- ๑. แม่จ๋า
- ๒. อดีตมหาราชสดุดี
- ๓. วารสดุดี
- ๔. คลื่นแห่งสังสารวัฏฏ
- ๕. ภาพและสภาพ
- ๖. จริงกับแต่ง
- ๗. สังสารวัฏฏ
- ๘. รส
- ๙. ธรรมชาติกับมนุษย์
- ๑๐. แม้เมฆดำยังแรขอบน้ำเงิน
- ๑๑. ราตรี
- ๑๒. เตรียมชรา
- ๑๓. น้ำมันระกำ
- ๑๔. หัวไม้เก่าใหม่
- ๑๕. กิเลส
- ๑๖. นักกีฬา
- ๑๗. กีฬาไม่ถือชาติ
- ๑๘. น้ำใจนักกีฬา
- ๑๙. บทเพลงกราวกีฬา
- ๒๐. คำวิพากย์
- ๒๑. มิตรามิตร
- ๒๒. ภาพ ๔
- ๒๓. รามรันทด
- ๒๔. สามสอน
- ๒๕. มฤตยู
- ๒๖. ออปติมิสัมกับเป็สสิมิสัม
- ๒๗. สองนักสิทธ์
- ๒๘. ฉันเป็นหญิงหรือชาย
- ๒๙. ฉันเป็นชายหรือหญิง
- ๓๐. ชิงสุกก่อนห่าม
- ๓๑. ฉันขยันจริงๆ
- ๓๒. เขาเป็นคนขลาด
- ๓๓. เป็นตัวเราดีกว่า
- ๓๔. หัวหน้ากับลูกน้อง
- ๓๕. ไม้เรียว
- ๓๖. กถาศึกษาของเก่า
- ๓๗. นรี-นรุปฐาก
- ๓๘. พร
- ๓๙. โหราศาสตร์
- ๔๐. ดาราทองแห่งการแข่งขันยานยนตร์
- ๔๑. นักกีฬา
- ๔๒. การฝึกซ้อม Training
- ๔๓. แม่สำอาง
- ๔๔. จันทรชิต
- ๔๕. ดอกไม้
- ๔๖. หมอคงกับอาจารย์คำ
- ๔๗. ยถากรรม
- ๔๘. กระดูกสันหลัง
- ๔๙. เศรษฐเสนา สู้เศรษฐสงคราม
- ๕๐. เศรษฐกิจตกต่ำ
- ๕๑. โลกกับเครื่องจักร
- ๕๒. ภัยโลก
- ๕๓. พระของเรา
- ๕๔. ทำไม ?
- ๕๕. โจกโลก
- ๕๖. วัฏฏโก โลโก
- ๕๗. ชัยก่อกับชัยทำลาย
- ๕๘. กรรมงาม
- ๕๙. ยิหวาวิทยุ
- ๖๐. งานหกสิบ
- ๖๑. พฤษภ. ๒๔๗๙
- ๖๒. พรสี่
- ๖๓. ศานติสมัย
- ๖๔. อุดมคติกับสัมฤทธิคติ
- ๖๕. ใครและอะไรเอ่ย
- ๖๖. ดิม็อคระซีกับดิกเตเตอร์ชิป
- ๖๗. ไข้สันนิบาต
- ๖๘. คติพบใหม่
- ๖๙. สงครามจำแลง
- ๗๐. ชำร่วยโลก
- ๗๑. เงาะถอดรูป
- ๗๒. มัชฌิมาปฏิปทา
- ๗๓. ระบอบไหนแน่ ?
- ๗๔. ผีบุญ (๑)
- ๗๕. ผีบุญ (๒)
- ๗๖. ฝัน ?
- ๗๗. กฤษณา ?
พร
(แสดงวิธีสอนแห่งมหาวิทยาลัย)
(กาพย์ห่อโคลง)
โรงเรียนหลายหลากล้วน | เลอวิทย์ |
ประถมมัธยมผิด | แผกชั้น |
สูงสุดสรรพวิชาประสิทธิ์ | อุดมศึก- ษาคือ |
มหาวิทยาลัยนั้น | แน่แล้วเรามี |
โรงเรียนหลายหลากล้วน | วิชาถ้วนทั่วถึงกัน |
ประถมมัธยมนั้น | ต่างแต่ชั้นต้นกลางไป |
อุดมศึกษา | สุดวิชาทุกอย่างไซร้ |
คือมหาวิทยาลัย | แน่แล้วต้องของเรามี |
ปัญญาฐานะให้ | พอสม ตนพ่อ |
โดยมากเพียงจบประถม | ออกแล้ว |
ผู้ถึงเสร็จมัธยม | น้อยหน่อย |
เสร็จอุดมสมแผ้ว | ผิน้อยควรนำ- พาแล |
ปัญญาฐานะให้ | การเรียนได้พอสมตน |
เพียงประถมมากเหลือล้น | ต่อจากนั้นบ่พลันไหว |
มัธยมย่อมน้อยเข้า | นานไม่เบายากเหลือใจ |
ยิ่งมหาวิทยาลัย | ยิ่งยากล้ำควรนำพา |
แรกเรียนก็เด็กล้วน | นักเรียน |
แล้วแต่ครูหันเหียน | หัดให้ |
ลุชั้นนิสิตเจียน | เป็นโสด |
ตนช่วยตนเองได้ | ดั่งนี้ธรรมเนียม |
ประถมและมัธยม | ฉายาสมเด็กนักเรียน |
แล้วแต่ครูหันเหียน | ควบคุมหัดจัดนิสสัย |
ครั้นเข้าเป็นนิสิต | มหาวิทยาลัย |
ธรรมเนียมฝึกผู้ใหญ่ | ต้องมอบให้ช่วยตนเอง |
ดั่งนี้จึ่งชอบด้วย | ศึกษา วิธีแล |
จอดศิษย์ถึงฝั่งฝา | แม่นแท้ |
หัดให้ปล่อยให้พา | ตัวรอด |
ทั้งหัดทั้งปล่อยแม้ | เสกซ้ำชำนาญ |
ดั่งนี้เป็นวิธี | อันถูกต้องคลองศึกษา |
จอดศิษย์ถึงฝั่งฝา | พาตัวรอดตลอดไป |
จับหัดและจับปล่อย | ครูตามคอยระวังระไว |
ทั้งหัดทั้งปล่อยใช้ | จึ่งเสกซ้ำให้ชำนาญ |
ขอผลสำฤทธิ์ล้วน | เลองาม |
มีแต่นิสิตสยาม | ทั่วหน้า |
เรียนจบอบรมความ | สามารถ |
สยามเทอดเลิศลอยฟ้า | เฟื่องฟุ้งฟูขจร |
ขอผลสำฤทธิ์ล้วน | ตามที่ควรปราร์ถนา |
มีแด่นิสิตมหา- | วิทยาลัยให้ทั่วกัน |
การเรียนการอบรม | จงเสร็จสมฤทัยพลัน |
ช่วยเทอดประเทศอัน | เรารักใคร่ให้ลอยฟ้า |
เมษ. ๖๖