖
ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาอัมพา
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ ณวันพุฒ เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ ปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
ในรัชกาลที่ ๔ ได้ว่ากรมพระอาอักษณ
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย แรม ๘ ค่ำ ปีวอกจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ พ.ศ. ๒๔๑๕
พระชัณษา ๖๐ ปี
เปนต้นสกุลกปิตถา ณกรุงเทพ

๖๐ เจ้าฟ้าชายอาภรณ์ ประสูตรณวันศุกร เดือน ๕ แรม ๗ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙
ที่ ๑ ในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
ในรัชกาลที่ ๓ ได้ช่วยกำกับกรมพระคชบาล
สิ้นพระชนมในรัชกาลที่ ๓ เมื่อปีวอกสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๑๐ พ.ศ. ๒๓๙๑
พระชัณษา ๓๓ ปี
เปนต้นสกุลอาภรณกุล ณกรุงเทพ

๖๑ พระองค์เจ้าชายปราโมช ประสูตรณวันอังคาร เดือน ๔ แรม ๙ ค่ำ ปีชวดอัฐศก จุลศักราช ๑๑๗๘ พ.ศ. ๒๓๕๙
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาอัมพา
ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระสุพรรณบัตร เปนกรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ เมื่อณวันพุฒ เดือน ๑๒ แรม ๔ ค่ำ ปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓  พ.ศ. ๒๓๙๔
ได้เลื่อนกรม เปนกรมขุน เมื่อณวันจันทร์ เดือน ๑๐ แรม ๑๐ ค่ำ ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ พ.ศ. ๒๔๑๐
ในรัชกาลที่ ๔ ได้กำกับกรมพระนครบาล แลได้ว่ากรมหมอกรมช่างเคลือบ ช่างหุงกระจก กับญวนหก ได้ชำระความรับสั่ง ได้ว่ากรมท่า
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันพุฒ เดือน ๙ ขึ้น ๑๐ ค่ำ ปีวอกจัตวาศก จุลศักราช ๑๒๓๔ พ.ศ. ๒๔๑๕
พระชัณษา ๕๗ ปี
เปนต้นสกุล ปรา โมช ณกรุงเทพ

๖๒ พระองค์เจ้าหญิงกรรแสง ประสูตรณวันพฤหัศบดี เดือน ๑๐ ปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐
ในเจ้าจอมมารดานวล
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๖๓ พระองค์เจ้าชายเน่า ประสูตร เดือน ๑๒ ปีฉลูนพศก จุลศักราช ๑๑๗๙ พ.ศ. ๒๓๖๐
ในเจ้าจอมมารดาพุ่ม
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๖๔ พระเจ้าชายเกยูร ประสูตรณวันอังคาร เดือน ๘ แรม ๔ ค่ำ ปีขาลสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๘๐ พ.ศ. ๒๓๖๑
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาอัมพา
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔

๖๕ เจ้าฟ้าชายกลาง ประสูตรณวันเสาร์ เดือน ๖ ขึ้นค่ำ ๑ ปีเถาะเอกศก จุลศักราช ๑๑๘๑ พ.ศ. ๒๓๖๒
ที่ ๒ ในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
ในรัชกาลที่ ๔ ได้พระราชทานพระนามตามจาฤกในพระสุพรรณบัตรว่า เจ้าฟ้ามหามาลา เจ้ากรมเปนหมื่นปราบปรปักษ์ เมื่อปีกุญตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ พ.ศ. ๒๓๙๔
เลื่อนกรม เปนกรมขุนบำราบปรปักษ์ เมื่อณวันศุกร เดือน ๙ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีเถาะนพศก จุลศักราช ๑๒๒๙ พ.ศ. ๒๔๑๐
ในรัชกาลที่ ๕ เลื่อนกรม เปนกรมพระบำราบปรปักษ์ มิศวรศักดิสุนทรรวางษ์ บรมพงษ์บริพัตร วิวัฒนยโสดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมสาตร โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษดิสรรพศุภการสกลรัษฎาธิกิจปรีชาวตโยฬาร ยุติธรรมาทวาธยาไศรย ไตรศรีรัตนธาดา มหันตเดชานุภาพบพิตร เมื่อณวันจันทร์ เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอฉศก จุลศักราช ๑๒๓๖ พ.ศ. ๒๔๑๗
เลื่อนกรมเปนสมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ มหิศวรศักดิสุนทรรวิวงษ์ บรมพงษบริพัตร วิวัฒนยโสดม สรรพศิลปาคมอุดมกิจ พิฆเนศวรประสิทธิคชกรรมสาตร โหรกลานุวาทกาพยปฏิภาณ สฤษดิศุภการสกลรัษฎาธิกกิจ ปรีชาวตโยฬาร สมบูรณคุณสารสุจริตจริยาภิรมย์ ราชพงษานุกรมมุขประดิษฐา สกลนราภิมานิต นริศราธิบดินทร์ ปรมินทรมหาราชวโรประการ ปรีชาญาณยุติธรรมาชวาธยาไศรย ศรีรัตนไตรยสรณคุณารักษ์ บรมอรรคมหาบุรุษยรัตน สุขุมาลกระษัตริย์วิสุทธิชาติ ธรรมิกนารถบพิตร เมื่อณวันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๖ ค่ำ ปีรกาสัปตศก จุลศักราช ๑๒๔๗ พ.ศ. ๒๔๒๘
ในรัชกาลที่ ๓ รับราชการในกรมวัง
ถึงรัชกาลที่ ๔ ได้ว่ากรมวัง กรมพระคชบาล แลกรมสังฆการีธรรมการ
ในรัชกาลที่ ๕ ที่ประชุมพระราชวงษานุวงษ์ แลข้าราชการพร้อมกันสมมตให้เปนผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนัก แลว่าพระคลังทั้งปวง ต่อมาได้ว่ากระทรวงมหาดไทยอิกกระทรวงหนึ่ง
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อณวันพุฒ เดือน ๑๐ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีจออัฐศก จุลศักราช ๑๒๔๘ พ.ศ. ๒๔๒๙
พระชัณษา ๖๗ ปี
เปนต้นสกุล มาลากุล ณกรุงเทพ

๖๖ พระองค์เจ้าหญิงโศกา ประสูตรณวันอังคาร เดือน ๙ ปีมโรงโทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พ.ศ. ๒๓๖๓
ที่ ๒ ในเจ้าจอมมารดาลูกจันทน์
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๖๗ เจ้าฟ้าหญิง ประสูตรณวันพุฒ เดือน ๔ แรม ๓ ค่ำ ปีมโรงโทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พ.ศ. ๒๓๖๓
ที่ ๓ ในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๖๘ พระองค์เจ้าหญิงกัณฐา ประสูตรณวันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีมเสงตรีศก จุลศักราช ๑๑๘๓ พ.ศ. ๒๓๖๔
ที่ ๔ ในเจ้าจอมมารดาอัมพา
สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๔

๖๙ พระองค์เจ้าหญิงมารยาตร ประสูตรณวันอาทิตย์ เดือน ๓ ปีมเมียจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ พ.ศ. ๒๓๖๕
ในเจ้าจอมมารดาแย้ม
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔

๗๐ เจ้าฟ้าชายปิ๋ว ประสูตรณวันศุกร เดือน ๖ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมเมียจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ พ.ศ. ๒๓๖๕
ที่ ๔ ในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๓

๗๑ พระองค์เจ้าหญิงกัลยาณี ประสูตรณวันเสาร์ เดือน ๔ ขึ้น ๖ ค่ำ ปีมเมียจัตวาศก จุลศักราช ๑๑๘๔ พ.ศ. ๒๓๖๕
ที่ ๕ ในเจ้าจอมมารดาอัมพา
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๒

๗๒ พระองค์เจ้าหญิงแม้นเขียน ประสูตรณวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมแมเบญจศก จุลศักราช ๑๑๘๕ พ.ศ. ๒๓๖๖
ที่ ๓ ในเจ้าจอมมารดาลูกจันทน์
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อณวันที่ ๒๘ กันยายน (ตรงกับณวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ แรม ๑๔ ค่ำปีฉลูเบญจศก จุลศักราช ๑๒๗๕) พ.ศ. ๒๔๕๖ พระชัณษา ๙๐ ปี

๗๓ พระองค์เจ้าหญิงขนิษฐน้อยนารี ประสูตรณวันเสาร์ เดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีวอกฉศก จุลศักราช ๑๑๘๖ พ.ศ. ๒๓๖๗
ที่ ๖ ในเจ้าจอมมารดาอัมพา
สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๔



[๑] ที่ว่าเจ้ากรมเปนพระยา ตามจดหมายในห้องอาลักษณ แต่กรมพระสมมตอมรพันธุ์ ทรงสงไสยว่า อาลักษณอาจจะจดผิดได้

[๒] อิกบาญชี ว่าประสูตรเดือน ๓ ต่อ ๓๘

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ