- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
กฤษณา ?
พวกผู้ชายทั้งหลายต่างรักเจ้า | ยุพเยาว์ผู้ยอดเสน่หา |
ต่างคนต่างเยื้องย่างอย่างนักกีฬา | เพราะรู้ว่าทางเดียวเกี้ยวสาวน้อย |
พากันปลูกกล้ามเนื้อเพื่อล่ำสัน | เข้าแข่งขันชิงชัยไม่อ้อยส้อย |
ส่งเสริมศักดิ์นักมวยด้วยเรียบร้อย | แต่ชม้อยมองกันเหมือนพรั่นพรึง |
ต่างประกาศมรรยาทนักกีฬา | ว่าไม่ท้ารุกรานฐานหวงหึง |
เพื่อชิงนางจึงต่างต้องรำพึง | เผยอซึ่งอิทธิภาพราบรื่นไว้ |
ฝ่ายสาวน้อยกลอยสวาทปราศราคี | สงวนศรีสงวนศักดิ์ไม่มักใหญ่ |
ใครจะเหี้ยมฮึกหาญสักปานใด | เธอก็ไม่เต็มใจจะสมรส |
คงรักษาพรหมจาริกภาพ | ไม่ปลงใจไม่สาปใครใครหมด |
พวกหนุ่มหนุ่มจึงรุมไม่ละลด | ต่างเผยพจน์เพียบรักสมัครนาง |
การขันแข่งแย่งกันนั้นนานไป | ก็มีได้กับไม่ได้ทั้งสองอย่าง |
แต่ใจเจ้าสิเฝ้าจะเป็นกลาง | จึงค่อนข้างไม่ได้แก่ใครเลย |
สงสารหนุ่มนักมวยฉวยผิดหวัง | ไม่ได้ดังจินตนานิจจาเอ๋ย |
มือคาดหมัดจัดเข้าเราก็เคย | เห็นไม่เฉยอยู่ได้เท่าไรนัก |
ฉวยงุ่นง่านพาลตวัดปล่อยหมัดเด็ด | เพ็ชรต่อเพ็ชรพาลตอบพาลเข้าหาญหัก |
เกิดมวยหมู่ชู้แม่แย่ตาลัก | หล่อนก็จักพลอยม้วยด้วยมือมาร |
หรือหมัดใหญ่ด้วยกันมักพรั่นพรึง | แต่อย่าพึงไว้ใจจะดีกว่า |
ขอเชิญหล่อนเพทุบายร่ายมนตรา | ให้นักมวยล้วนมาญาติดีกัน |
จำกัดหมัดจำกัดกล้ามในยามนี้ | เลิกวิธีฤทธิแรงโหมแข่งขัน |
รับหน้าที่กฤษณา[๑]ดาประจัน | หมดทั้งนั้นนัดมาเป็นสามี |
ครอบครัวใหญ่พร้อมในสันนิบาต | โลกธาตุพ้นทุกข์เป็นสุขี |
รูปหล่องามนามเพราะเสนาะดี | ชื่อแม่ศรีศานติมิผิดเอย |
มกร. ๘๐
[๑] กฤษณา ในเรื่องกฤษณาสอนน้อง นางกฤษณารบเอาพี่น้องทั้งห้าคนเป็นสามีหมด ธรรมเนียมเช่นนี้มีในประเทศทิเบต น่าจะเกิดจากหญิงมีน้อยกว่าชายมาก