- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
สองนักสิทธ์
(โคลงวชิรมาลี-สัมผัสเหมือนจัตวาทัณฑีดั้น ไม่นิยมเอกโท)
นักสิทธ์สถิตถ้ำ | บำเพ็ญ ตบะ[๑]พ่อ |
เพ่งไฉนไพล่เห็นบิณ- | ฑบาตม้าน |
เอมโอชเปียกเป็น | ปาน[๒]ฉ่ำ |
วางตบะผละเข้าบ้าน | ย่านเมือง |
บริหารการขบเคี้ยว | ควรฉัน ฉันจริง |
ค่ำมืดมิทันคืน | เถื่อนถ้ำ |
อาศัยอย่างอาคัน- | ตุกะ[๓] |
อยู่กับช่างหม้อร่ำ | ร่ายมนตร์ |
ราตรีพอที่สุข | ฉุกมี |
รูปชื่อฤๅษีผลุน | จุ้นจ้าน |
มาขอร่วมราตรี | ที่พัก อยู่พ่อ |
ฝ่ายข้างเจ้าของบ้าน | ก็ยอม |
ราตรีชีคู่นั้น | เข้านอน |
ชีใหม่นิทรตอนใน | แห่งห้อง |
มาก่อนท่านเลือกก่อน | นอนนอก |
สองนั่งสองสวดท่อง | สองนอน |
ดึกดื่นตื่นขึ้นถ่าย | ปัสสา- วฤๅ |
ชีหนุ่มดุ่มหาทวาร | วุ่นว้า |
เตะคอต่อขรัวตา | เถรถ้ำ |
เธอทลึ่งไล่ไขว่คว้า | ด่าโขมง |
สติตั้งยั้งหยุดเพื่อ | ให้อภัย |
ผู้ผิดจนจิตต์รับ | ผิดแล้ว |
เดิรออกนอกห้องไป | โดยด่วน |
ทุกข์หนึ่งอยู่หนึ่งแคล้ว | คลาศไป[๔] |
เถรเฒ่าเจ้าสติรู้ | ระงับโทษ |
ทอดกายหายโกรธกลับ | ระลึกได้ |
ขืนนอนท่าเดิมโหด | คอหัก เป็นแน่ |
จึงกลับเศียรเปลี่ยนให้ | บาทแทน |
บัดเถรเจ้าทุกข์เท้ง | ทุกข์สลาย[๕] |
เพียรกลับทางปลายตีน | แต่ว่า |
กลับเตะเอาศอสหาย | เข้าอีก |
ต่อแต่นี้ไม่น่า | อภิปราย |
พฤศจิก. ๗๓
[๑] ตบะ เดชที่เผาผลาญกิเลสให้เสื่อมศูนย์ไป เกิดแต่เพียรภาวนาจนเกิดฌานแก่กล้า ซึ่งสมมุติเป็นรูปว่าร้อนถึงพระอิศวรต้องเสด็จมาประทานพร
[๒] ......ปาน น้ำ (ในที่นั้นหมายถึงน้ำลายไหล)
[๓] อาคันตุกะ ผู้เดิรทาง
[๔] ......ไป มีสองทุกข์ ๆ หนึ่งพ้นไปแล้ว เพราะได้อภัย แต่อีกทุกข์หนึ่งยังอยู่จึงต้องออกไปโดยรีบด่วน
[๕] สลาย เสร็จกิจที่ออกไปเพื่อกระทำแล้ว