- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
ภาษีอากรที่เก็บในรัชกาลที่ ๒ คือ ค่านาอย่าง ๑ อากรสวนอย่าง ๑ อากรบ่อนเบี้ยอย่าง ๑ ภาษีด่านขนอนอย่าง ๑ อากรตลาดอย่าง ๑ ภาษีสินค้าเข้าออกอย่าง ๑ ค่าราชการอย่าง ๑ จำนวนเงินภาษีอากรทั้งปวงนี้ ที่ได้ปี ๑ ไม่ใคร่พอจับจ่ายใช้สอยในราชการ ต้องแต่งสำเภาไปค้าขายหากำไรเพิ่มเติม ครั้งนั้นมีเรือกำปั่นหลวง ๒ ลำ ชื่อเรือมาลาพระนครลำ ๑ เรือเหราข้ามสมุทลำ ๑ แต่งไปค้าขายถึงอินเดียบ้าง ไปเพียงเกาะหมากบ้าง เมืองสิงคโปร์บ้าง เมืองหมาเก๊าบ้าง เจ้านายแลข้าราชการที่มีทุนทรัพย์ต่างก็ต่อกำปั่นไปเที่ยวค้าขาย เงินหลวงที่ได้ในปี ๑ ๆ บางปีก็พอเบี้ยหวัด บางปีก็ไม่ได้พอ ต้องลดอัตราเบี้ยหวัดลง บางปีสามส่วนลดส่วนหนึ่งบ้าง บางปีต้องลดถึงกึ่งหนึ่งบ้าง บางปีก็พระราชทานผ้าลายแจกเพิ่มเติมในเบี้ยหวัดบ้าง[๑]
ความปรากฎในใบบอกของครอเฟิด ว่าได้สืบสวนเรื่องผลประโยชน์แผ่นดิน ได้ความว่าปีหนึ่งจำนวนผลประโยชน์แผ่นดินที่ได้ ดังนี้:-
ค่านา | ๒๕๘,๐๐๐ บาท |
อากรสุรา | ๒๖๔,๐๐๐ บาท |
อากรบ่อนเบี้ย | ๒๖๐,๐๐๐ บาท |
อากรตลาด | ๑๖๕,๐๐๐ บาท |
ค่าน้ำ | ๖๔,๐๐๐ บาท |
ผูกปี้จีน (บางทีจะรวมทั้งค่าราชการ) | ๒๐๐,๐๐๐ บาท |
กำไรอากรรังนก | ๑๐๐,๐๐๐ บาท |
กำไรขายฝาง (หาบละบาท ๕๐ สตางค์) | ๒๒๕,๐๐๐ บาท |
กำไรขายดีบุก (หาบละ ๑๕ บาท) | ๖๐,๐๐๐ บาท |
กำไรอากรพริกไทย | ๓๒๐,๐๐๐ บาท |
กำไรขายของอย่างอื่นในพระคลังสินค้า | ๑๑๐,๐๐๐ บาท |
ภาษีขาเข้าแลกำไรในการค้าขายนอกจากพระคลังสินค้าขาย | ๒๐๐,๐๐๐ บาท |
รวมผลประโยชน์แผ่นดินที่ได้ปีหนึ่ง | ๒,๒๒๖,๐๐๐ บาท |
ครอเฟิดว่าสมกับที่เจ้าพระยาทิพากรวงษ์กล่าวข้อ ๑ ว่าสืบได้ความว่าเพราะการใช้จ่ายมาก เงินที่เหลือคงพระคลังมีน้อย มีเงินคงพระคลังในคราว ๑ ไม่ใคร่เกินกว่า ๑๖๐,๐๐๐ บาท[๒]
[๑] ความที่กล่าวมานี้ ว่าตามที่จดไว้ในพระราชพงษาวดาร ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงษ์
[๒] การที่ครอเฟิดสืบนั้น คงสืบจากพวกพ่อค้า บาญชีที่ได้จะเอาเปนแน่หรือใกล้ทีเดียว ยังเชื่อเปนแน่ไม่ได้ แต่ที่ว่าผลประโยชน์แผ่นดินได้น้อยนั้น เปนความจริง แต่ไม่ใช่เพราะผลประโยชน์แผ่นดินมีน้อยอย่างเดียว ที่จริงเปนเพราะผลประโยชน์แผ่นดินตกเรี่ยเสียหายเสียมากด้วย ด้วยในครั้งนั้นเจ้าแลขุนนางผู้ใหญ่ ต่างมีสมพลบ่าวไพร่คนละมาก ๆ ต่างป้องกันประโยชน์ผู้คนของตน แผ่นดินจึงเสียเปรียบ อนึ่งเรี่องแจกเบี้ยหวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชาธิบายว่า ไม่ใช่ผลประโยชน์ที่ได้ตามตำแหน่งน่าที่ในราชการอย่างได้พระราชทานเงินเดือนกันทุกวันนี้ เพราะในครั้งนั้นบรรดาผู้ที่มียศแลตำแหน่งมีทางได้ผลประโยชน์ประจำตำแหน่ง เช่นได้ค่าธรรมเนียม แลได้จากการที่มีสมพลบ่าวไพร่เปนผลประโยชน์ที่ได้ในทางราชการประจำตำแหน่ง ส่วนเบี้ยหวัดนั้น เปนเงินพระราชทานเปนบำเหน็จ ส่วนที่มาปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณเฉภาะพระองค์ ข้าพเจ้าเคยได้สดับมาดังนี้