- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
๏ สารตรา ท่านเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาธิบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ สมุหพระกลาโหม ให้มาแก่หลวงพรหมเสนา ผู้ว่าที่ปลัดแลกรมการ ด้วยพระยานครบอกส่งหางว่าวรายเงินกำปั่น ซึ่งขุนอักษรนายกำปั่น นายศรีไหมลาต้า คุมเอา ช้าง ดีบุก ออกไปจำหน่ายณเมืองเทศ กลับเข้ามาถึงเมืองนคร ณปีขาลสัมฤทธิศก (จุลศักราช ๑๑๘๐ พ.ศ. ๒๓๖๑) ได้พรรณผ้าเข้ามาส่ง ได้ให้หลวงน่าวังคุมเอาพรรณผ้าเข้ามาส่งณกรุงเทพพระมหานคร เดือน ๑๑ ปีเถาะเอกศก เปนเงินทุนเดิมในกำปั่นเมื่อออกไป ช้างสิบสี่ช้าง เปนเงินทุน ๑๑๐ ชั่ง ๑๕ ตำลึง ๒ บาท ดีบุกเมืองถลาง ๘๐ ภาราหาบห้าสิบชั่ง ดีบุกเมืองนคร ๒๔ ภาราสองหาบหกสิบสี่ชั่ง เข้ากัน ๑๐๕ ภาราหาบสิบสี่ชั่ง เงินทุน ๑๐๕ ชั่ง ๗ ตำลึง ๙ สลึงเฟื้อง ๒๘๔ เบี้ย เข้ากัน ๒๑๖ ชั่ง ๓ ตำลึงสลึงเฟื้อง ๒๘๔ เบี้ย เสียค่าจ้างคนงานกลาสีใช้จ่ายเบ็ดเสร็จเมื่อออกไป ๒๔ ชั่ง ๙ ตำลึง ๙ สลึงเฟื้อง ๔๘๐ เบี้ย เข้ากันเปนเงินทุน ๒๔๐ ชั่ง ๑๒ ตำลึง ๑๑ สลึง ๗๖๔ เบี้ย แลขุนอักษรนายกำปั่น นายศรีไหมลาต้า ออกไปจำหน่ายณเมืองเทศได้เปนเงินช้างเดิม ๑๔ ช้าง ล้มเสีย ๒ ช้าง คง ๑๒ ช้าง จำหน่ายได้เปนเงิน ๙๐ ชั่ง ๖ บาท ๓ สลึง ๑๗๗ เบี้ย ดีบุกเดิม ๑๐๕ ภาราหาบ ๑๔ ชั่งออกเศษภารา ๒ หาบ ๑๔ ชั่ง ๘ ตำลึง จำหน่ายได้ภาราละชั่ง ๕ ตำลึง ๕ สลึง เงิน ๑๓๕ ชั่ง ๑๒ ตำลึง ๓ บาท ๑๑๘ เบี้ย เข้ากันจำหน่ายสินค้าได้เปนเงิน ๒๒๕ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ๗ สลึง ๒๙๕ เบี้ย หักเสียค่าธรรมเนียมจำหน่ายช้าง จำหน่ายดีบุกเปนเงิน ๒๕ ชั่ง ๕ ตำลึง ๙ สลึง ๕๒๘ เบี้ย เสียค่าจ้างกลาสีคนงาน ๑๕ ชั่ง ๘ ตำลึงสลึง ๖๕๒ เบี้ย เข้ากันเปนเงิน ๔๑ ชั่ง ๓ ตำลึง ๑๐ สลึงเฟื้อง ๓๘๐ เบี้ย ยังคงเงินอยู่ ๑๘๔ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ๓ บาท ๗๑๕ เบี้ยนั้น ขุนอักษร นายศรีไหมเอาจัดซื้อผ้าขาวเศรษฐี พอจวนมรสุมเศรษฐีว่า จะทำผ้าซึ่งต้องการให้ครบจำนวนเงินนั้นมิทัน เศรษฐีสัญญาว่า ให้กำปั่นกลับออกไปรับเอาพรรณผ้าณมรสุมปีเถาะเอกศกนี้ให้ครบ เศรษฐีจัดได้แต่ผ้าขาวสี่ชนิดให้เข้ามาก่อน เปนพรรณผ้าขาวสุกตำ ๖ กุลี ราคากุลีละชั่ง ๕ ตำลึง เปนเงิน ๗ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ผ้าขาวฉนำ ๑๕ กุลี ราคากุลีละชั่ง ๕ ตำลึง ๓ บาทสลึง ๕๓๓ เบี้ย เปนเงิน ๑๙ ชั่ง ๗ ตำลึง ๘ สลึง ผ้าขาวโมริยชนิดหนึ่ง ๑๐ กุลี ราคากุลีละชั่ง ๕ ตำลึง เปนเงิน ๑๗ ชั่ง ๑๐ ตำลึง ผ้าขาวโมริยชนิดหนึ่ง ๘ กุลี ราคากุลีละชั่ง ๕ ตำลึง เปนเงิน ๑๐ ชั่ง ผ้า ๓๙ กุลีเปนเงิน ๕๔ ชั่ง ๗ ตำลึง ๘ สลึง เสียค่าชักค่าบดค่าภาษีในซื้อผ้า ๕ ชั่ง ๑๔ ตำลึง ๕ สลึง คิดเปนเงิน ๖๐ ชั่ง ๗ บาทสลึง ให้หลวงน่าวังคุมเข้าไปส่งด้วยพระยานครนั้น ได้ให้เจ้าพนักงานรับไว้ครบตามบอกแล้ว แต่เงินซึ่งยังค้างอยู่แก่เศรษฐีเจ้าทรัพย์เมืองเทศเปนเงิน ๑๒๔ ชั่ง ๘ ตำลึง ๓ บาทสลึง ๗๑๕ เบี้ย เศรษฐีได้สัญญาไว้ว่าให้กำปั่นกลับออกไปรับเอาพรรณผ้าณมรสุมปีเถาะเอกศกให้ครบนั้น พระยานครกรมการได้จัดแจงกำปั่นบรรทุกช้างบรรทุกดีบุกกลับออกไปจำหน่ายณเมืองเทศ แต่ณเดือนสามปีขาลสัมฤทธิศกแล้ว ๆ ได้สั่งให้รับเอาผ้าซึ่งค้างอยู่แก่เศรษฐีให้ครบตามสัญญา ถ้าขุนอักษร นายศรีไหมกลับมาถึงเมืองนครเมื่อใด ได้พรรณผ้ามามากน้อยเท่าใด ก็ให้พระยานครกรมการบอกส่งรัดรายพรรณผ้าแลหางว่าวเข้าไปให้แจ้ง
หนังสือมาณวันอังคาร เดือน ๓ แรม ๒ ค่ำปีเถาะเอกศก ๚
ผู้อ่านจะเห็นได้ว่าในท้องตรานี้ ที่เรียกว่าการค้าขายของหลวงนั้น ไม่ใช่เอาอำนาจราชการไปกะเกณฑ์เอาทรัพย์สมบัติของผู้หนึ่งผู้ใดมา ต้องลงทุนซื้อหาแลเสียค่าใช้จ่ายอย่างพ่อค้า ถ้าจะผิดกับที่พ่อค้าเขาทำ ก็เพียงของหลวงไมได้ผลประโยชน์เท่าพ่อค้า เพราะทำการกันหลายต่อ การรั่วไหลมีมาก ความจริงอันนี้มีหลักฐานประกอบ ปรากฎอยู่ในหนังสือที่ครอเฟิดแต่งเรื่องที่เข้ามาเปนทูตอยู่ในเมืองไทย ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังเปนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้มีรับสั่งบอกว่า เรือหลวงออกไปค้าขายที่อินเดียขาดทนถึง ๒๕๐ ชั่ง ครอเฟิดลงความเห็นของตนเองไว้ว่า การที่ขาดทุนนั้นไม่น่าอัศจรรย์ ด้วยไทยไม่มีเอเยนต์ที่ดี มีแต่พวกแขกนายห้างที่หาประโยชน์ไม่สุจริต ไทยจึงถูกฉ้อฉลจนขาดทุน
การค้าขายกับต่างประเทศ เวลาเมื่อรัฐบาลอังกฤษที่อินเดียแต่งครอเฟิดเปนทูตเข้ามา ได้ความจากหนังสือที่ครอเฟิดแต่งดังพรรณนามานี้