- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
จันทรชิต
สาวสำอางนางสวรรค์จันทรชิต | รูปนิมิตสุมามาลย์ชาญตบแต่ง |
แก้สภาพเกินสุภาพทราบพลิกแพลง | หล่อนจำแลงรูปโฉมประโลมใจ |
จนจันทรเจ้าเข้าเมฆไม่กล้ารณ | ปล่อยให้ช่อวิชชุโชติฉายโฉมให้ |
องค์สำอางร่างระยับขับแสงไฟ | สายตาใดได้มองต้องงงงวย |
การปรับปรุงบำรุงให้รูปเลิศ | ย่อมประเสริฐนักหนาไม่น่าขวย |
รู้รักษาใช้วิชาศาสตร์อำนวย | ความสะสวยทรงไว้ได้ยืดเยื้อ |
การเขียนหน้ามีมาแต่โบราณ | อ้างตำนานโขนละครซึ่งหล่อนเชื่อ |
หน้าเขียว, ขาว, แดง, คำ, ดำมะเกลือ | สีเหมือนเนื้อคนนี้มีเมื่อไร? |
ตาตลกนั้นแลแกขี้ริ้ว | ตลกงิ้วยังทาหน้าขี้ไก่ |
“หัวละมาน”[๑] ปากแดงดังแสงไฟ | มณโฑไม่ยกทรงกึ่งทรวงซุด |
นิสัยพี่นี้ก็ชอบก้าวหน้า | ไม่ชอบล้าหลังคอยให้ใครฉุด |
เขาก้าวกันเราพลันจะรีบรุด | ไม่แสนสุดสวาทพี่ลิลาศไกล |
ทำอะไรถ้าไม่เกินพอดี | คำน้อยหรือจะมีคนว่าได้ |
น้องของพี่นี้เลวเสียเมื่อไร | หล่อนล้ำหน้าสมัยไปไกล เอย |
มกร. ๗๗
[๑] หัวละมาน เป็นคำที่ชาวตลาดเรียกหนุมาน แต่ก่อนนี้ภาษาพูดกับภาษาหนังสือผิดกันมาก เป็นด้วยเหตุวิชาหนังสือยังไม่แพร่หลาย ถนน เรียกว่า สนน สะพานยศเส เรียกว่า ตะพานโยเส อย่างไร เรียกว่า ยังไง ฯลฯ กลอนบทนี้ เขียนขึ้นทักความสุรุ่ยสุร่ายในการใช้เครื่องสำอางของแม่สาว ๆ