- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
เขาเป็นคนขลาด
เมื่อยังเป็นเด็กอ่อน เขาบห่อน[๑]ซุกซน แต่เป็นคนขี้อ้อน ค่อนข้างตระหนี่ตัว กลัวทุกสิ่งทุกอย่าง พี้เลี้ยงช่างหลอนหลอก บอกตุ๊กแกกินตับ ขู่สำทับแทนไม้ ฝึกหัดให้กลัวผี[๒] เขาเลยมีใจอ่อน บห่อนรู้ครองตน กลายเป็นคนเกเร เล่นเสเพลเพลงพาล ชอบระรานรังแก แลข่มเหงเด็กผู้ สู้เขาบมิไหว ยิ่งเจริญวัยยิ่งเหลว เพราะใจเลวหนักเข้า ตัณหา[๓]เจ้าเรือนเติบ พากำเริบทางพาล ก่อรำคาญให้คณะ มีแต่จะอาฆาต มาดมุ่งร้ายหมายขวัญ ลอบหันกัดข้างหลัง ทำกำลังเขาเหม่อ แล้ววิ่งเร่อเร้นหนี ชอบอวดดีข่มเหง เป็นนักเลงรังแก ผู้หญิงแลเด็ก ๆ การเล็กน้อยไม่ว่า แทงฟันคร่าอาวุธ เห็นคนดุจหยวกกล้วย ด้วยทมิฬอำมหิต ยามสิ้นคิดฆ่าตัว[๔] เหตุเมามัวชั่วขลาด เป็นสัญชาติแข็งกระด้าง ฝ่ายอ่อนข้างอ่อนแอ อย่าหลงแปรเรียกกล้า คนกล้าถ้ายามแข็ง ก็แข็งแรงอาจหาญ ยามอ่อนหวานอ่อนโยน ถึงคราวโดนโดนจัง ไม่ลับหลังลอบแว้ง ไม่เล่นแกล้งรังแก คนอ่อนแอแลหญิง ยามทุกข์จริงไม่ระย่อ ต่อสู้ทุกข์โดยกาล กล้าเห็นปานดังนี้ ส่วนขลาดขลาดดั่งชี้ เช่นไว้หวังสอน เด็กแลฯ
พฤศจิก ๕๖.
[๑] ห่อน เคย บห่อน ก็คือ ไม่เคย
[๒] ......ผี คนเรามักชอบเล่าเรื่องผีให้เด็กฟัง เด็กก็ชอบฟัง จึงเท่ากับเป็นการหัดให้กลัวผี
[๓] ตัณหา ความอยากทั่วไป ตลอดจน อยากได้ อยากเป็น อยากมี อะไรต่ออะไรไม่มีจำกัด เรียกว่า ภวตัณหา ส่วนที่ไม่ชอบ ไม่อยากได้ ไม่อยากเป็น ไม่อยากมี เรียกว่า วิภวตัณหา
[๔] ฆ่าตัว ทางศาสนาก็ติเตียน เพราะเป็นบาป เกิดแต่ใจอ่อนไม่มีกำลัง หรือจริตวิกล ซึ่งก็เป็นจิตต์อ่อนเหมือนกัน