- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
หมอคงกับอาจารย์คำ
ศิษย์ท่านตามฉันให้มา | ดูท่านหน่อยรา |
เขาว่าท่านเป็นอาจารย์ | |
ท่านผู้รู้วิชาการ | เปรื่องปรีชาญาณ |
ท่านสอน ณ สถานที่ไหน? | |
โรงเรียนฤๅวิทยาลัย | ศิลปศาสตร์สบสมัย |
ฤๅว่าวิชาโบราณ | |
ฉันใคร่ทายลักษณาการ | ว่าท่านอาจารย์ |
ชอบสอนชอบศิษย์กิจหลาย | |
ไม่เชิงเช่นนั้นดอกนาย | ท่านหมออย่าหมาย |
ว่าฉันชอบสอนให้ใคร | |
คนขอเป็นศิษย์ถมไป | แต่ฉันไม่ให้ |
วิชามีค่าของฉัน | |
กระบวนถั่วโปสำคัญ | หวยเมื่อครั้งนั้น |
อาจารย์คำแม่นนักหนา | |
ขุนบาลกลัวมือลือชา | ระอิดระอา |
จนหวยต้องเลิกล้มไป | |
เสน่ห์ยาแฝดของใคร | ไม่สู้ฉันได้ |
ผ้าประเจียดฉันเก่งเอาการ | |
คาถาเสกปลุกทุกสถาน | อาจารย์คำชำนาญ |
อยู่คงกระพันชาตรี | |
ไม่ต้องสอนใครก็มี | คนนับถือนี่! |
เรียกฉันอาจารย์ทั้งเมือง | |
ท่านทายไม่ถูกทั้งเรื่อง | ขออย่าขุ่นเคือง |
ท่านเป็นเพียงหมอมียา | |
มาเถิดมาช่วยกันรักษา | ให้สรรพโรคา- |
พาธฉันหายขาดประลาตไป | |
ฉันไม่เคยรักษาใคร | วิธีฉันใช้ |
ดูโชคชาตาราศี | |
ปีกลายฉันเป็นแพทย์คดี | ปีหน้าบางที |
ฉันจะขึ้นป้ายขายยา | |
เพราะฉันสะสมตำรา | มินานมิช้า |
คงได้รักษาอาจารย์ | |
ช่างเถิดฉันเบื่อเหลือประมาณ | อ้างอนาคตกาล |
ฟุ้งส้านฉันฟังดังฝัน | |
ท่านไม่ใช่แพทย์พวกฉัน | ไปหามามัน |
สำคัญว่าแพทย์ผิดไป | |
ทำไมฉันจะไม่ใช่ | ไม่ว่าที่ไหน |
เราเรียกฉันหมอทั้งเมือง | |
หมอคงขึ้นชื่อลือเลื่อง | ดูสลึงดูเฟื้อง |
สามบาทแปดบาทกลาดไป | |
แล้วแต่ชาตาของใคร | ฉันกำหนดให้ |
แล้วทายแม่นแม่นเหมือนเห็น | |
หมอมีมากอย่างต่างเป็น | ผู้เชี่ยวชาญเช่น |
หมอแคนหมอลำบำเรอ | |
หมอเสน่ห์หมอมนต์ปรนเปรอ | หมอผีมีเสมอ |
หมอสัตว์หมอคนกล่นไป | |
คำว่าหมอนี้คำไทย | ศัพท์มคธใช้ |
ว่าแพทย์ฟังไพเราะเหลือ | |
แพทย์หมอยังไม่ฟั่นเฝือ | เรียกกันพร่ำเพรื่อ |
เท่าที่เรียกว่าอาจารย์ | |
สองสหายเลยร่วมมติการ | วางศัพท์วิจารณ์ |
ว่าอย่าให้เพรื่อแหละดี | |
ควรจะกำจัดเสียที | ให้ศัพท์คู่นี้ |
หมายความจำเพาะเจาะจง | |
กล่าวตามมติหมอคง | มีความประสงค์ |
เรียกแพทย์แต่แพทย์ชะตา | |
มติอาจารย์คำว่า | ให้เรียกว่าอา- |
จารย์แต่อาจารย์การพะนัน |
กันย์. ๗๗