- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
เมื่อเดือน ๔ แรม ๑๑ ค่ำ ในปีเถาะเอกศกนั้น มีศุภอักษรเจ้านครจำปาศักดิ (หมาน้อย) บอกส่งมาถึงกรุงเทพฯ ว่า อ้ายสาเกียดโง้งคน ๑ ไปตั้งตัวเปนผู้วิเศษขึ้นในพวกข่าเมืองสาลวัน เมืองคำทอง แลเมืองอัตปือข้างฝั่งตวันตกแม่น้ำโขง มีพวกข่าเข้าเกลี้ยกล่อมเปนสมัคพรรคพวกอ้ายสาเกียดโง้งประมาณ ๘๐๐๐ อ้ายสาเกียดโง้งยกมาตั้งอยู่ณทุ่งนาหวาทางห่างเมืองนครจำปาศักดิ ๓ คืน เมื่อณวันอาทิตย์เดือน ๓ ขึ้น ๘ ค่ำ เจ้านครจำปาศักดิให้ท้าวเพี้ยคุมไพร่ยกข้ามไปตั้งอยู่ณบ้านพะโพ ได้รบกับพวกอ้ายสาเกียดโง้งครั้ง ๑ พวกเมืองนครจำปาศักดิสู้ไม่ได้ ต้องถอยข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งข้างฝั่งตวันออก ครั้นณเดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ อ้ายสาเกียดโง้งยกเข้ามาตั้งถึงฝั่งแม่น้ำโขง เจ้านครจำปาศักดิแต่งให้เจ้าสุวรรณสาร เพี้ยเมืองกลาง เพี้ยหมื่นน่า เพี้ยไชยภาค คุมไพรพันเศษไปตั้งรายรับข้าศึกที่ฝั่งแม่น้ำโขง แลลาดตระเวนทั้งทางบกทางเรือ อ้ายสาเกียดโง้งยกข้ามแม่น้ำมาตีเมืองนครจำปาศักดิ พวกท้าวเพี้ยที่รักษาเมืองสู้ไม่ได้ เสียเมืองนครจำปาศักดิแก่อ้ายสาเกียดโง้ง เมื่อเดือน ๓ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เจ้านครจำปาศักดิกับพวกท้าวเพี้ย ราษฎรพากันอพยพหลบหนีมาตั้งอยู่ที่บ้านเจียมแขวงเมืองอุบล ได้ทรงทราบจึงโปรดให้มีสารตราให้เจ้าพระยานครราชสิมายกทองทัพไปจากเมืองนครราชสิมาทาง ๑ ให้เจ้าอนุเจ้านครเวียงจันท์ยกกองทัพเมืองเวียงจันท์ลงมาอิกทาง ๑ ช่วยกันปราบปรามผู้ร้ายพวกอ้ายสาเกียดโง้ง กองทัพเจ้าราชบุตร (โย้) เมืองเวียงจันท์จับได้ตัวอ้ายสาเกียดโง้ง แลครั้งนั้นจับครอบครัวพวกข่าที่เปนพรรคพวกได้เปนอันมาก บอกส่งเข้ามายังกรุงเทพฯ มีรับสั่งให้จำตัวอ้ายสาเกียดโง้งไว้ณคุก ส่วนพวกข่าที่เปนพรรคพวกนั้นให้เปนตะพุ่นหญ้าช้าง ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บางบอน ส่วนที่เมืองนครจำปาศักดินั้น ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าพวกเจ้าเมืองนครจำปาศักดิอ่อนแอ ถึงจะให้กลับไปครองเมืองอิก ก็จะรักษาบ้านเมืองไว้ไม่ได้ เจ้าอนุเวียงจันท์ทูลขอให้เจ้าราชบุตร (โย้) ซึ่งเปนบุตรของเจ้าอนุเปนเจ้านครจำปาศักดิ เจ้าอนุรับจะเปนกำลังป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ได้ดังเปนมา จึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งเจ้าราชบุตร (โย้) ให้เปนเจ้านครจำปาศักดิ
เรื่องตั้งเจ้าราชบุตร (โย้) บุตรเจ้าอนุเวียงจันท์ให้ไปเปนเจ้านครจำปาศักดินี้ มีคำเล่าสืบกันมาว่า (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังเปน) กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงรับธุระจัดการเพ็ดทูลให้สมประสงค์เจ้าอนุเวียงจันท์ แต่เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี ไม่ทรงเห็นชอบด้วย วันเมื่อมีรับสั่งให้ตั้งเจ้าราชบุตร (โย้) เปนเจ้านครจำปาศักดิ พอเสด็จขึ้นแล้ว เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีมีรับสั่งในท้องพระโรงว่าอยากจะรู้นัก ใครเปนผู้จัดแจงเพ็ดทูลให้เจ้าราชบุตรเวียงจันท์ไปเปนเจ้าเมืองจำปาศักดิ แต่เพียงพ่อมีอำนาจอยู่ข้างฝ่ายเหนือก็พออยู่แล้ว ยังจะเพิ่มเติมให้ลูกไปมีอำนาจโอบลงมาข้างฝ่ายตวันออกอิกด้าน ๑ ต่อไปจะได้ความร้อนใจด้วยเรื่องนี้ นัยว่า เมื่อเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีรับสั่งดังนี้ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ก็ทรงได้ยินแต่นิ่งอยู่ มิได้รับสั่งโต้เถียงอย่างไร ครั้นเมื่อเจ้าอนุเวียงจันท์แลเจ้านครจำปาศักดิ (โย้) เปนขบถในต้นรัชกาลที่ ๓ เปนข้อที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโทมนัศข้อ ๑ ที่ว่าการมาเปนจริงดังเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีได้ทำนายไว้ ความที่เล่า เล่ากันเพียงเท่าที่กล่าวมานี้ ยังไม่เคยได้ยินคำอธิบายว่า ทำไมพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย จึงทรงตั้ง หรือแม้ที่สุด เหตุใดกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์จึงทรงอุดหนุนให้สมประสงค์ของเจ้าอนุเวียงจันท์ เมื่อข้าพเจ้าสอบหนังสือจะแต่งพระราชพงษาวดารรัชกาลที่ ๒ คราวนี้ ได้พบจดหมายเหตุต่างประเทศ ๒ แห่ง คือ จดหมายเหตุของราชทูตพม่าที่มาเมืองญวน เมื่อปีมแมเบญจศก จุลศักราช ๑๑๘๕ แห่ง ๑ สำเนาอักษรสาสนผู้สำเร็จราชการอินเดียของอังกฤษ มีถวายพระเจ้าเวียดนามมินมางแห่ง ๑ จดหมายเหตุทั้ง ๒ นี้ พิมพ์ไว้ข้างท้ายเล่ม ๒ หนังสือครอเฟิดแต่งเรื่องเขาเปนทูตที่มาเมืองไทย ได้ความจากอักษรสาสนขนานพระนามพระเจ้ากรุงเวียดนามว่าเปนใหญ่แก่ประเทศกัมพูชา แลประเทศลาว ดังนี้ ทำให้เข้าใจว่า ญวนตั้งใจมุ่งหมายจะเอาทั้งเมืองเขมรแลเมืองลาวไว้ในอำนาจ คงจะได้แสดงความข้อที่ว่าเปนใหญ่แก่เขมรแลลาวไว้ในท้ายพระนามพระเจ้าเวียดนาม จนปรากฎถึงต่างประเทศ อังกฤษจึงได้ใช้พระนามนั้นในอักษรสาสน ความที่ปรากฎในจดหมายเหตุของราชทูตพม่านั้น ปรากฎว่าญวนถามว่า ที่พม่าจะไปเปนไมตรีกับญวนจะมีประโยชน์อันใด ด้วยสองประเทศอยู่ห่างไกลกันมากนัก ทูตพม่าตอบว่าแผ่นดินญวนกับแผ่นดินพม่าอาจจะไปมาค้าขายติดต่อถึงกันได้ ไม่ห่างไกล ด้วยยอดแม่น้ำโขงอยู่ในแดนพม่า ถ้าทำทางบกจากแดนพม่าไปเมืองตั้งเกี๋ยก็จะไปมาถึงกันได้ทาง ๑ หรือมิฉนั้นจะพาสินค้าขึ้นล่องทางลำแม่น้ำโขงก็ได้อิกทาง ๑ มีความลำบากแต่ที่จะต้องผ่านแดนเมืองเวียงจันท์ ซึ่งเปนไมตรีชอบพออยู่กับเมืองไทย ถ้าคิดอ่านไมตรีกับเมืองเวียงจันท์เสียแล้ว พม่ากับญวนก็จะไปมาถึงกันตามทางแม่น้ำโขงได้โดยสดวก ได้ความตามจดหมายเหตุดังนี้ ทำให้เข้าใจว่า การที่ไทยรู้สึกว่าญวนจะคิดขยายอาณาจักรเข้ามาทางหัวเมืองริมแม่น้ำโขงจะมีมาแต่ในรัชกาลที่ ๒ ไม่ใช่พึ่งมามีขึ้นในรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุเวียงจันท์เปนผู้สนิทชิดเชื้อกับไทยมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ เปนคนแขงแรงแลมีอำนาจรักษาการทางชายพระราชอาณาจักรที่ต่อกับญวน เมื่อเมืองนครจำปาศักดิเสียแก่พวกข่าขบถคราวนั้น ความคิดเห็นในกรุงเทพฯ เห็นจะเห็นเปนอย่างเดียวกันว่า ถ้าไม่จัดการรักษาเมืองนครจำปาศักดิให้มั่นคง ญวนจะขยายอำนาจเข้ามาครอบงำถึงเมืองนครจำปาศักดิ ความเห็นที่ผิดกัน จะมีเพียงข้อที่จะจัดการรักษาอย่างไร ด้วยเมืองนครจำปาศักดิอยู่ห่างไกล ข้างฝ่ายเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรี เห็นจะทรงเห็นว่า ควรจะให้เมืองนครราชสิมาปกครองออกไปจนเมืองนครจำปาศักดิ แต่ฝ่ายกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงพระดำริห์เห็นว่า ให้พวกเวียงจันท์ลงมาปกครองเปนการสดวกกว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย ทรงไว้วางพระราชหฤไทยในเจ้าอนุ ด้วยเปนผู้ที่ซื่อตรงต่อกรุงเทพฯ ตลอดมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ จึงทรงตั้งเจ้าราชบุตร (โย้) ไปเปนเจ้านครเมืองจำปาศักดิ ข้าพเจ้าสันนิฐานเห็นว่าเรื่องที่จริงจะเปนเช่นนี้