- คำนำ
- ๑. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ สวรรคต
- ๒ ประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๒ เมื่อก่อนเสด็จผ่านพิภพ
- ๓. เหตุการณ์บ้านเมืองในขณะเมื่อเปลี่ยนรัชกาล
- ๔. เกิดเหตุเรื่องเจ้าฟ้ากรมขุนกระษัตรานุชิต
- ๕. พระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๖. พระราชพิธีอุปราชาภิเศก
- ๗. การอันเนื่องต่อพระราชพิธีบรมราชาภิเศก
- ๘. พระราชกำหนดสักเลข รัชกาลที่ ๒
- ๙. เรื่องเดินสวนเดินนา
- ๑๐. พระราชกำหนด ห้ามมิให้สูบแลซื้อขายฝิ่น
- ๑๑. เรื่องศึกพม่า
- ๑๒. อุปฮาดเมืองนครพนมกับพรรคพวกอพยพเข้ามาณกรุงฯ
- ๑๓. เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเมืองญวนเมืองเขมร
- ๑๔. เรื่องทูตญวนเข้ามาครั้งที่ ๑
- ๑๕. เรื่องญวนขอเมืองไผทมาศ
- ๑๖. เรื่องกรมพระราชวังบวรฯ ทรงผนวช
- ๑๗. เรื่องให้เจ้านายกำกับราชการ
- ๑๘. เรื่องทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๑
- ๑๙. เรื่องสถาปนากรมสมเด็จพระพันปีหลวง
- ๒๐. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๑
- ๒๑. งานพระบรมศพ
- ๒๒. เรื่องจัดการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้
- ๒๓. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒
- ๒๔. เรื่องพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๕. ตำนานพระพุทธบุษยรัตน์
- ๒๖. เกิดเหตุเรื่องเขมรตอนที่ ๓
- ๒๗. พระราชพิธีลงสรง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ
- ๒๘. ได้พระยาเสวตรกุญชรช้างเผือกเมืองโพธิสัตว
- ๒๙. เรื่องตั้งกรม
- ๓๐. เรื่องปิดน้ำบางแก้ว
- ๓๑. ไฟใหญ่ไหม้พระนคร
- ๓๒. เรื่องสร้างพระมณฑปพระพุทธบาท
- ๓๓. เรื่องพม่าขอเปนไมตรี
- ๓๔. เรื่องสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์
- ๓๕. เรื่องตั้งเมืองประเทศราชมณฑลพายัพ
- ๓๖. เรื่องสมณทูตไปลังกา
- ๓๗. เรื่องเขมรตีเมืองพัตบอง
- ๓๘. เรื่องมอญอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งพระบารมี
- ๓๙. เรื่องจัดการปกครองเมืองนครศรีธรรมราช
- ๔๐. เรื่องตั้งเมืองกลันตันเปนประเทศราช
- ๔๑. เรื่องพม่าแหกคุก
- ๔๒. สถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (มี)
- ๔๓. ได้พระยาเสวตรไอยราช้างเผือกเมืองเชียงใหม่
- ๔๔. เรื่องพระราชาคณะต้องอธิกรณ์
- ๔๕. เกิดเหตุเรื่องบัตรสนเท่ห์
- ๔๖. พระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎ
- ๔๗. ได้พระยาเสวตรคชลักษณ์ ช้างเผือกเมืองน่าน
- ๔๘. เรื่องใช้ธงช้าง
- ๔๙. เรื่องพิธีวิสาขบูชา
- ๕๐. พระราชกำหนดพิธีวิสาขบูชา
- ๕๑. กรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคต
- ๕๒. สถานที่ซี่งกรมพระราชวังบวรฯ ได้ทรงสร้าง
- ๕๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชสามเณร
- ๕๔. งานพระเมรุกรมพระกรมพระราชวังบวรฯ
- ๕๕. เรื่องขยายเขตรพระบรมมหาราชวัง
- ๕๖. เรื่องสร้างสวนขวา
- ๕๗. เรื่องบำรุงแบบแลบทลคร
- ๕๘. โปตุเกตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี
- ๕๙. ตั้งสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
- ๖๐. เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ
- ๖๑. เรื่องโปตุเกตขอทำสัญญา
- ๖๒. เกิดไข้อหิวาตกะโรค
- ๖๓. ฉลองวัดอรุณราชวราราม
- ๖๔. ราชทูตญวนเข้ามาบอกข่าวพระเจ้ายาลองสิ้นพระชนม์
- ๖๕. เรื่องสังคายนาสวดมนต์
- ๖๖. เรื่องข่าวศึกพม่า
- ๖๗. เรื่องราชทูตไปเมืองจีนครั้งที่ ๒
- ๖๘. เรื่องตีเมืองไทรบุรี
- ๖๙. เรื่องอังกฤษขอเปนไมตรี
- ๗๐. ลักษณการที่ไทยค้าขายกับต่างประเทศ
- ๗๑. ท้องตราว่าด้วยการค้าขายของหลวง
- ๗๒. เรื่องครอเฟิดทูตอังกฤษเข้ามาขอทำสัญญา
- ๗๓. เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ปรากฎในหนังสือครอเฟิด
- ๗๔. เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีสิ้นพระชนม์
- ๗๕. เรื่องสร้างวัดสุทัศน์
- ๗๖. เรื่องสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
- ๗๗. เรื่องสร้างเมืองสมุทปราการ
- ๗๘. เรื่องขุดปากลัด
- ๗๙. เรื่องพม่าชวนญวนตีเมืองไทย
- ๘๐. เรื่องอังกฤษรบกับพม่าครั้งที่ ๑
- ๘๑. งานพระเมรุเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพวดี
- ๘๒. เรื่องพระยาช้างเผือกล้ม
- ๘๓. สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชเปนพระภิกษุ
- ๘๔. เหตุการณ์เบ็ดเตล็ดในรัชกาลที่ ๒
- ๘๕. ผลประโยชน์แผ่นดิน
- ๘๖. พระราชานุกิจ
- ๘๗. สวรรคต
- ๘๘. เรื่องสืบสันตติวงษ์
- ๘๙. พระราชโอรสพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาไลย
- ๙๐. พระนามพระองค์เจ้าลูกเธอ ในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์
๒๑. งานพระบรมศพ
ปีมแมตรีศก จุล ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔ ถึงต้นปีมแมตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ พ.ศ. ๒๓๕๔ พระเมรุมาศที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพในท้องสนามหลวง ซึ่งได้โปรดให้มีท้องตราเกณฑ์หัวเมืองเอก โท ตรี จัตวา ปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือทั้งปวง ให้จัดหาเสาแลเครื่องสร้างพระสุเมรุส่งเข้ามายังกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานได้จัดการสร้างสำเร็จในฤดูแล้งต้นปี
พระเมรุครั้งนี้สร้างตามแบบพระเมรุพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งกรุงเก่า เปนพระเมรุอย่างใหญ่เต็มตำรา ขนาดเสาใหญ่สูงเส้นหนึ่ง ขื่อยาวเจ็ดวา พระเมรุ[๑]สูงตลอดยอดนั้นสองเส้น ภายในมีพระเมรุทองอิกชั้น ๑ สูงสิบวา ตั้งพระเบญจาทองคำรับพระบรมโกษฐ มีเมรุทิศทั้งแปดทิศ มีสามสร้างตามระหว่างเมรุทิศ ชั้นในมีราชวัตรทึบปักฉัตรเงินฉัตรทองฉัตรนากสลับกัน หลังสามสร้างชั้นนอกมีโรงรูปสัตวรายรอบ มีราชวัตรไม้จริงทรงเครื่อง ฉัตรเบญจรงค์ ล้อมโรงรูปสัตว์อิกชั้น ๑ ต่อออกมาตั้งเสาดอกไม้พุ่มรายรอบราชวัตรอิกชั้น ๑ แล้วมีรทาดอกไม้สูงสิบสองวา ๑๖ รทา เครื่องมโหรศพสมโภชมีโรงรำหว่างรทา ๑๕ โรง แลตั้งเสาหกสามต่อน่าระทา ลวด ๔ หก ๔ แพน ๔ มีโรงโขน โรงลคร โรงงิ้ว สิ่งละ ๒ โรง โขนโรงใหญ่โรง ๑ มีต้นกัลปพฤกษ์ทั้ง ๘ ทิศ มีไม้ลอย ลวดเลว ลวดลังกา นอนร้านหอก ร้านดาบ คาบค้อน บ่วงพวง บ่วงเพลิง เล่นที่น่าไม้สามต่ออิกเปนหลายอย่าง โรงงานมหรสพครั้งนั้นปลูกตั้งแต่ป้อมมณีปราการ ตลอดไปถึงสพานกรงวังน่า[๒] แลให้ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารคาวหวานพระราชทานเปนทานแก่ไพร่บ้านพลเมืองที่จะมาในงานพระบรมศพทั่วไป
ถึงณวันเสาร์เดือน ๖ ขึ้น ๕ ค่ำ เชิญพระบรมสารีริกธาตุแต่ในพระบรมมหาราชวังตั้งกระบวนแห่ออกไปยังพระเมรุมาศ ประดิษฐานบนพระเบญจาทอง พระสงฆ์ราชาคณะถานานุกรมเปรียญฝ่ายคามวาสีอรัญวาสี ๘๐ รูปเจริญพระพุทธมนต์ มีหนัง จุดดอกไม้เพลิง เปนการสมโภชพระบรมสารีริกธาตุวันหนึ่งคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้นเวลาเช้าพระสงฆ์รับพระราชทานฉันแลรับพระราชทานเครื่องไทยธรรมแล้ว มีงานสมโภช เวลาบ่ายทิ้งทาน เวลาค่ำจึงแห่พระบรมสารีริกธาตุกลับเข้าในพระบรมมหาราชวัง[๓]
ครั้นรุ่งขึ้นวันขึ้น ๗ ค่ำ เชิญพระบรมศพสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทขึ้นพระยานุมาศสามลำคาน พระยานุมาศนี้ทำใหม่สำหรับพระบรมศพ มีภาพสองชั้น ปักพระมหาเสวตรฉัตร ๙ ชั้นกั้นพระบรมโกษฐ แห่ออกประตูศรีสุนทรไปขึ้นพระมหาพิไชยราชรถ[๔] ที่ถนนสนามไชยน่าวัดพระเชตุพน แต่นั้นแห่เปนกระบวนอย่างใหญ่ ชักไปถึงพระเมรุแล้ว เชิญพระบรมโกษฐลงจากพระมหาพิไชยราชรถ ทรงพระยานุมาศเข้าสู่พระเมรุด้านบุรพทิศ แห่เวียนพระเมรุโดยอุตราวัฏสามรอบ แล้วเชิญพระบรมโกษฐขึ้นบนเกรีนบันไดนากอย่างกรมหลวงพิทักษมนตรีทรงคิดขึ้นใหม่ แต่ก่อนใช้เปนไม้ล้มลุกไม่ดีเหมือนเกรีนบันไดนาก จึงเปนแบบอย่างมาจนทุกวันนี้ ขันช่อกว้านเกรีนเลื่อนขึ้นไปสุดบันไดนาก แล้วเจ้าพนักงานกรมภูษามาลาเลื่อนพระบรมโกษฐไปประดิษฐานเหนือพระเบญจาทองภายใต้พระมหาเสวตรฉัตรในพระเมรุทอง ตั้งเครื่องสูงแลเครื่องราชูประโภคพร้อมตามราชอิศริยยศแล้ว พระสงฆ์ราชาคณะถานานุกรมสดัปกรณ์แลพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมที่เมรุทิศทั้งสี่ เปนพระสงฆ์ประจำสวด ๖๔ รูป ถวายไตรจีวรเครื่องบริขารไทยธรรมแก่พระสงฆ์ราชาคณะถานานุกรมเปรียญเจ้าอธิการพระสงฆ์อันดับในพระนครนอกพระนครแลหัวเมือง เปนจำนวนพระสงฆ์หมื่นเศษ ครั้นเวลาเช้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระสงฆ์ ๆ ทำภัตรกิจเสร็จแล้วสดัปกรณ์ แล้วเสด็จไปประทับทรงสดับพระธรรมเทศนาณพระที่นั่งทรงธรรม ครั้นเวลาเย็นเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปในพระเมรุ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลแล้วเสด็จออกพลับพลาสนามมวย มีพระราชดำรัสสั่งให้ทิ้งทานทั้งแปดทิศ แล้วทรงโปรยผลกัลปพฤกษ์แหวนฉลากนากทองเงิน แลพระราชทานเงินตราผ้าเสื้อแก่คนสูงอายุ ๗๐ ปีขึ้นไปทุกคนทั่วกัน ที่สนามน่าพลับพลานั้นก็มีการเล่นต่างๆ ครั้นเวลาค่ำมีหนังรอบพระเมรุสิบสองโรง จุดดอกไม้พุ่ม รทาใหญ่ กับดอกไม้เพลิงต่างๆ เมื่อจุดเสร็จแล้วรทาใหญ่จึงได้จุดลาบผ้ามีเพลิงแก้วเปนที่สุด แล้วจุดดอกไม้พุ่มรอบพระเมรุอิกคราว ๑ ตามประเพณีการพระบรมศพ ครั้นดอกไม้เพลิงจุดเสร็จแล้ว จึงเสด็จพระราชดำเนินกลับยังพระราชวัง
ครั้นณเดือน ๖ ขึ้น ๑๓ ค่ำ งานสมโภชพระบรมศพครบเจ็ดวันเจ็ดคืนแล้ว เวลาบ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวงษานุวงษ์ฝ่ายน่าฝ่ายใน เสนาบดี ท้าวพระยาประเทศราช ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย พร้อมกันถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จ รุ่งขึ้นเชิญพระบรมอัฐิประดิษฐานในพระโกษฐลงยาราชาวดี แล้วเชิญพระอังคารขึ้นสู่พระยานุมาศ ตั้งกระบวนแห่ทางประตูพระเมรุด้านตวันตก ออกประตูท่าพระ ทรงเรือพระที่นั่งกิ่ง กระบวนแห่เรือดั้งเรือข้าราชการเปนอันมาก ไปลอยพระอังคารที่น่าวัดประทุมคงคา ส่วนพระบรมอัฐินั้นประดิษฐานไว้ที่พระเมรุ มีงานสมโภชพระบรมอัฐิอิกสามวันสามคืน ครั้นเดือน ๖ แรม ๒ ค่ำ จึงเชิญพระบรมอัฐิขึ้นพระราเชนทรยาน ตั้งกระบวนแห่แต่ประตูพระเมรุด้านตวันออก เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มีการสมโภชทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอิกสี่วันสี่คืน เปนคำรบเจ็ดวันเจ็ดคืน แล้วจึงเชิญพระบรมอัฐิประดิษฐานไว้ในหอพระธาตุมณเฑียร
[๑] รายการพระเมรุ ข้าพเจ้าพรรณาตามที่จดไว้ในพระราชพงษาวดาร ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงษ์ แปนแต่แก้ไขถ้อยคำบ้างเล็กน้อย
[๒] ที่ปากตลาดเรียกว่า สพานเสี้ยวทุกวันนี้
[๓] ประเพณีเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกไปสมโภชที่พระเมรุก่อนพระบรมศพ พึ่งมีขึ้นเมื่อคราวพระเมรุกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ด้วยเหตุอันปรากฎอยู่ในพระราชพงษาวดารรัชกาลที่ ๒ นั้นแล้ว นอกจากเปนพระราชกุศล ยังเปนประโยชน์อิกอย่างหนึ่ง ที่เหมือนกับได้ซ้อมการพระเมรุที่ทำว่าเรียบร้อยแล้วหรือยัง จึงเลยเปนธรรมเนียมมีต่อมาในงานพระเมรุใหญ่
[๔] ราชรถใหญ่สำหรับทรงพระศพมี ๒ หลัง เรียกว่า มหาพิไชยราชรถ หลัง ๑ เวไชยันตราชรถ หลัง ๑ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าหลัง ๑ สร้างขึ้นเมื่องานถวายพระเพลิงพระอัฐิสมเด็จพระปฐมบรมวงษ์ เมื่อในรัชกาลที่ ๑ อิกหลัง ๑ เห็นจะสร้างขึ้นเมื่องานพระศพสมเด็จพระพี่นาง ซึ่งทำเมื่อในรัชกาลที่ ๑ พร้อมกันทั้ง ๒ พระองค์ ที่ว่านี้เปนการคาดคเน ไม่มีจดหมายเหตุบอกไว้ในที่อื่น