- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
คำวิพากย์
ยายเกลียดหน้าตาคนนั้นแกปั้นปึ่ง | ชอบทะลึ่งชวนทะเลาะไม่เหมาะเหม็ง |
ขัดคอคนพ่นพิษฤทธิ์นักเลง | เอ่ยอวดเก่งเกกมะเหรกเฉกคนพาล |
หัวเรือใหญ่โดนไหนก็โดนเข้า | เขารู้เข้าทำทะเล้นเล่นโวหาร |
จะอวดว่าข้ามีปฏิภาณ | พวกชาวบ้านร้านตลาดขาดเล่าเรียน |
เกลียดอะไรไม่เท่าเฝ้าขัดคอ | ถ้าเฆี่ยนได้ละก็ยายจะเฆี่ยน |
พวกผีเจาะปากไว้ให้ติเตียน | คอยแต่เวียนขัดคอเขาร่ำไป |
บริหารงานฉมังฟังยายบ่น | เธอก็คนหนึ่งทนมิค่อยได้ |
งานเธอคงมิใช่กงการของใคร | ทำไมไพล่มีผู้เอาธุระ |
มือไม่พายเท้าป่ายลงราน้ำ | แล้วมีคำแก้ว่าวิพากษะ |
นี่แหละหรือคือปากเป็นเอกละ | ฉะนั้นจะมัวทำกันทำไม |
นักวิพากษ์ปากสว่างพลางชี้แจง | มิใช่แกล้งติเพรื่อหัวเรือใหญ่ |
มองตัวเองอาจมัวสลัวไป | ต้องอาศัยตารู้ช่วยฟูฟื้น |
ท่านว่าเราแลอะไรใช้ตาหน้า | อันตาหลังต้องอาศัยผู้อื่น |
แลข้างในมักได้เห็นราบรื่น | ต่อออกยืนข้างนอกจึ่งบอกชัด |
อนึ่งหลายความคิดค่อยผิดน้อย | ประมาทพลอยหลบหนีเมื่อมีขัด |
ฉะนั้นจึ่งรับรู้ผู้สันทัด | ใครถนัดว่าไปไม่กีดกัน |
ติส่วนตัวยั่วหมัดประหัตประหาร | ไม่ใช่งานผู้วิพากษ์จะบากบั่น |
เขาพูดแต่ส่วนการงานเท่านั้น | และพูดฉันเชี่ยวชาญเพื่องานแท้ |
พูดด้วยตั้งใจดีไม่มีหยาบ | สมสุภาพไพเราะมั่นเหมาะแน่ |
หากจะเผ็ดร้อนบ้างอย่างตอแย | ก็เพียงแต่แรงรสตามบทร้อน |
คำเหลวไหนกล่าวไปด้วยอคติ | นั้นยังมินับว่าวิพากษ์ก่อน |
เสียงผู้ไม่สันทัดพูดตัดรอน | ก็เหมือนหนอนตายอยากวิพากษ์แท้ |
คำคุณยายนอกข่ายคำวิพากษ์ | คำคุณหลานแหละหากจะช่วยแก้ |
บริหารงานควรส่วนรวมแม้ | มาผูกขาดอาจแย่ไปตามกัน |
โบราณท่านสรรเสริญผู้สมรรถ | ฟังความเห็นข้างขัดไม่อัดอั้น |
สามารถย่อยและอร่อยรสครามครัน | แล้วเลือกสรรแต่เนื้อเพื่อพินิจ |
ท่านตำหนิผู้มิสามารถทน | ฟังความเห็นติงตนในการกิจ |
เชิญงดโทษโปรดฟังและยั้งคิด | ดูสักนิดเถิดท่านหลานคุณยาย |
มกร. ๗๗