- คำนำผู้เขียน
- ๑. เจ้าจอมปราง
- ๒. คนทำเงินแดงปลอม
- ๓. ตั้วเฮียอั้งยี่
- ๔. ฝรั่งอยู่เมืองไทย
- ๕. ทาส
- ๖. กฎมณเฑียรบาล
- ๗. ไทยไว้ผมเปีย
- ๘. ภิกษุสามเณรอนาจาร
- ๙. แจกเงิน
- ๑๐. มหาดาผู้วิเศษ
- ๑๑. เสรีภาพสาวชาววัง
- ๑๒. พานทองคำรองพระชุด
- ๑๓. เทวดารักษาในหลวง
- ๑๔. ศาลพลเรือน
- ๑๕. เถรจั่นวัดทองเพลง
- ๑๖. พระอัยการลักษณะผัวเมีย
- ๑๗. รางวัลนำจับพระ
- ๑๘. อ้ายยักษ์ อียักษ์
- ๑๙. สังฆราชเลอบอง
- ๒๐. ศพค้างคืน
- ๒๑. นักโทษถวายฎีกา
- ๒๒. ศัพท์แสง
- ๒๓. ฆ่าเจ้าพระยาวิชเยนทร์
- ๒๔. ยอดนักการเมืองบูรพาทิศ
- ๒๕. เจ้าจอมกลีบ
- ๒๖. คดีเรือสงครามครรชิต
- ๒๗. เจ้าจอมเฒ่าแก่ นางบำเรอ
- ๒๘. กำนันหญิง
- ๒๙. โทษการทักว่า “อ้วนผอม”
- ๓๐. หม่อมฉิม หม่อมอุบล
- ๓๑. เจ้าพระยาสุรสีห์
- ๓๒. มรดกและสินสมรส
- ๓๓. คดีพระนางเรือล่ม
- ๓๔. ดาวหาง
- ๓๕. เจ้าจอมภู่
- ๓๖. กฎหมายชาวเรือ
- ๓๗. จับหญิงถวายในหลวง
- ๓๘. เหตุเกิดที่พระพุทธบาท
- ๓๙. ตัดศีรษะบูชาพระ
- ๔๐. หญิงหม้าย ชายบวชนาน
- ๔๑. สมาคม “ตั้วเฮีย”
- ๔๒. บ่อนพนันใน “วังหน้า”
- ๔๓. พระเทพย์โมฬี (ผึ้ง)
- ๔๔. เสรีภาพหนังสือพิมพ์
- ๔๕. “พันปากพล่อย”
- ๔๖. พระยาละแวก
- ๔๗. คนกองนอก
- ๔๘. พระสงฆ์หลายแบบ
- ๔๙. ออกแขก
- ๕๐. เจ้าพระยาจักรี (ขุนเณร)
- ๕๑. แซงเรือพระที่นั่ง
- ๕๒. ท้าวศรีสุดาจันทร์
- ๕๓. เจ้านักเลง
- ๕๔. ขุนนางขโมยเสื่อ
- ๕๕. แม่กองพระเมรุ
- ๕๖. ผัวขายเมีย
- ๕๗. พันท้ายนรสิงห์
- ๕๘. คดีอัฐปลอม
- ๕๙. ประหารพระเจ้ากรุงธนฯ
- ๖๐. ธรรมเนียมหมอบเฝ้าฯ
- ๖๑. หม่อมลำดวน
- ๖๒. ประกาศแช่งน้ำ
- ๖๓. เสพสุราวันสงกรานต์
- ๖๔. ขึ้นขาหยั่งประจาน
- ๖๕. สองกรมหมื่นนักเลงสุรา
- ๖๖. นายสังข์มหาดเล็ก
- ๖๗. ระบอบเลือกตั้งเสรี
- ๖๘. พุทธทำนายเมืองเขมร
- ๖๙. สักหน้าผากจีนเสง
- ๗๐. เรื่องของ “สมี”
- ๗๑. เจ้าจอมทับทิม
- ๗๒. คดีพระยอดเมืองขวาง
- ๗๓. ความหัวเมือง
- ๗๔. นายกล่อมฝรั่ง
- ๗๕. ภาษีพลู
ระบอบเลือกตั้งเสรี
ท่านผู้สนใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย จะต้องแปลกใจมิใช่น้อยที่จะได้ทราบว่า เมื่อเกือบ ๑๐๐ ปีมานี้ได้มีการเลือกตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย การเลือกตั้งที่ว่านี้ มีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งดูเหมือนเกรงว่าจะมีการลงไพ่ไฟหรือพลร่มกันหนัก จึงต้องมีประกาศขอร้องให้ลงบัตรแต่คนละบัตรเท่านั้น ประกาศฉบับนั้นมีข้อความดังต่อไปนี้
ประกาศให้เลือกพระราชครูลูกขุน พระมหาราชครูปโรหิต พระมหาราชครูมหิธร
ด้วยเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี ศรีสุวิรมหามัตวงศราชพงศนิกรานุรักษ มหาสวามิภักดิบรมราโชปการาภิรมย์ สระโพดมกิจวิจารณ มหามณเฑียรบาลบดินทร ราชนิเวศนินทรามาตย์ อันเตปุริกนาถเสนาบดี อภัยพิริยปรากรมพาหุ เป็นประธานาธิบดีในกรมวัง รับพระบรมราชโองการมานพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์ทั้งที่ตั้งกรมแล้วแต่ยังไม่ได้ตั้งกรม ข้าราชการ เจ้าพระยาแลพระยา พระ หลวง ในพระบรมมหาราชวังแลในพระบวรราชวังจงทั่วกันว่า พระมหาราชครูปโรหิตาจารย์ (ทองดี) พระมหาราชครูมหิธร (อู่) ถึงแก่กรรมแล้ว ที่พระราชครูทั้ง ๒ จะต้องตั้งขึ้นใหม่ เมื่อว่าจะทรงปรึกษากับพระราชวงศานุวงศ์องค์หนึ่งสององค์ แลท่านเสนาบดีสามคนสี่คน เลือกสรรข้าราชการผู้ใดผู้หนึ่งเป็นก็จะได้ แลทรงพระราชดำริเห็นว่าที่พระมหาราชครูปโรหิตาจารย์ พระมหาราชครูมหิธร พระครูพิเชต พระครูพิราม ๔ ตำแหน่งนี้ เป็นผู้พิพากษาตัดสินผิดแลชอบ สุขทุกข์ความของท่านทั้งหลายทั่วกัน ต่อออกไปจนราษฎรซึ่งเป็นบ่าวไพร่ในสังกัด แล้วได้ทรงทราบว่าในประเทศอื่น ๆ เมื่อผู้ครองแผ่นดินจะตั้งผู้สำหรับตัดสินความ ก็ย่อมให้คนทั้งปวงเลือก แล้วจดหมายชื่อเข้ามาส่งต่อเจ้าพนักงาน เจ้าพนักงานสอบดูถ้ามีชอบใจท่านผู้ใดมาก ก็ให้ผู้นั้นเป็นผู้ตัดสินคดีของราษฎร ครั้งนี้จะทรงทะนุบำรุงบ้านเมืองให้สมบูรณ์อยู่เย็นเป็นสุขทั่วกัน โดยอย่างธรรมเนียมแก้ไขใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเก่า จึงโปรดเกล้า ฯ ขอให้พระราชวงศานุวงศ์ที่ตั้งกรมแล้ว พระบรมมหาราชวัง แลพระบวรราชวัง คิตตริตรองเลือกดูที่ชอบใจ อย่าให้ปรึกษากันว่าจะชอบใจให้ผู้ใดเป็นที่พระมหาราชครูปโรหิตาจารย์ พระมหาราชครูมหิธร ก็ให้จดหมายลงว่า ข้าพระพุทธเจ้าคนนั้นเห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมว่าคนชื่อนั้น สมควรที่จะเป็นพระมหาราชครูปโรหิตาจารย์ คนชื่อนั้นสมควรที่จะเป็นพระมหาราชครูมหิธร มิได้บังคับว่าให้เลือกเอาแต่ข้าราชการในพระบรมมหาราชวัง แลพระบวรราชวัง ถึงข้าเจ้าบ่าวช้าราชการ ถ้าเห็นว่ามีสติปัญญาควรจะเป็นที่ตัดสินความโดยสัตย์ โดยธรรม ตามพระราชกำหนดกฎหมาย ให้สิ้นสงสัยชอบใจแก่คนทั้งปวงได้ ก็ให้เขียนชื่อมอบให้อาลักษณ์ผู้เอาโครงจดหมายไปถามหารือ พระบรมวงศานุวงศ์ก็ให้เขียนถวายเข้ามาองค์ละฉบับทุก ๆ องค์ ข้าราชการก็ให้เขียนเข้ามาถวายคนละฉบับ ๆ จงทุก ๆ คน โปรดเกล้า ฯ ว่าอย่าให้รังเกียจสงสัยว่าจะทรงล่อลวงล้อเลียนอย่างใดอย่างหนึ่งเลย แล้วอย่าให้คิดวนเวียนรั้งรอว่าเมื่อจะเลือกผู้นั้น ๆ เข้าไปตามใจตัว จะไม่ถูกพระกระแสดอกกระมังก็ดี แลถ้าจะเลือกเข้าไปแล้วจะไม่ได้เป็นดังว่าเข้าไป จะต้องอายเขาดอกกระมังก็ดีเช่นนี้ ก็อย่างเก่า ๆ อย่างนี้ขอเสียเถิด นิสัยใจคนต่าง ๆ กัน ที่ถึงจะเลือกชอบใจต่าง ๆ บัดนี้จะต้องพระราชประสงค์ ก็ตั้งตามใจคนทั้งหลายเป็นอันมาก เลือกชอบใจท่านผู้ใดมากด้วยกัน ก็จะให้ผู้นั้นเป็นที่พระมหาราชครูทั้งสองนั้น ถ้าจะเลือกชอบใจพระยาประสิทธิศุภการ ผู้ว่าที่พระครูพิราม แลพระครูพิเชตคนใดคนหนึ่ง ให้เลื่อนขึ้นเป็นที่พระมหาราชครูปโรหิตาจารย์ พระมหาราชครูมหิธร แล้วก็ให้เลือกหาผู้ที่จะเป็นพระครูพิเชต พระครูพิรามแทนเข้าไปด้วย เขียนชื่อเข้าไปส่งทั้งสี่ตำแหน่งทีเดียว ทราบหมายนี้แล้วให้คิดอ่านตริตรองไว้ แล้วให้เขียนถวายไปส่งทุกวันไป เมื่อขุนหมื่นในอาลักษณ์จะไปถาม ตั้งแต่ ณ วันจันทร์ เดือนแปดทุติยาษาฒ ขึ้นเก้าค่ำ จนถึงวันอาทิตย์ เดือนแปด ทุติยาษาฒ ขึ้นสิบห้าค่ำ ให้เป็นเสร็จในเจ็ดวันอย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง ฯ
ถ้าหากจะมีใครถามว่า นักประชาธิปไตยคนแรกของกรุงรัตนโกสินทร์คือใคร คำตอบนี้ไม่ผิดก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง ทั้ง ๆ ที่ในขณะนั้นโลกของเมืองไทยกับโลกของชาวต่างประเทศ ก็นับว่าอยู่ห่างไกลกันมากมายนัก
----------------------------