- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
ไข้สันนิบาต
แมนจูกัวต้องการสถานทูต | ควรจะพูดของอิตาลีได้ |
สถานทูตดีดีมีถมไป | ที่เมืองใหม่เขาไม่ต้องการแล้ว |
แมนจูกัวเจ้ายังมีหลังเดียว | จึงเปล่าเปลี่ยวครุ่นอกคุณนกแก้ว |
แต่ขอเยอรมนีที่คลาศแคล้ว | เพราะเจ้าของนำแถวรื้อถอนมา |
ยังเหลือไว้พอให้กงสุลอยู่ | ซึ่งแมนจูกัวไม่ปราร์ถนา |
ของอยากได้เขาอยากให้ถมไปจ้า! | อย่าชักช้าจะผุต้องรุเลย |
เจ้าของบ้านขอบใจผู้ได้รื้อ | เหมือนรับสิทธิ์เปลี่ยนมือเทียวท่านเอ๋ย! |
นอกเหล่านั้นยังฝันกันตามเคย | จึงเฉยเมยยืนยันตามฝันไว้ |
ฝันคราวนี้เหมือนที่ฝันคราวก่อน | เป็นฝันซ้อนฝันเข้าทั้งเก่าใหม่ |
ฝันเรื่องแมนจูกัวคราวนั้นไซร้ | คราวนี้มาฝันในแอฟริกา |
ทั้งสองฝันไข้สันนิบาตจับ | ต้องคิดขับแก้ไขในข้างหน้า |
ระหว่างนี้ผู้ที่โอนสิทธิ์มา | ต่างมีความปราร์ถนาต่างกันเอย |
กรกฎ. ๗๙
คำอธิบายช่วยความเข้าใจ
เรื่องของแมนจูกัวนั้น พอญี่ปุ่นเข้าตะครุบเอาก็เกิดเป็นคดีพิพาทขึ้นที่สันนิบาตชาติ ทั้งญี่ปุ่นทั้งจีนตั้งผู้แทนไปชี้แจงโต้เถียงกันในที่ประชุม จนสันนิบาตชาติต้องตั้งกรรมการออกมาสืบสวน ณ ท้องที่ กรรมการได้ตรวจทั้งประเทศจีน ญี่ปุ่น และแมนจูเรีย แล้วกลับไปรายงานปึกใหญ่ เสนอมติว่าแมนจูเรียควรเป็นดินแดนของจีนต่อไปตามเดิม ซึ่งสันนิบาตชาติวางคำตัดสินตามมติของกรรมการนั้น จึงเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นลาออกจากสันนิบาตชาติ แล้วยกเจ้าปูยีขึ้นเป็นกษัตริย์ประดิษฐานแมนจูเรียขึ้นเป็นประเทศราช เรียกว่า แมนจูกัว ตั้งสถานทูตญี่ปุ่นขึ้นในประเทศนั้นเป็นการรับรอง ฝ่ายแมนจูกัวก็ตั้งสถานทูตของตนในกรุงโตเกียวเช่นกัน
เรื่องอบิสสิเนียนั้น สันนิบาตชาติได้ลงคำตัดสินแล้วว่าอิตาลีเป็นผู้ทำสงครามรุกรานข่มเหงอบิสสิเนีย จนถึงได้มีแซงชั่นทางเศรษฐกิจ เมื่ออิตาลีได้อบิสสิเนียแล้ว สันนิบาตชาติจึงเป็นอันไม่รับรองว่าดินแดนนั้นเป็นของอิตาลี แต่เยอรมนีซึ่งไม่ได้เป็นภาคีแห่งสันนิบาตชาติแล้ว ได้ลดสถานทูตของตัวในอบิสสิเนียลงเป็นสถานกงสุล ซึ่งอิตาลีขอบใจมาก เพราะเป็นการนำไปในทางที่รับรองว่าอบิสสิเนียมิได้เป็นประเทศเอกราชต่อไปแล้ว แต่ประเทศอื่นๆ อันเป็นภาคีแห่งสันนิบาตชาติจะรับรองเช่นนั้นไม่ได้อยู่เอง จึงพากันดุษณีภาพอยู่ในขณะที่เขียนเรื่องนี้