- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
ภัยโลก
ยุทธภัยใหญ่ยิ่งด้วย | วิทยา- ศาสตร์เฮย |
ภัยบกภัยน้ำอา- | กาศพร้อม |
ไฟเหล็กและไอสา- | รพัตรพิษ |
บอมบ์จากฟากฟ้าบ้อม | ระเบิดเปรี้ยงเวียงทลาย |
หญิงชายใหญ่น้อยลูก | เด็กเล็ก แดงแล |
เหล็กไป่รู้เลือกเหล็ก | แล่นมล้าง |
ไอพิษพิษคลอกเด็ก | ผู้ใหญ่ ไม่เลือก |
ศรพระจักรกฤษณ์อ้าง | เอกได้ไฉนหนอ |
สมรภูมิแผ่นภาคพื้น | พสุธา |
ขึ้นสู่ห้วงเวหา | ระเห็จห้อม |
อากาศทัพกรีธา | ทุ่มระเบิด เปิดเปิง |
น้ำบกดินฟ้าล้อม | แต่ล้วนมวลมรณ์ |
อนุสรภัยเศิกให้ | ใจหาย |
มนุษย์ยิ่งก้าวยิ่งกลาย | กลับล้า |
เลิกประกาศสงครามหมาย | เอาเปรียบ |
เลิกประหารเลือกหน้า | แต่หน้าทหารหาญ |
สังสารวัฏฏนี้ | เป็นไฉน |
มนุษย์นักกีฬาใจ | ขลาดเข้า |
ลุอำนาจกิเลสไพ- | บูลย์แบบ บรรพฤๅ |
ถ้ากระนั้นน่าเจ้า | จะเข้าคืนไพร |
ยุทธภัยใหญ่ยิ่งแล้ว | ยังมี |
ภัยใหญ่กว่ายายี | อีกไซร้ |
คือภัยแห่งเสรี | ภาพเผด็จ[๑] |
เพราะขาดข้างแคะไค้ | คัดค้านทานแถลง |
สำแดงแห่งผู้ไม่ | ประมาท |
ย่อมระวังผิดพลาด | เพลี่ยงพล้ำ |
กลัวคนอื่นเขาอาจ | ต้านต่อ พอแรง |
กับจะต้องรีบจ้ำ | จืดช้าระอาเตือน |
มิเหมือนผู้ไม่ต้อง | กังวล ต่อใคร |
ทำแต่ตามใจตน | เท่านั้น |
หนักเข้าคืบเข้าหน | ทางประมาท |
งานขาดคนคุมครั้น | เบื่อเข้าเซาซา |
บรรดาคนกล้ากล่าว | ตามใจ จริงตน |
จักเสื่อมศูนย์สิ้นไป | ไม่ช้า |
เกิดมนุษยชุดใหม่ไว | แทนที่ |
ผู้คิดส่วนรวมถ้า | ว่าแล้วตามกัน |
อันแผนสิทธิ์ขาดนั้น | ยังประโยชน์ |
ยามเมื่อจะมาโปรด | ปราบให้ |
ความระส่ำระสายโหด | เหิมหื่น |
แห่งประชาคมไข้ | ค่อยฟื้นคืนดี |
เกิดมีสิทธิ์ขาดได้ | ด้วยเหตุ |
เกิดปฏิรูปเทศ | เท่านั้น |
ยามประเทศเข้าเขตต์ | ขอส่วน สำเนียง |
อำนาจใดจะกั้น | กีดได้ดูดู๋! |
ปฏิรูปเทศนี้ | นอกจาก จลาจล |
ยังระยะเทศชนหาก | สงบแท้ |
ใครเป็นใหญ่ย่อมอยาก | เคารพ นบนอบ |
เว้นแต่ต่างด้าวแม้ | หมิ่นต้องยอมตาย |
นารายณ์นรราชเจ้า | จอมปราณ |
คือท่านชี้ขาดงาน | นั่นไซร้ |
ประวัติศาสตร์ขาดขาน | ข่าวขัติ- ยราชฤๅ |
ดีดุจน้ำคว่ำให้ | โทษร้ายดังเรือ |
บุญเจือจริงดอกได้ | ผู้เด็ด ขาดดี |
แผนสิทธิ์ขาดผลสำเร็จ | เลิศแท้ |
แต่คุณครุ่นโทษเข็ด | กันอยู่ มากมาย |
จึ่งรัฐธรรมนูญแก้ | เกี่ยงกู้กันภัย |
สมัยเมื่อตกระยะต้อง | การตาม ตามกัน |
ใดท่านว่างดงาม | ชอบแล้ว |
ครั้นว่องวุฒิความ | คิดค่อย ของตน |
จึ่งรัฐธรรมนูญแผ้ว | เพียบพื้นพสุธา |
บัดมาเบื่อด้วยมาก | หมอมาก ความฤๅ |
แผนร่วมรวมลำบาก | ยากเข้า |
ความอลหม่านหาก | ทำปฏิ- รูปเทศ |
จึงระบอบสิทธิ์ขาดเจ้า | กลับเข้าคืนครอง |
ระบอบผองต้องปรับด้วย | เทศชน จริงแล |
ฝากับตัวสับสน | บ่ได้ |
แต่โลกเริ่มระยะคน | พ้นหุ่น แล้วแฮ |
ใจรักขอร้องให้ | โลกไซร้ใจเห็น |
ความเป็นเช่นว่านี้ | ทำไฉน |
จึงจะหลีกพ้นภัย | พิบัติได้ |
โลกเริ่มรุดรวนไป | แผนเก่า กันฤๅ |
หมุนมิหยุดดุจให้ | แจ่มแจ้งอนิจจัง |
นิยมยังรังต้องเปลี่ยน | เวียนไป ร่ำไป |
ช้าฤเร็วคงไคล | เคลื่อนคล้อย |
แม้ระบอบรัฐประศาสน์ไฉน | จะหยุด นิ่งเล่า |
ภัยตัดภัยตามต้อย | โลกน้อยดำเนิร |
ธันว์. ๗๗
[๑] เผด็จ ตัด คือ ตัดเสรีภาพ ให้แล้วแต่ใจของผู้ชี้นกเป็นนก ชี้ไม้เป็นไม้