- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
๏ ศุภมัศดุ ๑๑๗๙ ศก อุศุภสังวัจฉร เจตมาศกาฬปักษ์ ทุติยดฤถีครุวาร บริเฉทกาลกำหนด พระบาทสมเด็จพระบรมธรรมิกมหาราชารามาธิราช บรมนารถบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ เสด็จออกณพระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน พร้อมด้วยอรรคมหาเสนามาตยาธิบดี มุขมนตรีกระวีชาติ ราชปโรหิตาโหราจารย์ ทูลละอองธุลีพระบาทโดยอันดับ ทรงพระราชศรัทธาถวายสังฆภัตรทานแก่พระสงฆ์ มีองค์สมเด็จพระสังฆราชเปนประธาน ครั้นเสร็จการภุตตากิจ พระสงฆ์รับพระราชทานฉันแล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทรงพระราชรำพึงเถิงสรรพการกุศล เปนต้นว่าบริจาคทานรักษาศีลเจริญภาวนา ซึ่งได้ทรงบำเพ็ญมาเปนนิจกาลนั้น ยังหาเต็มพระราชศรัทธาไม่ มีพระไทยปราถนาจะใคร่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ให้มีผลวิเศษประเสริฐยิ่งที่พระองค์มิได้ทรงกระทำ เพื่อจะให้แปลกปลาด จึงมีพระปุจฉาถามสมเด็จพระสังฆราช แลพระราชาคณะผู้ใหญ่ผู้น้อยถวายพระพรว่า แต่ก่อนสมเด็จพระมหากระษัตราธิราชเจ้า กระทำสักการบูชาพระศรีรัตนไตรยในวันวิสาขบุรณมี คือวันเดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เปนวันวิสาขนักขัตฤกษ์มหายัญญพิธีบูชาใหญ่ มีผลอานิสงษ์มากยิ่งกว่าตรุศสงกรานต์ เหตุว่าเปนวันสมเด็จพระสัพพัญญูพุทธเจ้าประสูตร ได้ตรัสรู้ ปรินิพพาน แลสมเด็จพระเจ้าภาติกราช วสักราช ดิศมหาราช เคยกระทำสืบพระชนมายุเปนเยี่ยงอย่างโบราณราชประเพณีมีมาแต่ก่อน แลพระราชพิธีวิสาขบูชาอันนี้เสื่อมสูญขาดมาช้านานแล้ว หามีกระษัตริย์พระองค์ใดกระทำไม่ ถ้าได้กระทำสักการบูชาพระศรีรัตนไตรยในวันนั้นแล้ว ก็จะมีผลอานิสงษ์มากยิ่งนัก อาจสามารถปิดประตูจตุราบายภูมิทั้ง ๔ แลเปนที่จะดำเนินไปในสุคติภพเบื้องน่า อาจให้เจริญทฤฆายุศิริสวัสดิพิพัฒมงคล รำงับทุกข์โทษอุปัทวอันตรายไภยต่าง ๆ ในบริเฉทกาลปัจจุบัน เปนอนันตคุณานิสงษ์วิเศษนัก จะนับประมาณมิได้ ครั้นได้ทรงฟังเกิดพระราชปีติโสมนัส ตรัสเห็นว่าวิสาขบูชานี้ จะเปนเนื้อนาบุญราศีกองพระราชกุศลเกิดขึ้นอิกแห่ง ๑ เปนแท้ จึงทรงพระราชศรัทธาจะยกรื้อวิสาขบูชามหายัญญพิธีอันขาดประเพณีมานั้น ให้กลับคืนเจียรฐิติกาลปรากฎสำหรับแผ่นดินสืบไป จะให้เปนอัตตัตถประโยชน์ แลปรัตถประโยชน์ ทรงพระราชศรัทธาจะให้สัตวโลกข้าขอบขัณฑเสมาทั้งปวงจำเริญอายุแลอยู่เย็นเปนศุข ปราศจากทุกข์ภัยในชั่วนี้แลชั่วน่า จึงมีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า แต่นี้สืบไปเถิงณวันเดือน ๖ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ แรมค่ำ ๑ เปนวันพิธีวิสาขบูชานักขัตฤกษ์ใหญ่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจะทรงรักษาพระอุโบสถศีล ปรนิบัติพระสงฆ์ ๓ วัน ปล่อยสัตว ๓ วัน ห้ามมิให้ผู้ใดฆ่าสัตวตัดชีวิตรเสพสุราเมรัยใน ๓ วัน ถวายประทีปตั้งโคมแขวนเครื่องสักการบูชาดอกไม้เพลิง ๓ วัน ให้เกณฑ์ประโคมเวียนเทียนพระพุทธเจ้า ๓ วัน ให้มีพระธรรมเทศนาในพระอารามหลวงถวายไชยทาน ๓ วัน ส่วนพระบรมราชวงษานุวงษ์แลข้าทูลลอองธุลีพระบาทไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎรลูกค้าวานิชสมณะชีพราหมณ์ทั้งปวง จงมีศรัทธาปลงใจลงในการกุศล อุส่าห์กระทำวิสาขบูชาให้เปนประเพณียั่งยืนไปทุกปีอย่าให้ขาด ฝ่ายฆราวาศนั้นจงรักษาอุโบสถศีลถวายบิณฑบาตทาน ปล่อยสัตวตามศรัทธาทั้ง ๓ วัน ดุจวันตรุศสงกรานต์ เพลาเพนแล้วมีพระธรรมเทศนาในพระอาราม ครั้นเพลาบ่ายให้ตกแต่งเครื่องสักการบูชาพวงดอกไม้มาลากระทำให้วิจิตรต่าง ๆ ธูปเทียนชวาลาทั้ง (ธง) ผ้าธงกระดาษออกไปยังพระอาราม บูชาพระรัตนไตรย ตั้งพนมดอกไม้ แขวนพวงดอกไม้ธูปเทียนธงใหญ่ธงน้อยในพระอุโบสถพระวิหาร ที่ลานพระเจดีย์แลพระศรีมหาโพธิ แลผู้ใดจะมีเครื่องดุริยดนตรีมโหรีพิณพาทย์เครื่องเล่นสมโภชประการใด ๆ ก็ตามแต่ใจศรัทธา ครั้นเพลาค่ำให้บูชาพระรัตนไตรย ด้วยเครื่องบูชาประทีปโคมตั้งโคมแขวนจงทุกน่าบ้านร้านโรงเรือนแลเรือแพทุกแห่งทุกตำบล ให้ฆราวาสทำดังกล่าวนี้จงถ้วนครบ ๓ วัน แลณวันเดือน ๖ ขึ้น ๑๕ ค่ำนั้น เปนวันเพ็ญบุรณมี ให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระราชวังหลวงในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ประชุมกันถวายฉลากภัตรแก่พระสงฆ์ แลให้มรรคนายกทั้งปวงชักชวนสัปรุษทายก บรรดาที่อยู่ใกล้เคียงอารามใด ๆ ให้ทำฉลากภัตรถวายพระสงฆ์ในอารามนั้น ๆ เพลาบ่ายให้เอาหม้อใหม่ใส่น้ำลอยด้วยดอกอุบลบัวหลวงวงสายสิญจน์สำหรับเปนน้ำปริตไปตั้งที่พระอุโบสถ พระสงฆ์ลงพระอุโบสถแล้วจะ ได้สวดพระพุทธมนต์จำเริญพระปริตธรรม ครั้นจบแล้วหม้อน้ำของผู้ใดก็ให้เอาไปกินอาบประพรมรดเย่าเรือนเคหาบำบัดโรคอุปัทวไภยต่างต่าง ฝ่ายพระสงฆ์สมณนั้น ให้พระราชาคณะถานานุกรมประกาศให้ลงพระอุโบสถแต่เพลาเพนแล้วให้พร้อมกัน ครั้นเสร็จอุโบสถกรรมแล้ว เจริญพระปริตธรรมแผ่พระพุทธอาชญาไปในพระราชอาณาเขตร รำงับอุปัทวไภยทั้งปวง ครั้นเพลาค่ำเปนวันโอกาศแห่งพระสงฆ์สามเณรกระทำสักการบูชาพระศรีรัตนไตรยที่พระอุโบสถแลพระวิหารด้วยธูปเทียนโคมตั้งโคมแขวนดอกไม้แลประทีปเปนต้น พระภิกษุที่เปนธรรมกถึกจงมีจิตรปราศจากโลภโลกามิศ ให้ตั้งเมตตาศรัทธาเปนบุเรจาริก จงสำแดงธรรมเทศนาให้พระสงฆ์สามเณรแลสัปรุษฟังโดยอันควรแก่ราตรีวันนั้นทุกอาราม ให้กระทำตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมานี้เสมอไปทุกปีอย่าให้ขาด ถ้าฆราวาศแลพระสงฆ์สามเณรรูปใดเปนพาลทุจริตจิตรคะนองหยาบช้าหามีศรัทธาไม่ กระทำความอันมิชอบให้เปนอันตรายแก่ผู้กระทำวิสาขบูชาในวันนักขัตฤกษ์นั้น ก็ให้ร้อยแขวงนายบ้านนายอำเภอกำชับตรวจตราสอดแนมจับกุมเอาตัวผู้กระทำผิดให้จงได้ ถ้าจับกระหัษฐได้ในกรุงฯ ให้ส่งกรมพระนครบาล นอกกรุงฯ ส่งเจ้าเมืองกรมการ ถ้าจับพระสงฆ์สามเณรได้ในกรุงฯ ส่งสมเด็จพระสังฆราช พระพนรัตน์ นอกกรุงฯ ส่งเจ้าอธิการ ให้ไล่เลียงไถ่ถาม ได้ความเปนสัตย์ให้ลงโทษลงทัณฑกรรมตามอาญาฝ่ายพระพุทธจักรแลพระราชอาณาจักร จะได้หลาบจำอย่าให้ทำต่อไป แลให้ประกาศป่าวร้องอาณาประชาราษฎรลูกค้าวานิช สมณชีพราหมณ์ ให้รู้จงทั่ว ให้กระทำดังพระราชบัญญัติดังกล่าวมานี้จงทุกประการ ถ้าผู้ใดมิฟัง จะเอาตัวผู้กระทำผิดเปนโทษโดยโทษานุโทษ ๚
พิธีวิสาขบูชาที่ทำในกรุงเทพฯ เมื่อรัชกาลที่ ๒ ปรากฎว่ามีการเหล่านี้[๑] คือ ทำโคมปิดกระดาษ ชักเสาไม้ไผ่ยอดผูกฉัตรกระดาษพระราชทานไปปักจุดเปนพุทธบูชาตามพระอารามหลวงวัดละสี่เสาอย่าง ๑ ให้อำเภอกำนันป่าวร้องราษฎรให้จุดโคมตามประทีปตามบ้านเรือนเปนพุทธบูชาอย่าง ๑ หมายแผ่พระราชกุศลแก่ข้าราชการให้ร้อยดอกไม้มาแขวนเปนพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามทั้ง ๓ วันอย่าง ๑ มีดอกไม้เพลิงของหลวงตั้งจุดเปนพุทธบูชาที่น่าวัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่าง ๑ นิมนต์พระสงฆ์ให้ให้อุโบสถศีลแลแสดงพระธรรมเทศนาแก่ราษฎรตามพระอารามหลวงฝั่งตวันออก ๑๐ วัด ฝั่งตวันตก ๑๐ วัด เครื่องกัณฑ์เปนของหลวงพระราชทาน แลให้อำเภอกำนันป่าวร้องตักเตือนราษฎร ให้ไปรักษาศีลฟังธรรมแลห้ามการฆ่าสัตวตัดชีวิตรอย่าง ๑ ทำธงจระเข้ไปปักเปนพุทธบูชาตามพระอารามหลวงวัดละคันอย่าง ๑ เลี้ยงพระสงฆ์ในท้องพระโรง พระราชทานสลากภัตร แล้วสดัปกรณ์พระบรมอัฐิอย่าง ๑
[๑] เรื่องลักษณทำพิธีวิสาขบูชาเมื่อในรัชกาลที่ ๒ แลที่ได้แก้ไขในรัชกาลต่อมา มีพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้โดยพิศดาร แจ้งอยู่ในหนังสือเรื่องพระราชพิธี ๑๒ เดือน